A Health Systems Resilience during COVID-19 Pandemic

0
1840
A Health Systems Resilience during COVID-19 Pandemic
A Health Systems Resilience during COVID-19 Pandemic

A Health Systems Resilience during COVID-19 Pandemic

โควิดเป็นห้องเรียน ให้ทุกสถานพยาบาลมีเรื่องราว บทเรียน เพื่อเป็นประสบการณ์ต่อไป ซึ่งสามารถนำไปใช้        ในการดูแลผู้มารับบริการ  สามารถปรับระบบการดูแลที่ไม่เคยทำมาก่อน พลิกระบบสุขภาพให้กลับไปสู่ประชาชน
เป็นศูนย์กลาง โดยใช้ดิจิตัลเทคโนโลยี  ภายใต้มาตรฐานต่างๆ ที่กำหนดไว้ มีการบริหารความเสี่ยง และจัดการอย่างเหมาะสมโดยมีกลไกกำกับดูแลทางด้านการเงิน แม้ว่าการพัฒนาจะเป็นแบบ Action แล้ว Study สถานพยาบาลค่อยๆ ถอดบทเรียน และทบทวน ว่า New normal เรื่องใดจะเป็น Next normal ประเด็นที่คิดว่าทำไม่ได้แล้วทำได้ นำมาสรุปเพื่อวางแผนออกแบบระบบการดูแลแบบใหม่กว่า พลิกฟื้น คืนกลับเป็น Now Normal เพื่อใช้ในการให้บริการต่อไป

การฟื้นคืนการให้บริการของสถานพยาบาลหลังสถานการณ์ภัยพิบัติ ต้องทบทวนว่า ปัจจัยใดที่ทำให้สามารถฟื้นตัวได้ การจะปรับตัวเองไปสู่การฟื้นฟู ผู้นำองค์กรมีส่วนกำหนดบทบาทของตนเองและสถานพยาบาล ว่าจะดำเนินการไปอย่างไร มีความสามารถในการฟื้นตัว และจะพัฒนายกระดับตนเองอย่างไร ตามหลักการและมาตรฐานที่กำหนด

สรพ. เชื่อมโยงหลักวิชาการ กำหนดข้อมาตรฐาน ตามกระบวนการดูแล สร้างการเรียนรู้กับสถานพยาบาล สะท้อนผลลัพธ์การดูแลด้วยประสบการณ์ผู้ป่วย  สปสช. ผลักดันมาตรฐาน การปฏิบัติ ให้เกิดความยั่งยืนด้วยกลไกการเบิกจ่าย และมาตรการด้านการเงิน

สถานพยาบาล กลับมามองบทบาทและหน้าที่ตัวเอง และก้าวไปข้างหน้า  เพื่อ scaling up resilience in healthcare

การปรับหน่วยบริการ จาก now สู่ new  และก้าวสู่ next normal มองประสิทธิภาพ ต้องมี High Touch High Effectiveness ต้องมีการต้องปรับ ตัวให้ทันกับ digital transformation ที่ต้องออกแบบให้อยู่รอดและอยู่ร่วมกับระบบต่างๆ ได้

ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มาตรฐานประยุกต์ใช้ตามบริบทและสถานการณ์ ผู้ป่วยได้รับบริการตอบสนองตามความต้องการ  โอกาสพัฒนามีอยู่ทุกๆ ขั้นตอนการดูแล

พญ. ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ ภาวะโรคร้อน การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิตัล สังคมเป็นเมืองมากขึ้น เกิดการแย่งชิงทรัพยากร หรือภัยสงครามที่กำลังเกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ และประชากรเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่เป็นผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติทั้งโลก คงไม่พ้น การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19

ในระบบสุขภาพ โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทำให้เกิดผู้ติดเชื้อจำนวนมาก  ประชากรป่วยตายสูงในระยะแรก ทำให้ต้องมีการจัดการระบบในการดูแลสุขภาพประชาชน จัดกลุ่มการดูแล เกิดนวตกรรม และการดูแลแบบใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายสิ่งที่จะเป็นตัวสะท้อนการดูแลที่ผ่านมา ก็คือการถอดบทเรียน หรือการทำ after action review

การถอดบทเรียน after action review on crisis situation จากสถานการณ์โควิด-19 จะทำให้สถานพยาบาล
มีการปรับฐานการดูแล post COVID-19 บนฐานคิด new Normal care ที่มีการคาดการณ์ความเสี่ยง และมีแผนรองรับ การเรียนร้จากบทเรียนที่ผ่านมาของสถานพยาบาลในมุมของ safety และ quality จะทำให้เห็นองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย ที่จะทำให้สถานพยาบาลมีการปรับตัว สู่การให้บริการที่ดีขึ้นกว่าเดิม

อ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โควิด ทำให้เห็น เรื่อง Resilience
ซึ่งประกอบด้วย การล้มเร็ว ลุกเร็ว การฟื้นกลับคืนอย่างรวดเร็ว การปรับตัวของระบบ ประกอบด้วย

