ทำอย่างไรเมื่อเผชิญกับภาวะหมดไฟในการทำงาน

0
2417

ภาวะหมดไฟเป็นภาวะที่ universal พบได้ในทุกประเทศทั่วโลก  จุดเริ่มต้นของภาวะหมดไฟ มาจากสภาวะจิตของคน จากความคิดที่จิตพื้นฐานของคนเรามักจะบันทึก และจดจำข้อมูลด้านลบมากกว่าข้อมูลด้านบวก เช่น เราดูแลผู้ป่วยด้วยดีมาตลอด แต่มีเพียง 1 ครั้งที่เราพูดจาไม่ดี ก็จะถูกจดจำว่าบุคลากรทางการแพทย์พูดจาไม่ดี หรือผู้ป่วยที่ดูแลตัวเองดีมาตลอด แล้วมีเพียง 1 ครั้งที่เผลอ ก็จะถูกบันทึกว่ามีความร่วมมือไม่ดีในการรักษา สภาวะของจิตพื้นฐานเช่นนี้ ส่งผลต่อความเครียด และภาวะหมดไฟ การที่บุคคลแสดงความรุนแรงออกมา เป็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ที่สะท้อนถึงเบื้องหลังที่มีความเครียดสะสม การแสดงความรุนแรงจึงเป็นการแสดงออกว่าคน ๆ นั้น มีความเครียด ไม่ได้หมายถึงเป็นคนไม่ดี 

ในทางจิตวิทยามีการแบ่งสภาวะจิตเป็น 2 แนวทาง โดยมีพื้นฐานมาจากการเข้าใจมนุษย์ คือ 

1 จิตวิทยากระแสหลัก ใช้สำหรับปรับปรุง แก้ไข จิตพื้นฐาน ได้แก่ การหลับ และ ตื่น ซึ่งสภาวะจิตนี้ ส่งผลให้เกิดความคิดลบ อารมณ์ ความเครียด 

2 จิตวิทยากระแสใหม่ สำหรับการสร้างภาวะจิตขั้นสูงกว่า หมายถึง สมาธิ และ สติ จัดเป็นสภาวะจิตที่มั่นคง สมดุล ปล่อยวาง ให้อภัย  จิตวิทยากระแสใหม่ มีพื้นฐานมาจากหลักทางพุทธศาสนา คุณภาพของจิตขั้นสูงกว่าช่วยให้คนทำงานมีภาวะ burn out ลดลง

การดูแลสุขภาพจิตของบุคลากรในโรงพยาบาล ต้องมีการจัดการเชิงระบบ ที่มีการทำจริง (แทนการใช้ personal skill) โดยจัดสรรเป็น 2 ขั้นตอน คือ  ระบบป้องกันไม่ให้เกิดความเครียด และ ระบบช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา โดยเฉพาะในภาวะที่บุคลากรทางการแพทย์มีภาระงานล้นมือ มีจำนวนชั่วโมงทำงานต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบัน เราไม่สามารถเพิ่มบุคลากรได้ การจัดการที่เป็นไปได้ในตอนนี้ คือ ต้องมีการปรับปรุงระบบของโรงพยาบาล ในการดูแลบุคลากร

ดังนั้นโปรแกรมในองค์กรจึงแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 

  1. standard program ได้แก่ การจัดการความเครียด การจัดการการเงิน และการจัดการสัมพันธภาพ ใช้จิตวิทยากระแสหลัก และ
  2. visionary program การสร้างสติในองค์กร ของ คน ทีม และขับเคลื่อนพันธกิจ ใช้จิตวิทยากระแสใหม่ 

Mindfulness psychology หรือจิตวิทยากระแสใหม่ มีผลต่อ  brain excellence function จากหลักการที่สมาธิส่งผลให้จิตตั้งมั่น และสมาธิมีความสัมพันธ์กับสติ เมื่อจิตมีสมาธิ  ในด้านสภาวะจิตจะพบว่าจิตพักโดยรู้ตัวตลอดเวลา ส่งผลให้จิตทำงานงานโดยไม่วอกแวก และไม่ถูกสอดแทรกด้วยอารมณ์ เทคนิคการฝึกสติคือการรู้ลมหายใจทั้งหมด

พลังสติ ทำให้ไม่วอกแวก (เกิดสติในการพูด ทำให้พูดได้ดีขึ้น และเกิดสติในการฟัง ทำให้เข้าใจได้มากขึ้น) และไม่ถูกสอดแทรกด้วยอารมณ์ (ทำให้พูดโดยลดความรุนแรงของอารมณ์ และฟังด้วยใจเป็นกลาง) 

การนำสติไปประยุกต์ใช้ การสร้างสติในทีม/องค์กร ต้องสร้างให้เป็นวิถีองค์กร 

การแก้ปัญหา burnout ในระยะยาว จึงควรแก้ที่สาเหตุ แก้โดยการปรับที่แผนการพัฒนาบุคลากรทีดี แต่ในภาวะปัจจุบัน ที่เรากำลังเผชิญกับปัญหา จำเป็นต้องมีการจัดการเชิงระบบในการดูแลบุคลากรด้วยการทำ meditation และ ดูแล mental health  การสร้างวิถีองค์กรให้เกิดขึ้่นอย่างแท้จริง ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ และผู้นำองค์กร 

ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ

ผู้เรียบเรียง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here