สนุกกับทุกเรื่องที่ท้าทาย หาความหมายชีวิตจากอุปสรรคและปัญหา เชื่อเถอะว่าเราจะทำมันได้
3P-Safety for Better Healthcare System ระบบบริการสุขภาพไม่ใช่แค่การเข้าถึงต้องรวม Quality and Safety ถึงจะมี Healthcare result ที่ดี ในปี 2559 Country Self-assessment for Patient Safety
พบว่า ไทยไม่มีระบบรายงานระดับประเทศ ประชาชนรู้เรื่อง Patient Safety น้อยมาก
ปี พ.ศ.2561-2564 มีการนำเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วย และบุคลากรระดับประเทศ หรือ National Patient and personnel safety Goal ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ผ่านโครงการ 2P Safety Hospital พัฒนาระบบการรายงานอุบัติการณ์และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ผ่านระบบ National Reporting and Learning System (NRLS) ตามทิศทางองค์กรอนามัยโลก มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาระบบเพื่อความปลอดภัยประชาชนมีส่วนร่วมกับนโยบายความปลอดภัยเกิด SIMPLE 2P Safety ภายใต้การพัฒนาและขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยในประเทศไทยสอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนขององค์กรอนามัยโลก โดยบูรณาการเข้ากับกระบวนการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล
ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศว่า ประเทศไทยจะก้าวไปสู่สุขภาพและความปลอดภัยของทุกคนเป็น Patient, Personal and People safety หรือ 3P safety โดยจะบูรณาการขับเคลื่อนร่วมกับ Global Patient Safety Action 2021-2030 3P Safety คือ Preventable Harm การขยับจาก 2P Safety ไปสู่ 3P Safety”
Patient Safety คือ การไม่มีอันตรายที่ป้องกันได้ต่อผู้ป่วยในระหว่างขั้นตอนการดูแลสุขภาพ (process of health care)
Personnel Safety คือการไม่มีอันตรายที่ป้องกันได้ต่อบุคลากรในระหว่างขั้นตอนการทำงาน (process of work)
People Safety คือ เป้าหมายความปลอดภัยของประชาชน ที่จะขับเคลื่อนร่วมกันกับเป้าหมายของผู้ป่วยและบุคลากร หรือ 2P Safety เป็น Patient Personnel and People Safety เป็น 3P Safety
People คือ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสุขภาพ หรือ ระบบสุขภาพ เช่น ญาติ หรือผู้ที่เข้ามารับบริการ ประสาน ติดต่อกับสถานพยาบาล และประชาชนในพื้นที่หรือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
เป้าหมายความปลอดภัยของประชาชนตาม SIMPLE ตามมาตรฐาน HA ฉบับ 5 3P Safety Goals
SIMPLE | People Safety Goals | มาตรฐาน HA ฉบับ 5 |
S: Social Responsibility | S1: Social Responsibility | ตอนที่ I ภาพรวมของการบริหารองค์กร |
S2: Environment Protection | II-3 สิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน (Environment of Care)
|
|
S3: Survillance of diseases and Health Hazard Surveillance | II-8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ (Disease and Health Hazard Surveillance) | |
S4: Community Empowerment for Strengthen Healthcare System | II-9 การทำงานกับชุมชน (Working with Communities) | |
I:Information System Management | I1: Information Privacy and Security | I-4.2 การจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้ (Information and Knowledge Management) |
I2: Medical Record Safety and security | ||
I3: Information Visualization, Dissemination and Alert | ||
M:Medication and Product Safety | M1: Medication Safety (RDU and tele pharmacy) | II-6 ระบบการจัดการด้านยา (Medication Management System) |
M2: Health Food and Product Safety | II-9.2 การเสริมพลังชุมชน (Community Empowerment) | |
P:Process strengthening for Health Promotion and People Safety | P1: Strategy And Plan of Action on Health Promotion | I-2 กลยุทธ์ (Strategy
Health Promotion |
P2: Promotion of Health in Hospital and community | III-5 การให้ข้อมูลและการเสริมพลังแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว (Information Provision and Empowerment for Patients/Families) | |
P3: Process to Improve People Safety
P3.1: Infection Prevention and Control P3.2: Physical Environment and Safety P3.3: Health Literacy for People Safety P3.4: Psychological Safety |
II-4.2 การปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ (Infection Prevention Practices) II-3.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย (Physical Environment and Safety)
|
|
L:Legislation /regulation and Rules | L1: Compliances of the Legislation /regulation and Rules | I-1.2 การกำกับดูแลองค์กรและการทำประโยชน์ให้สังคม7 (Governance and Societal Contributions)
ข. การปฏิบัติตามกฎหมายและพฤติกรรมที่มีจริยธรรม (Legal and Ethical Behavior) |
E:Emergency response | E1: Emergemcy Preparedness for Any Disasters | III-1 การเข้าถึงและเข้ารับบริการ (Access and Entry) |
E2: Enhancement of Pre-hospital Emergency Medical Service |
3P-Safety กับ Better Healthcare result กับมาตรฐาน HA ตอนที่ IV การข้าถึงการบริการที่ดี ต้องมี Result ที่ดีมีคุณภาพ และความปลอดภัย จะเห็นได้ว่ามาตรฐาน HA ฉบับ 5 นำ 3P Safety บรรจุไว้มาตรฐานทุกตอน โดยเฉพาะการนำหลัก 3P Safety สู่การบริหารองค์กร
HA Scoring เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมิน maturity ของระบบคุณภาพ ในการพัฒนาโรงพยาบาลรวมถึงใช้ประโยชน์จากมาตรฐาน HA ในการยกระดับการพัฒนาและการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ดังนั้น กำหนด Healthcare result เป็นเป้าหมายในการพัฒนาร่วมกัน วางระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย เพื่อยกระดับ 3P-Safety for Better Healthcare System จะดีแค่ไหนถ้าผู้เข้ามารักษาเข้ามารับบริการ เกิดความปลอดภัยโดยที่มองเห็นว่าสิ่งที่เรากำลังทำ ไม่ได้ทำเพื่อใบประกาศและใบรับรอง แต่ทำเพื่อให้เกิดระบบ และเกิดความปลอดภัยต่อทุกคน
It seems Impossible until it that ไม่มีอะไรในโลกที่ทำไม่ได้
ผู้ถอดบทเรียน นางสาวปุณณ์ยวิภา ทวีโชคธนะพงศ์
หัวหน้าแผนกหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลซีจีเอช