”Evidence-based practice for improving patient outcomes.”
ทางคณาจารย์ได้กล่าวถึง Evidence-based medicine (EBM) ซึ่งเป็นแนวทางการดูแลสุขภาพที่เน้นการใช้ผลงานวิจัยคุณภาพสูงมาเป็นหลักฐานในการตัดสินใจทางคลินิก1 ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่
- Clinical expertise ทีมสหสาขาวิชาชีพ
- Best evidence งานวิจัยที่มีคุณภาพ
- Patient values ผู้ป่วยและครอบครัว
ใน 3 องค์ประกอบนี้ ถือเป็น “the best evidence” ที่มักเป็นองค์ประกอบที่ถูกลืมในกระบวนการดูแลคนไข้
โดยอาจารย์ได้มีการยกตัวอย่างของงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นแนวคิดในการทำงานวิจัยด้านคุณภาพ หากเรายังนึกไม่ออกว่าจะทำอย่างไร เราสามารถลองดูงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทำมาแล้ว เราอาจจะได้แนวคิดการเขียน Driver Diagram, Root cause analysis, PDSA/PDCA, Control chart เพื่อกลับมาทำในบริบทรพ.เราเอง
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยด้าน cost-effectiveness เพื่อประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนในเทคโนโลยีหรือยาเพื่อการรักษา โดยยกตัวอย่างของการใช้ Computerized Provider Order Entry ว่าคุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับการใช้กระดาษ2
แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานวิจัยอาจถูกมองได้ว่าเป็นภาระงานที่เพิ่มเติมจากเดิม และอาจถูกมองว่าอาจจะได้สิ่งตอบแทนไม่คุ้มค่ากับความตั้งใจที่ทำ
แต่แท้จริงแล้ว การทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือการนำงานและข้อมูลจากงานบริการคนไข้ในพื้นที่ (local evidence) ที่เราทำอยู่ประจำและนำไปเขียนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การทำ driver diagram การทำตามวงล้อ PDCA และนำไปเขียนเป็น control chart จนนำไปสู่การตีพิมพ์ ซึ่งนับเป็นการรับรองคุณภาพงานของเราให้ถูกยอมรับในระดับสากล อีกทั้งยังสามารถนำงานวิจัยดังกล่าวไปใช้ในการเพิ่มค่าตอบแทนหรือวิทยาฐานะ
ท้ายที่สุดแล้วการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ เราชาวเผ่า HA เราทำเพื่อประโยชน์หลัก คือ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และคุณภาพของการบริการในระบบสุขภาพนั่นเอง
นพ. ศักดิธัช อิทธิพิสิฐ และ นศพ.พีรภาส สุขกระสานติ ผู้ถอดความ
1. Oluwadiya K, Olasinde A, Oluwadiya I, Ogunlusi J, Alab E. Evaluation of evidence-based medicine adoption among Nigerian surgeons: competence, knowledge, attitudes, practices, and barriers. Croat Med J. 2024;65(1):3-12. doi:10.3325/cmj.2024.65.3
2. Forrester SH, Hepp Z, Roth JA, Wirtz HS, Devine EB. Cost-effectiveness of a computerized provider order entry system in improving medication safety ambulatory care. Value Health. 2014;17(4):340-349. doi:10.1016/j.jval.2014.01.009