พลังแห่งความห่วงใยเสริมสร้างพลังใจ

0
1099

พลังแห่งความห่วงใยเสริมสร้างพลังใจ

     วันหนึ่งเวลาประมาณ 20.00 น. พยาบาลได้รับสายโทรศัพท์จากผู้ชายสูงวัย อายุ 76 ปี ซึ่งไม่เคยใช้โทรศัพท์มาก่อน โทรมาด้วยน้ำเสียงที่ดีใจ ว่า “หมอ กินข้าวรึยัง ผมจะบอกว่าผมเลิกบุหรี่ได้ 1 ปี แล้วนะ   หมอก็ดูแลตัวเองด้วยนะ” เสียงนี้เป็นเสียงที่ให้กำลังใจพยาบาลคนหนึ่ง ที่ตั้งใจดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจ ซึ่งไม่ต้องใช้ยาแพงตัวไหนเลย

empowering

     ก่อนหน้านี้ ย้อนไปเมื่อ 1 ปี ก่อน ผู้ป่วยชายสูงวัย สูบบุหรี่เป็นประจำ มีภาวะซึมเศร้า และบ่นว่าเบื่อหน่าย ท้อแท้กับการดูแลตัวเองที่ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ไม่มีใครสนใจ ลูกชายไปทำงานต่างจังหวัด ไม่ค่อยได้พูดคุย ภรรยาเลิกรากันแล้ว เหมือนอยู่ตัวคนเดียว รู้สึกว่าการสูบบุหรี่ ช่วยบรรเทาความเครียดได้ แต่ผู้ป่วยก็ยังคงมารับบริการอย่างต่อเนื่อง

    ถ้าผู้ป่วยได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเขาจะเดินเท้าออกจากบ้าน 3 กิโลเมตร เพื่อนั่งรถโดยสาร แต่ในบางครั้งที่ไม่มีเงินผู้ป่วยจะขี่จักรยาน มาโรงพยาบาลเอง เป็นประจำ เมื่อมาถึงโรงพยาบาล ก็มักจะได้นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเสมอ ซึ่งประวัติที่ผ่านมาได้มีการปรับยาหลายครั้งแต่อาการของผู้ป่วยก็ไม่ดีขึ้น

     วันหนึ่งผู้ป่วยได้มาตามนัดเพื่อรับยาแต่กว่าที่จะมาถึงโรงพยาบาลก็เลยเวลาที่คลินิกเปิดให้บริการ เมื่อมาถึง พยาบาลก็ได้สอบถามและประเมินอาการ จากการสอบถามพูดคุย ผู้ป่วยจึงเล่าว่า วันนี้ต้องมารับยาตามนัด แต่กว่าจะมาถึงมีอาการหอบ หน้ามืด ต้องหยุดพักระหว่างทาง เนื่องจากปั่นจักรยานมาเอง ต้องเดินทางประมาณ 14 กิโลเมตร

      เมื่อพยาบาลได้รับฟังถึงปัญหาของผู้ป่วยจึงได้มีการปรับแผนการดูแลผู้ป่วย โดยประสานหน่วยบริการใกล้บ้านเพื่อดูแลต่อเนื่อง และประสานไปทางลูกชาย เมื่อลูกชายทราบแล้วก็ได้มีการเข้ามาพูดคุยกับพ่อ ตัวลูกชายเองก็รู้สึกเป็นห่วงแต่ก็ไม่พอใจที่พ่อยังสูบบุหรี่ และขอให้พ่อเลิกสูบบุหรี่แล้วลูกชายจะดูแล ส่งเงินค่ารักษาให้ เมื่อพ่อได้รับทราบจากลูกชายแล้ว ทำให้พ่อมีความตั้งใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ และกลับมาดูแลตัวเอง

      2 เดือนต่อมาผู้ป่วยได้มารับบริการที่คลินิกเฉพาะโรค ด้วยสีหน้าสดชื่น ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ไม่ต้องใช้ยาพ่นฉุกเฉิน และเลิกบุหรี่ได้ ผู้ป่วยมีความสุขและมีกาลังใจการมีชีวิตอยู่ต่อไป เล่าด้วยสีหน้าแววตาที่เปี่ยมไปด้วยความสุขเพราะมีพลังใจจากลูกชายที่คอยถามอาการของพ่ออยู่เสมอ ผู้ป่วยจึงไม่ต้องมานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก

-หน่วยงาน ผู้ป่วยนอก งานคลินิกโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง-

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here