“ก่อการไกล” พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ

0
1566
“สานต่อ” นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี
“สานต่อ” นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี

“ก่อการไกล” พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

“ปี 2565 เป็นปีแห่งการอยู่รอด ปี 2566 เป็นปีแห่งการอยู่ร่วม ปี 2567 เป็นปีที่อยู่อย่างมีความหมาย ใช้ผลงานวิจัยมาสร้างคุณค่า และปี 2568 เป็นปีแห่งความยั่งยืน”

เริ่มโตยืนต้นแผ่กว้าง หลากสีแตกต่างสดใส ผลิดอกออกผลผลัดใบ ต้นไม้คุณภาพเติบใหญ่ในสังคม

“การไกล” คือการพัฒนา “ระบบบริการสุขภาพมีคุณภาพและไว้วางใจได้ในระดับสากลด้วยมาตรฐาน HA”

“ปี 2565 เป็นปีแห่งการอยู่รอด ปี 2566 เป็นปีแห่งการอยู่ร่วม ปี 2567 เป็นปีที่อยู่อย่างมีความหมาย ใช้ผลงานวิจัยมาสร้างคุณค่า และปี 2568 เป็นปีแห่งความยั่งยืน”

“ก่อการไกล ในการกว้าง” ในอดีตที่ผ่านมาใน สรพ.ได้พัฒนา Hospital Accreditation เป็นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลให้มีคุณภาพ ต่อมาเพื่อให้ตอบโจทย์ในการดูแลคนไข้ที่มีความหลากหลายมิติ มีการส่งต่อ เชื่อมโยงกันระหว่างระบบบริการสุขภาพ จึงมีการเปลี่ยนแปลงจาก Hospital Accreditation สู่ Healthcare Accreditation แต่ภาพที่กว้างกว่า คือ Health System ได้แก่ สังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม อากาศ น้ำ ในสถานการณ์การพร่ระบาดของโควิด-19 เราพบว่าสังคมและชุมชนต่างมีส่วนเชื่อมโยงทำให้ Health System มีคุณภาพ ความกว้างที่เกิดขึ้นเป็นโจทย์ที่ต้องกลับมาทบทวนว่า “เราจะขยับจาก Hospital accreditation ไปสู่ Healthcare system และ Health System ได้อย่างไร”

Spectrum ของกระบวนการ HA เราเริ่มบ่มเพาะ (Nurture) เตรียมความพร้อมตามศักยภาพสถานพยาบาล ด้วยบันได 3 ขั้นสู่ HA ต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ (Excellence) ในระดับองค์กรหรือเฉพาะโรคไปจนถึง Advanced, HA Program and Disease Specific Certification, SHA Certification และHealth Care Network และ network และพัฒนาระบบที่เชื่อมกันอย่างไร้รอยต่อ (Seamless) ได่แก่ District Health System Accreditation ซึ่งจะเห็นว่า Healthcare System มีความสำคัญในระบบบริการ

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาเราพบว่าในกรุงเทพมหานคร มีระบบบริการในรูปใหม่ที่เกิดขึ้น ระบบบริการที่เตียงของโรงพยาบาลมีมากกว่าเตียงที่มีในโรงพยาบาล เกิดระบบการรักษาผู้ป่วยที่บ้าน (Home Isolation) ระบบบริการสุขภาพเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ประชาชน ชุมชน และสังคมเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น   แต่เดิมเคยมี BMA Health Center Accreditation ให้ศูนย์บริการใน กทม. ใช้ระยะเวลานานมากในการพัฒนา “…แต่ในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เห็นว่ารูปแบบการดูแลในลักษณะของปฐมภูมินั้นสามารถทำให้มีคุณค่าและมีความหมายได้จริงโดยการมีส่วนร่วม และได้เห็นการไกลคือ Primary Care Unit Accreditation และ Healthcare Network Accreditation”

พัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลโดยประชาชนมีส่วนร่วม

“ภาพอนาคต สิ่งที่อยากจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล นี่คือการที่กว้างขึ้น” รับรองคุณภาพในอนาคตทำอย่างไรให้มีการประเมินตนเองร่วมกับการประเมินโดยประชาชนซึ่งเป็นคนที่รับผลของบริการ ที่ผ่านมาได้พัฒนาเครืองมือประเมินความไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อโรงพยาบาล พัฒนา Platform การยืนยันคุณภาพโดยประชาชนในพื้นที่ พัฒนาเยาวชนคุณภาพให้การรับรองสถานพยาบาล และพัฒนาแบบสอบถามประเมินคุณภาพระบบบริการจากประชาชน สิ่งที่เกิดขึ้นคือพบว่าประชาชนพร้อมจะเป็นเจ้าของโรงพยาบาลโดยการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งที่จะสะท้อนระบบบริการ สุดท้ายคือการประเมิน Home Isolation ทั้งหมดทำในรูปแบบให้ประชาชนหรือคนไข้มีส่วนร่วมได้บอกประสบการณ์ผู้ป่วยและ feedback กลับมา

สำหรับ“การไกล” สรพ.ได้ปรับวิสัยทัศน์ เป็น “ระบบบริการสุขภาพมีคุณภาพและไว้วางใจได้ในระดับสากลด้วยมาตรฐาน HA” สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว คือ การขับเคลื่อนองค์กร คือ สรพ. ให้เป็น National Body เรื่อง External Evaluation Organization ให้ต่างประเทศยอมรับ

