Risk Management Tools : Risk Register
“ทะเบียนจัดการความเสี่ยง (risk register) จะช่วยในการกำกับติดตามและทบทวน เพื่อให้วงล้อของการพัฒนาคุณภาพเกิดขึ้น บางเรื่องที่ไม่มีเจ้าภาพรับผิดชอบที่ชัดเจนจะทำให้เกิดบทบาทที่ชัดเจนและเกิดการติดตามว่าอะไรที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดระบบที่สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรกล้าที่จะรายงานอุบัติการณ์โดยไม่กลัวว่าจะถูกตำหนิ” (อ.ผ่องพรรณ ธนา)
Risk Register คือ ทะเบียนจัดการความเสี่ยง ที่ใช้เป็นเอกสารหลักเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง (risk management tools) ทุกขั้นตอน ทำให้เป็นกระบวนการที่มีชีวิตเป็นพลวัตมีการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยองค์ประกอบของ Risk Register ประกอบด้วย Risk identification risk analysis , Risk Treatment และ Risk Monitor and Review การบรรยายใน Session นี้ใช้กระบวนการเรียนรู้ แบบ Participation Learning โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการในการจัดทำ Risk Register เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ได้รับคำตอบเกี่ยวกับปัญหาและข้อห่วงกังวลในการจัดทำ Risk Register โดยมีสาระโดยสรุปเกี่ยวกับ
- แนวคิด Risk Register และประโยชน์ของการใช้ Risk Register
- Pitfall ในการจัดทำ Risk Register
- แนวทางในการจัดทำ Risk Register
- ตัวอย่างการใช้ Risk Register อย่างมีคุณค่า
- การใช้ Risk Register ร่วมกับเครื่องมือคุณภาพต่างๆ
ผ่องพรรณ ธนา กนกรัตน์ แสงอำไพ ดร.อำพัน วิมลวัฒนา ร่วมกันบรรยาย โดยเริ่มจากความแตกต่างของความเสี่ยงและอุบัติการณ์ โดยความเสี่ยงคือโอกาสที่จะเกิดอันตรายกับผู้ป่วย ส่วนอุบัติการณ์คือเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิด หรือได้ทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย (ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น) อุบัติการณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น อุบัติการณ์ในอดีต อาจเป็นความเสี่ยงในปัจจุบันและอนาคต อุบัติการณ์ในอดีต อาจไม่เป็นความเสี่ยงอีกต่อไปหากมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างรัดกุม ความเสี่ยงมีทั้งอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นและโอกาสเกิด ซึ่งยังไม่เคยมีอุบัติการณ์ ดังนั้นการค้นหาความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วยเพื่อนำมาจัดทำ Risk Register จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ หน้าที่และความมุ่งมั่นของผู้บริหาร ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ให้การสนับสนุนโดยออกแบบองค์ประกอบสำคัญของระบบบริหารความเสี่ยงให้ชัดเจน มีการวางระบบ และกำหนดผู้รับผิดชอบที่มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน นำระบบบริหารความเสี่ยงไปปฎิบัติ เน้นย้ำและกำกับติดตามและทบทวนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีการปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
บทบาทของหน่วยงานกับ Risk register Corporate Risk ความเสี่ยงที่มีผลต่อความยั่งยืนขององค์กร เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง Operational Risk ความเสี่ยงระดับระบบงาน เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการระบบที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงแต่ละระบบ วิเคราะห์กำหนดมาตรการป้องกันและกำหนด Risk Owner แล้วจัดทำ Risk Register ระดับทีมนำแล้วคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงนำมารวบรวมเป็นบัญชีความเสี่ยงกลางของโรงพยาบาล
ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Risk Management Tools : Risk Register
ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กง.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน) โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
Photo by Magic Bowls on Unsplash