มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย

0
2127
มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย

มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย


เกณฑ์คุณภาพ ร้อยเรียงเชื่อมโยง เป้าหมายคือการให้ภาคีเครือข่าย และประชาชนมีส่วนร่วม และเกณฑ์คุณภาพ ไม่ได้เกิดที่ใคร เกิดที่เราเองไม่ว่า
จะย้ายไปที่ไหน การพัฒนาคุณภาพยังเป็นเรื่องที่สำคัญ

นพ.ประสิทธิชัย มั่งจิตร (รพ.แก่งคอย) ระบบบริการสุขภาพไทยแบ่งเป็น 2 ส่วน 1.ต้องรักษาที่โรงพยาบาล (Hospital Care) ระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ  2.ระบบบริการปฐมภูมิ(Primary Care)

ระบบบริการปฐมภูมิ(Primary Care) ไม่ได้หมายถึง รพสต. หมายถึง การจัดการและพัฒนาการบริการตั้งแต่
การ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมให้สามารถดูแลตนเอง(Safe care) ครอบครัว และชุมชนได้ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เข้ามาช่วย รวมถึงมีหน่วยบริการเบื้องต้นที่คอยดูแลกัน หรือ
หากเกินศักยภาพก็ค่อยไปโรงพยาบาล ความแตกต่างระหว่างมาตรฐานปฐมภูมิกับโรงพยาบาลคือการมีส่วนร่วมของชุมชน ทิศทางและนโนบายของประเทศในการพัฒนาระบบคุณภาพปฐมภูมิ เน้นเรื่องกลไกลควบคุม กำกับมาตรฐานและคุณภาพ

นพ.ทรนง พิลาลัย (สรพ.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) มีบทบาทหน้าที่สำคัญตาม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์กร ในการดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินระบบงานและการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
รวมทั้งกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลเพื่อใช้เป็นแนวทางการประเมินการพัฒนาและการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ส่งเสริมให้มีกลไกการกำกับดูแลเรื่องมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยในการให้บริการในระบบบริการปฐมภูมิมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ ตามแนวทางการพัฒนามาตรฐานสากล ISQua IEEA

โดยมุ่งเน้นให้เกิดการบริหารจัดการสถานพยาบาลที่ส่งมอบคุณค่าแก่ผู้รับผลงาน ความปลอดภัย การพัฒนาระบบบริการที่มีคุณภาพอย่างเป็นองค์รวม ยึดคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพ ปลอดภัย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) ได้มีการพัฒนามาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานเป็นแนวทางในการออกแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิมีคุณภาพบริการพึงประสงค์ และชี้นำการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพปฐมภูมิให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนากลไก กระบวนการจัดการ จนสถานพยาบาลปฐมภูมิสามารถแสดงผลการดำเนินงานในระดับที่เป็นที่ยอมรับ มีคุณภาพ ปลอดภัย ตอบสนองต่อความจำเป็นด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับปัจจัยสังคม

ทิศทางและการขับเคลื่อนการพัฒนา  1.ชี้นำทิศทางการขับเคลื่อนการขับเคลื่อนการพัฒนาสถานพยาบาล
ในลักษณะเครือข่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายงานร่วมกัน 2.มาตรฐานเปิดกว้างไม่ยึดติดกับการบริหารทรัพยากรในรูปแบบเดิม 3.มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และจัดการข้อมูลสารสนเทศ 4.พัฒนามาตรฐานและกลไกลส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบิการปฐมภูมิ 5.ประเมินตนเองโดยมีเครือข่าย/โรงพยาบาลกำกับ เป็นพันธมิตรในการสนับสนุนและส่งเสริม 6.ต่อยอดการพัฒนาจากเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน และส่งสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบบริการจัดการประเมิน และรับรอง

กรอบแนวคิดมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิแบ่งเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย

มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย

พญ.ณภัทร สิทธิศักดิ์(รพ.เซกา) อยากเชิญชวนเปิดใจใช้คู่มือ มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ ฉบับที่ 1 เริ่มจากนำมาทดลอง นำปัญหามาถอดบทเรียน ร่วมกันวิเคราะห์สิ่งที่ต้องพัฒนาและปรับปรุง เพื่อให้ระบบสามารถนำมาใช้ได้จริง เพื่อเป็นส่วนหน่งในกลไกลการกำกับติดตามและการควบคุมคุณภาพ ไม่ว่าจะอยู่สังกัดไหน ถ่ายโอนหรือไม เมื่อถ่ายโอนไปยัง อบจ.แล้ว สถานะใดไม่ใช่ปัญหา เรายังต้องมีงานส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ก็เป็นคนเดิม เมื่อประชาชนเท่าเดิม หน่วยบริการเดิม บริการ
เราจะลดมาตรฐานได้อย่างไร ในเมื่อเราต้องการเท่าเดิม หรือเพิ่มเติมให้มากขึ้น การันตีโดยประชาชน หากเรายังต้องทำงานบริการไม่มีอะไรกำกับมาตรฐานเราจะให้บริการบนความเสี่ยงอย่างไร ไม่ว่าจะอยู่สังกัดไหน ถ่ายโอนหรือไม่
ก็ใช้มาตรฐานเหมือนกัน(เล่มเดียวกัน) แค่ระบบบริหารจัดการ และติดตามจะเปลี่ยนบางส่วนเท่านั้น ในตัวมาตรฐานนั้นอะไรทำได้ทำ อะไรทำไม่ได้ให้เครือข่ายทำ สรพ.จะช่วยให้เรามีความชัดเจน ทางด้านมาตรฐาน วิชาการ การกำกับอย่างเป็นระบบระเบียบ และเป็นภาคสมัครใจไม่ได้บังคับ ประเมินตนเองเพื่อให้เห็นว่าต้องทำอะไร หรือพัฒนาเพิ่ม ทั้งในระบบบริการ บริหารจัดการ เครือข่าย อย่างเป็นระบบมีความเชื่อมโยง และมีพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพ สนับสนุนทุกอย่างที่เป็นวิชาการ

บทบาททีมพัฒนา(พี่เลี้ยง)/ทีมประเมินคุณภาพและมาตรฐาน

มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย

ผู้ถอดบทเรียน วรรษวรรณ กระต่ายจันทร์ หัวหน้างานถ่ายทอดทางการพยาบาล สถาบันโรคผิวหนัง

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here