Second Victim Syndrome and Organization Support for Personnel Safety

0
2350

“Don’t abandon the second victims of medical” 

     Second victim คือ บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งแพทย์ พยาบาลหรือบุคคลากรอื่นที่ได้ให้การดูแลรักษา ที่เกิดปรากฏการณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ(second victim phenomenon) ซึ่งมีกระบวนการปรับตัวหลังเหตุการณ์ 6 ระยะ

  1. ระยะสับสน มีความสับสนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้สึกเสียใจ กังวนกับผลของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ขาดสมาธิ  
  2. ระยะคิดวนซ้ำ มีการคิดวนซ้ำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้สึกผิดกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับองค์กร 
  3. ระยะเริ่มฟื้นความเข้มเเข็ง มีความกังวลเกี่ยวกับมุมมองของคนอื่นต่อตนเองทั้งเพื่อนร่วมงาน ญาติ และผู้ป่วย กลัวผู้ร่วมงานไม่ไว้ใจคุณภาพของงานที่ทำ 
  4. ระยะอดทนกับการสอบสวน กังวลกับการสืบส่วน ผลที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเอง ต้องการการประคับประคองจากผู้ร่วมงาน ไม่กล่าวโทษไม่หาคนผิด 
  5. ระยะแสวงหาความช่วยเหลือ ขอคำปรึกษาในการทำงานต่อ หรือช่องทางการแก้ไขปัญาเพิ่มเติม
  6. ระยะตัดสินใจ มี 3 ทางเลือก คือ ออกจากวิชาชีพ ทนทำต่อแต่ไม่ลืมความผิดพลาด และสุดท้ายคือเป้าหมายของการดูแล second victim ซึ่งทำให้บุคลากรสามารถดำเนินชีวิตปกติและทำงานในวิชาชีพต่อไปได้ ด้วยความมั่นใจผลักดันและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา สร้างระบบที่ปลอดภัยสำหรับผู้รับบริการ 

กระบวนช่วยเหลือที่สำคัญคือ 

  1. เพื่อนร่วมงานที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทันที ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่เป็นบวก
  2. บุคลากรที่ได้รับการอบรมเฉพาะ มาให้ข้อมูล รับฟัง และประคองจิตใจ
  3. ทีมสุขภาพจิต หรือผู้รับผิดชอบโครงการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบ

     จากการเก็บข้อมูล national reporting and learning system : NRLS(Patient) เจ้าหน้าที่ที่มีภาวะเป็น second victim ข้อมูลที่ถูกรายงานมีจำนวนน้อยอาจหมายความได้สองทางคือ ทางโรงพยาบาลดูแลบุคคลากรได้อย่างดีจนไม่เกิดภาวะ second victim หรือไม่มีการติดตามภาวะ second victim ทำให้ขาดการรายงาน สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเพื่อป้องกัน second victim syndrome 

นอกจากนี้ second victim ยังมีสิทธิที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ 5 ประการคือ

  1. สิทธิได้รับความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  2. สิทธิได้รับการรักษาที่จำเป็น
  3. สิทธิได้รับความเข้าใจ และเอื้ออาทร
  4. สิทธิได้รับความช่วยเหลือ ดูแล และความยุติธรรม
  5. สิทธิได้รับโอกาสปรับปรุงการปฏิบัติงาน

ระบบการจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อ second victim

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     จากประสบการณ์จาก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล การป้องกันผลกระทบต่อ second victim คือการดูแล first victim ป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์ซ้ำโดยตั้งทีมรับผิดชอบเฉพาะราย กำหนดบทบาทของผู้บริหารในองค์กร ให้มองความผิดพลาดของระบบ ไม่ใช่ความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงาน โดย

  1. สร้างนโยบาย สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในให้เป็นณ์โรงพยาบาลที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้รับบริการ ภายใต้แนวคิด no blame no harm ต่อต้าน bully ติดตาม safety culter survey กำหนดช่องทางรายงานพิเศษสำหรับอุบัติการที่มีลักษณจำเพาะต่อบุคคล
  2. วิเคราะห์อุบัติการณ์ วางแผนป้องกันการเกิดซ้ำ
  3. ให้ข้อมูลผู้รับบริการ และญาติ เพื่อคืนความไว้ใจในการรับบริการ
  4. ตั้งทีมดูแลช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบให้มากที่สุดทั้งผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ 
  5. หากมีความเสี่ยงถูกฟ้องร้อง ต้องประสานทีมนิติกรมาให้คำปรึกษา ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ทบทวนข้อมูลวิชาการ
  6. ปกป้องชื่อเสียงของผู้ให้บริการและองค์กร ห้ามให้ชื่อของผู้ให้บริการหลุดออกสู่สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน

ไตรสิทธิ์ ภูวเตชะหิรัณย์ ผู้ถอดความ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here