การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19

0
4011
ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19
ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19

การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19

การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19
การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19

ประเภทของกลุ่มเครื่องมือ และนวัตกรรม ที่ได้รับจากการบริจาค

  • อุปกรณ์ที่ป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรโดยตรง หรือ เกี่ยวกับความปลอดภัยของบุคลากร

คือ การป้องกันติดเชื้อในโรงพยาบาล ประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันทั่วไป วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อต่างๆ เช่น Alcohol gel เครื่องอบฆ่าเชื้อโรคด้วยแสง UV-C เป็นต้น

  • อุปกรณ์อำนวยความสะดวกลดความเสี่ยง เช่น หุ่นยนต์ขนส่ง หุ่นยนต์เยี่ยมผู้ป่วย นวัตกรรมสื่อสารด้วย Wifi เป็นต้น

กระบวนการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19

  1. กระบวนการจัดหา มีกระบวนการจัดหา 2 รูปแบบ คือ รับบริจาค และ สร้างนวัตกรรมทั้ง ที่สร้างขึ้นเอง และร่วมมือกับหน่วยงานที่สนใจและมีศักยภาพ
    • การรับบริจาค มี 2 แบบ คือ
      1. การตั้งรับบริจาค ต้องแนวทางการดำเนินการต่อ
      2. การทบทวน เรียนรู้แล้วสื่อสารผู้บริจาค ว่าสิ่งที่โรงพยาบาลต้องการและมาตรฐานที่ควรจะเป็นนั้นเป็นอย่างไร  เพื่อให้ได้รับของบริจาคตรงกับความต้องการของโรงพยาบาล ได้ของบริจาคที่มีมาตรฐาน ช่วยให้ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น หรือความเสี่ยงอื่นๆ ของโรงพยาบาลลงได้
    • การสร้างนวัตกรรมทั้งทางภายในหน่วยงาน และจากหน่วยงานภายนอก สร้างความร่วมมือกันกับสถาบันการศึกษา หรือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสอบถามความต้องการของผู้ใช้ (User requirement)  มีขั้นตอนการพัฒนาที่มีมาตรฐาน มีการทดลอง  ทดสอบสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำมาใช้จริงต่อไป
  2. การคัดแยก ภายหลังการได้รับบริจาคมาโรงพยาบาลมีการคัดแยกเบื้องต้น เพื่อให้ทราบ ว่าของบริจาคนั้นสามารถนำมาใช้งานได้หรือไม่ แบ่งของออกเป็นกี่ประเภท ควรจะจัดการอย่างไรในเบื้องต้น
  3. การคัดกรอง เพื่อทดลองและทดสอบว่าได้มาตรฐานจริง  จำเป็นต้องมีแหล่งอ้างอิงเป็นข้อมูลทางวิชาการ บางอย่างต้องมีการทดสอบด้วย เนื่องจากในสถานการณ์นี้มีของปลอมจำนวนมาก แม้ว่าจะมีสัญลักษณ์ว่ามีมาตรฐานแล้วก็ตาม มีการปนเปื้อนหรือไม่ เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ต่างๆ หลังการทดสอบแล้ว มีการจัดทำข้อกำหนด ข้อจำกัดของการใช้งานของสิ่งของที่รับบริจาคนั้น ว่าเหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบใด
  4. การจัดทำทะเบียน ทั้งวัสดุสิ้นเปลืองและครุภัณฑ์ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการที่เป็นระบบต่อไป
  5. การเก็บรักษา ทั้งวัสดุที่ต้องเก็บระยะสั้นเพื่อนำมาใช้ และเก็บรักษาระยะยาว ที่ต้องมีการซ่อมบำรุงให้เหมาะสมกับวัสดุอุปกรณ์แต่ละชนิดที่ได้รับบริจาค
  6. การนำไปใช้ ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของวัสดุครุภัณฑ์นั้นๆอย่างเหมาะสม
  7. การบำรุงรักษา ครุภัณฑ์ เพื่อเก็บให้ใช้ในโอกาสต่อไป ต้องมีแนวทางในการดูแล บำรุงรักษา
  8. การจำหน่าย (หมดอายุ) เมื่อมีเกินจำนวนมากพอแล้ว หรือของต่ำกว่ามาตรฐานที่จะใช้แล้ว เมื่อผู้บริจาคให้มาแล้ว โรงพยาบาลจำนำไปใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าของได้อย่างไรบ้าง

ความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here