สรพ.ได้รับการรับรองจากหน่วยงานในระดับสากล International Society for Quality in Healthcare External Evaluation Association หรือ ISQua EEA ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินและรับรององค์กรต่างๆ มีสมาชิกมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก โดย สรพ.ได้รับการรับรองคุณภาพครบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์กร (organization) ด้านมาตรฐาน (standard) และด้านกระบวนการพัฒนาผู้เยี่ยมสำรวจ (surveyor training programme) เป็น 1 ใน 13 ประเทศของโลก และ 1 ใน 5 ของประเทศในทวีปเอเชีย มี National Body ทำเรื่องเกี่ยวกับการประเมินรับรองของสถานพยาบาลในประเทศตัวเอง และได้รับการรับรอง สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาคุณภาพสถานบริการของประเทศไทยที่มีมาตรฐาน เป็นที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจของประชาชนที่มารับบริการ ทั้งหมดทั้งมวลเป็นผลมาจากรากฐานสานต่อ

ด้าน Organization ผ่านการรับรองครั้งแรกในปีในปี 2556 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เราได้รับการต่ออายุซ้ำด้วย 100 คะแนนเต็ม ด้าน Standard เราได้รับการรับรองมาตรฐานที่เป็นสากลตั้งแต่ปี 2554 ต่อเนื่องมาจนถึงมาตรฐานฉบับที่ 5 ที่ผ่านการรับรองเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 มาตรฐานที่ผ่านการรับรอง ISQua EEA จะมี Concept ว่าในมาตรฐานนั้นจะต้องมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับ 3 เรื่อง คือ มาตรฐานจะต้องนำพาให้สถานพยาบาลการไปสู่ดูแลคนไข้ในประเด็น Patient Safety ,People Center และมี Continuous Quality Improvement ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน HA ฉบับแรก ดังนั้นมาตรฐานที่เราใช้ในการประเมิน HA เป็นมาตรฐานที่มีคุณภาพระดับสากล ด้าน Surveyor Training Programme ผ่านการรับรองครั้งแรกในปี 2559 ปัจจุบันเรายังคงสถานะของการรับรองและต่ออายุ

ดังนั้นทั้ง 3 มาตรฐานนี้ประเทศไทยมี Organization คือ สรพ.ผ่านการรับรองที่เป็นระดับสากล สร้างการยอมรับในระดับสังคมในระดับประเทศ จาก HA สู่ HA Thailand องค์กรของประเทศไทย

การสร้างความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ สรพ. ได้ลงนามความร่วมมือ PLANETREE INTERNATIONAL เพื่อพัฒนาระบบ เรื่อง People-centered care” ยกระดับสถานพยาบาลสู่ระดับสากลโดยบูรณาการมิติจิตวิญญาณกับมาตรฐาน HA มีการพัฒนา Program Specific Certification โดยมีการพัฒนามาตรฐาน SHA เพื่อเป็นการ Certificate สถานพยาบาลร่วมกับ มาตรฐานเฉพาะโรคเฉพาะระบบ เพื่อให้การพัฒนาดังกล่าวของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีสากล เกิดความร่วมมือเชิงวิชาการร่วมกันในการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าวตามวิถีสากล เพื่อให้มีระบบคุณภาพที่สอดคล้องกับทิศทางของประเทศต่างๆ

การขับเคลื่อน เรื่อง Patient Safety ในระดับ Global มีผลงานเป็น 1 ใน 12 ประเทศที่ WHO ยอมรับ
และเชิญให้ไปร่วมสรุปว่าประเทศไทยทำอะไรบ้าง การพัฒนา Patient Safety ในประเทศไทยเริ่มจากการพัฒนาคุณภาพในปี  พ.ศ.2540 พัฒนาบันได 3 ขั้นสู้ HA กิจกรรมทบทวน Engagement for Patient Safety เกิดเป็นนโยบาย Patient and Personnel Safety ระดับประเทศ พัฒนา 2P Safety Hospital และเริ่มจัดงาน World Patient Safety Day ตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา

ในปี 2565 ได้บูรณาการเรื่อง Safety ไว้ในมาตรฐาน HA ฉบับที่ 5 ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติให้ความสำคัญและดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง การทำงานประจำให้ดีมีคุณภาพและมีความปลอดภัยจะสร้างความยั่งยืนและความปลอดภัยให้กับระบบบริการ

ผลการดำเนินงานในระบบ National Reporting and Learning System (NRLS) พบว่า มีจำนวนอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นทุกปีแต่จำนวนอุบัติการณ์ที่มีผลกระทบถึงผู้ป่วย  ลดลงจาก ร้อยละ 9.38 ในปี 2561 เหลือ ร้อยละ 7 ในปี 2564 และได้จัดทำมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัยเพื่อลดอุบัติการณ์ดังกล่าว

การขยับจาก 2P Safety สู่ 3P Safety เดินต่อไปอนาคตจาก Patient and Personnel Safety ขยายผลสู่ People Safety เพื่อนำไปสู่ Well-being สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพให้มีคุณภาพระดับสากล

“อยากให้องค์กรแห่งนี้เป็นองค์กรที่อยู่รอด เป็น Living Organization เป็นมิตรกับทุกคน ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน อยู่ร่วมเป็นจิ๊กซอว์เล็กๆ ที่มีความหมายในระบบบริการสุขภาพและท้ายที่สุดจะเป็นองค์กรที่มีชีวิตที่เป็นมิตรและองค์กรที่ใครๆ ก็คิดถึง”

ผู้ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here