Responsive ENV & Facility Management 2021

0
1896
Responsive ENV & Facility Management 2021
Responsive ENV & Facility Management 2021

 การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาจัดการสิ่งแวดล้อม จะช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับผู้รับบริการ

สภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของโลกยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวดเร็ว และยากจะคาดการณ์ ท่ามกลางโลกแห่งความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ (VUCA) ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (climate change) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของ COVID-19 วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง (New Normal) การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.สิ่งแวดล้อม กฎหมายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่ กฎกระทรวงและพรบ.ต่างๆ โรงพยาบาลควรรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ทบทวนตนเอง และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกได้เพียงพออย่างเหมาะสม

“สิ่งที่โรงพยาบาลกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน” จากการเยี่ยมสำรวจที่ผ่านมา ได้แก่ 1) อาคาร สถานที่โดยรวมเริ่มมีการชำรุด ทรุดโทรม ขาดการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ความแออัดของพื้นที่การให้บริการ 2) การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับประเภทผู้รับบริการ รวมทั้งความเพียงพอความพร้อมใช้ 3) การเพิ่มการให้บริการทำให้ระบบการระบายอากาศภายในโรงพยาบาลมีปัญหา 4) ระบบสนับสนุนบริการ/ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่เพียงพอ ระบบการบำรุงรักษาไม่ดีพอ   5) การเพิ่มการให้บริการ ทำให้การจัดการขยะและการจัดการน้ำเสียขาดประสิทธิภาพ 6) มีข้อจำกัดด้านบุคลากรที่จะมาบริหารจัดการและดูแลบำรุงรักษาระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น จึงควรนำ “แนวคิดการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล” มาใช้เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ ได้แก่ 1) Visual management เน้นการออกแบบจัดสิ่งแวดล้อมที่สามารถสัมผัสและรับรู้ด้วยการมองเห็น 2) Human-centered design เน้นการออกแบบจัดสิ่งแวดล้อมที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ/ผู้ป่วย/ญาติให้มีความสะดวก ปลอดภัย 3) User-centered design เน้นการออกแบบจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้งานที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มและมีความปลอดภัย ทั้งในส่วนของผู้ป่วยและบุคลากร ดังนั้นสิ่งที่เราควรต้องทำในอนาคตคือ การจัดการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก (Responsive ENV & Facility management) แบ่งออกเป็น 7 ประเด็นสำคัญ เพื่อให้สถานพยาบาลสามารถบริหารจัดการนำไปสู่การปฏิบัติต่อไปได้ ดังนี้

  • การบริหารจัดการอาคารสถานที่
  • การบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับการให้บริการ
  • การบริหารจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • การบริหารจัดการระบบสนับสนุนการให้บริการ
  • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร
  • Intelligent hospital infrastructure
  • การประเมินตนเองด้านโครงสร้างอาคารสถานที่และหน่วยงานสำคัญในโรงพยาบาล

ปัจจุบันในส่วนของการประเมินตนเองถูกส่งเสริมนำมาใช้ในทุกระดับ สำหรับสถานพยาบาลที่จะขอการรับรองขั้นที่ 2 ขึ้นไป ซึ่งในแต่ละขั้นของการรับรองนั้นจะมีการกำหนดร้อยละของการผ่านเกณฑ์การประเมินที่แตกต่างกัน (ผ่าน met) แต่ไม่ควรมี not met เนื่องจากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมาย แบบประเมินประกอบด้วย 3 ส่วน 1) ประเมินภาพรวม    2) ประเมินอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน 3) ภาคผนวก เป็นส่วนที่ตรวจสอบเอกสาร สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญและการวางแผนพัฒนา ซึ่งผู้เยี่ยมสำรวจจะนำมาใช้ในการตามรอยเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนาต่อไป

5. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร

“5ส” กระบวนการ/กิจกรรมที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติที่เหมาะสม>นำมาใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น ทั้งงานส่วนด้านการบริหารและด้านการบริการ  ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง

