3P Safety for Resilience in Healthcare

0
1455
ภาพถ่ายโดย Matthias Zomer จาก Pexels
ภาพถ่ายโดย Matthias Zomer จาก Pexels

3P Safety for Resilience in Healthcare

“เมื่อเกิดวิกฤติ มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ความสำเร็จเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มเหลว และความล้มเหลว ก็เป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ดังนั้นเมื่อสำเร็จแล้ว ต้องทำ Productive Success ต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวในอนาคต”

In Every Crisis Lies the Seed of Opportunity…Opportunity for Improvement”          ทุกวิกฤต จะนำไปสู่การโอกาสของการปรับตัว นำสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

Resilience in Healthcare คือ ความสามารถในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากปัญหา ควรฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมหรือฟื้นตัวแล้วดีขึ้น เมื่อเกิดภาวะวิฤติในระบบสุขภาพ เราควรต้องผ่าน Storming Phase ให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อกลับมาดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง จะนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น

Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือกระบวนการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ ในกระบวนการมีปัญหาอะไรบ้างมองภาพปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนคต มีการ Re-designs Problem เพื่อหายุทธวิธีหรือคำตอบ
ในการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น เป็น Solution -Based Approach นำเสนอทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเข้าใจ นิยาม สร้างสรรค์ จำลอง และ ทดสอบ (Empathize Define Ideate Prototype & Test)

ขั้นตอนที่ 1 Empathize ทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้งาน (Users) อย่างลึกซึ้ง โดย Users หมายรวมถึงผู้ป่วย (Patient)  บุคลากร (Personnel) และประชาชน (People)

ขั้นตอนที่ 2 Define กำหนดความต้องการของผู้ใช้ ปัญหา และข้อมูลเชิงลึกด้านจิตใจ

ขั้นตอนที่ 3 Ideate คิดหานวัตกรรมใหม่มาช่วยในการแก้ปัญหา

ขั้นตอนที่ 4 Prototype สร้างต้นแบบนวัตกรรม

ขั้นตอนที่ 5 Test ทดลองใช้นวัตกรรม

Design Thinking เป็นเครื่องมือ ที่สามารถนำมาใช้การใช้ในการคิดเชิงออกแบบกระบวนการ/ เพื่อแก้ปัญหา
ระบบบริการสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดระบาดของโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ร่วมกับเครื่องมือ 3P Safety (Patient, Personnel, People & Public) ซึ่งต้องมีการทบทวนให้เข้าใจอย่างลึกซึ่งถึงปัญหาใน
แต่ละ P ต้องมองทั้ง 3 ระบบ คือ คน ระบบ และเทคโนโลยี แล้วนำมาแก้ปัญหา ทั้งด้าน Chemical hazards, Biological Hazard และ Radiological Hazard นำไปสู่ 3P Safety ได้อย่างยั่งยืนและมีความพร้อมรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ผู้ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ภาพถ่ายโดย Matthias Zomer จาก Pexels


ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here