Healing environment” นำไปสู่การบำบัดและเยียวยาที่ได้ผล

o  ทางกายภาพ (Physical ENV): เช่น ปรับพื้นที่ภูมิทัศน์

o  ทางธรรมชาติ (Natural ENV): เช่น แสงและเสียงธรรมชาติ

o  ทางสังคม (Social ENV): อยู่/สื่อสารแบบครอบครัว รับรู้/มีส่วนร่วม

o  ทางด้านจิตใจ (Psychological ENV) ความเชื่อความศรัทธาไม่ถูกลบไป >> สร้าง ENV ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้คน

3. การบริหารจัดการเครืองมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ :

เกิดความคุ้มค่า เพียงพอ พร้อมใช้งาน”

·   การวางแผน คัดเลือกและติดตั้งเครื่องมือแพทย์

·   การบริหารจัดการข้อมูลและประวัติของเครื่องมือแพทย์

·   การเตรียมความพร้อมใช้ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

·   การสอบเทียบเครื่องมือ (calibrate), การทวนสอบ (Verification)

·   ระบบการสำรองเครื่องมือ/การจัดตั้งศูนย์บริการเครื่องมือแพทย์ส่วนกลาง

·   การจัดการกรณีมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับเครื่องมือ

·   การซ่อมแซมและแก้ไขเครื่องมือแพทย์ให้พร้อมใช้งาน

·   การรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวางแผนและมีการวิเคราะห์ความคุ้มค่า

·   การมอบหมาย/หรือการจ้างบริษัทหรือบุคคลภายนอกบริหารจัดการ

1.        การบริหารจัดการอาคารสถานที่

มีจุดมุ่งหมายดูแลอาคารไม่เพียงให้ความสำคัญกับการใช้งานเพียงอย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมถึงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน การลงทุนและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมด้วย

·   งานจัดการอาคาร (Building Management)

o การจัดระบบฐานข้อมูลอาคาร

o การขออนุญาตและการตรวจสอบ : ประวัติข้อมูล

o การบริหารจัดการพื้นที่ใช้สอย: บริหารจัดการพื้นที่ร่วมกัน

·   งานดูแลรักษาอาคาร (Building Operation & Maintenance)

o การดูแลบำรุงรักษาอาคาร ทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว

o การดูแลบำรุงรักษาระบบสนับสนุนประกอบอาคาร

o งานซ่อมบำรุงอาคาร: วางแผนทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

·   การจัดการความปลอดภัยในอาคาร (Building Safety)

o การบริหารความเสี่ยง: การค้นหาและการจัดการความเสี่ยง

o การจัดการภาวะวิกฤติของอาคาร: จัดการเป็นระบบ/ชัดเจน

o การรักษาความปลอดภัย

·   ผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการอาคาร

o  การมอบหมายผู้รับผิดชอบ: ดูแลภาพรวมและระบบต่างๆ

o  การจัดจ้างบริษัท/บุคคลภายนอก

การจัดการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก (Responsive ENV & Facility management)

 

ถอดบทเรียนโดย นพ.ปืนไทย เทพมณฑา                                                                                                         สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

 ภาพถ่ายโดย Anna Shvets จาก Pexels

 

 

 

 

 

 

 

2. การบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับการให้บริการ

·   การจัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก: เหมาะสมกับกลุ่มผู้ป่วย

·   การปรับปรุงและจัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับผู้ป่วยโรคอุบัติใหม่: พื้นที่คัดกรอง/รอตรวจ/ห้องตรวจ/หอผู้ป่วย ระยะห่าง ลดแออัด พื้นที่เหมาะสมและเพียงพอ

·   การออกแบบการจัดสถานที่ให้เหมาะสมกับประเภทผู้ป่วย: เช่นออกแบบพื้นที่คัดกรองสำหรับรถเข็นและญาติผู้ป่วย

·   การปรับปรุงพื้นที่ในหน่วยงานที่สำคัญให้มีความปลอดภัย

 

6. Intelligent hospital infrastructure มี 5 องค์ประกอบ

1)        Environment responsibility:  เป็นการบริหารจัดการเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียว บริหารจัดการน้ำใช้/การนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัด/น้ำฝนมาใช้ประโยชน์ อนุรักษ์พลังงาน ระบบการควบคุม และปรับเปลี่ยนการออกแบบ

2)        Patient satisfaction: การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบการสื่อสาร ความบันเทิงต่างๆ ด้วยเทคโนโลยี การจัดสถานที่พักให้เหมือนบ้าน สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง

3)        Security & Patient safety: ระบบการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วย มีระบบควบคุมความปลอดภัยอัตโนมัติในทุกพื้นที่เช่น CCTV ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนด้วยเทคโนโลยี

4)        Staff and business efficiency: นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาอำนวยความสะดวกในการทำงาน (ผ่าน platformต่างๆ) การสื่อสาร ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงาน

5)        Financial health: การบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า>>สถานะทางการเงินขององค์กรที่ดี

7. แบบประเมินตนเองโครงสร้างอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและหน่วยงานสำคัญในสถานพยาบาล

เพื่อให้รพ.สามารถประเมินตนเองด้านโครงสร้างอาคารสถานที่ว่าเป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หาโอกาสในการพัฒนาเพื่อนำมาวางแผนปรับปรุงพัฒนาให้มีความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

4. การบริหารจัดการระบบสนับสนุนการให้บริการ

·   การจัดการภาวะฉุกเฉิน: โอกาส/ผลกระทบ จัดทำแผน ฝึกซ้อมและปรับปรุงแผน

·   การจัดการวัสดุอันตราย: รวบรวมรายการ จัดทำบัญชี ระบุแนวทางและอันตรายที่เกิดขึ้น การจัดเก็บและสถานที่จัดเก็บ การนำไปใช้ประโยชน์และการกำจัด

·   การป้องกันระงับอัคคีภัย: การจัดทำแผนป้องกัน/ระงับอัคคีภัย/เคลื่อนย้าย บริหารจัดการอุปกรณ์แจ้งเตือน/ระงับอัคคีภัย/บำรุงรักษา (ทดสอบและพร้อมใช้) จัดทำป้ายบอกทางหนีไฟ/เส้นทางหนีไฟ/บันไดหนีไฟ/จุดรวมพล อบรมเกี่ยวกับแผน/การใช้อุปกรณ์/เครื่องดับเพลิง ฝึกซ้อมแผนระงับอัคคีภัย/การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นประจำและต่อเนื่อง

·   การจัดการระบบสาธารณูปโภค: จัดทำแผนบริหารจัดการระบบ การเตรียมความพร้อมใช้ การบำรุงรักษาระบบและระบบสำรอง การตรวจคุณภาพน้ำประปา น้ำดื่ม แผนการช่วยเหลือกรณีลิฟต์ติดขัด/ลิฟต์ค้างและการฝึกซ้อม

·   การจัดการเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน: ระบุพื้นที่เสี่ยงสูงที่จำเป็น วางระบบแจ้งเตือน และแผนการเตรียมความพร้อมให้มีความชัดเจน เช่น ระบบไฟฟ้าสำรอง

·   ระบบบำบัดน้ำเสีย: ขนาดเพียงพอกับบริการ การตรวจคุณภาพน้ำเสีย การส่งตรวจภายนอก เจ้าหน้าที่ผ่านการอบรม ระบบบำบัดและบ่อพักน้ำตามมาตรฐาน

·   ระบบจัดการขยะ: แบ่งประเภทและภาชนะรองรับ สถานที่พักขยะ กำกับการขนย้ายและกำจัด กำหนดผู้รับผิดชอบและให้ความรู้ กำกับดูแลตามมาตรการ IC

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here