  1. มีความสามารถในการคาดการณ์ ในการติดตามข้อมูล ความจำเป็นต้องเตรียมอะไรบ้าง
  2. การเตรียมความพร้อม บทเรียนที่พบในการวิจัยเรื่องการตอบสนองของ รพ. มีความต่างกันในการเตรียมความพร้อม รพ. ที่มีศักยภาพจะตอบสนองได้ดีกว่า การเตรียมความพร้อม บาง รพ. ไม่มีประสบการณ์รับผู้ป่วยโควิด
    มาก่อน แต่เตรียมความพร้อม พัฒนาระบบ คน ของ ทำให้สามารถตอบสนองได้รวดเร็ว
  3. การตอบสนองต่อสถานการณ์ ที่ปกป้องผู้รับผลงาน และบุคลากรกร รวมถึงเครือข่ายอุปทาน หัวใจ คือ ต้องมี
    การดูแลจัดการสถานการณ์ไม่กระทบการบริการ รวมถึงการสื่อสาร
  4. การฟื้นตัวเมื่อเกิดสถานการณ์ จะมีการฟื้นตัวอย่างไรให้ดีกว่าเดิม

จากข้อกำหนดมาตรฐานของ สรพ. จะเห็นว่า โควิด เป็นบทเรียนในการนำมาตรฐานมาใช้ในการดูแลอย่างเป็นรูปธรรม โดยสะท้อนต้องแต่การนำองค์ บทบาทผู้นำ วางกลยุทธ์ในการตอบสนองเหตุการณ์ จัดสรรบุคลากร ออกแบบระบบงานในการดูแล จัดสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การเผ้ารังโรคและภัยสุขภาพ การทำงานร่วมกับชุมชน โดยจัดกระบวนการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ-จำหน่าย

เกิดการดูแลในกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะโรคโควิด เกิด new mormal care ซึ่งจะกลายเป็น next Normal care
เป็นรูปแบบการดูแลที่ต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็น Home based care แบบ Home Isolation, Community Isolation, Out patient with Self  Isolation ด้วย Telemedicine ที่ต้องมีการจัดการป้องกันความเสี่ยง
และแผนรองรับ เมื่อเกิดภาวะเร่งด่วน ฉุกเฉิน ซึ่งในอนาตคที่เป็น next normal จะปรับไปสู่การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้หรือไม่เป็น total digital care

พ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากสถานการณ์การระบาดของ
โควิด-19 มีผต่อระบบสุขภาพ และแบบแผนการเจ็บป่วยของคนไทย จากปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องกลับมารรักษาซ้ำ ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน ผู้ป่วยเรื้อรังต้องดูแลตัวเองที่บ้าน คุณภาพการรักษาแย่ลง ในขณะเดียวกันโรคบางโรคก็มีแนวโน้มดีขึ้น โควิดทำให้ต้องเสียมรัพยากรในดารจัดการและดูแลผู้ป่วยมาก จำเป็นที่จะต้องมีการปรับรูปแบบการดูแลที่เหมาะสม นำไปสู่การออกแบบเชิงคุณภาพว่าผู้ป่วยกลุ่มใดต้องการการดูแลในโรงพยาบาล กลุ่มใดสามารถดูแลตัวเองได้ ซึ่งโควิดทำให้เกิดการเรียนรู้จากประชาชนคือ

  1. active preventive การป้องกันเชิงรุกด้วยตนเอง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ ชุดตรวจ rapid test
  2. adaptation of service มีการปรับรูปแบบการให้บริการ เช่น Telemedicine, การส่งยา อาหาร, Home Isolation, community isolation, Hospitel, เกิดการดูแลตนเองของประชาชน health literacy
  3. No fault compensation รูปแบบการเบิกจ่ายที่เป็นไปแนวทางเดียวกัน
  4. สายด่วน เชิงรุก การมีสายด่วน 1330 จะช่วย ให้คนเข้าถึงบริการมากขึ้น

โดยที่โควิด-19 อาจจะปรับรูปแบบการให้บริการต่อไป เป็นเรื่องของเทคโนโลยีการตรวจรักษาแบบทางไกล การยอมรับเรื่องการดูแลที่บ้าน การเชื่อมต่อฐานข้อมูลผู้ป่วย การฉีดวัคซีนนอกสถานพยาบาล การเงินการคลังที่เป็นเอกภาพ ระบบการเบิกจ่ายที่ไม่ต้องใช้เอกสาร ตรวจก่อนจ่ายแต่จ่ายเร็ว ติดตามการบริการโดยผู้ป่วย สายด่วนบริการครบ และการบริหารต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งต้นทุนต้องมีการทบทวนต่อไป

กรณีศึกษาของ new normal care ที่เป็นรูปธรรมจากสถานการณ์โควิด คือการประเมินประเมินคุณภาพการดูแลที่บ้าน Home isolation ของ สรพ. เป็นการดูแลตัวเองที่บ้านแบบผู้ป่วยใน  สรพ. นำมาตรฐานกระบวนการดูแลรักษาเป็นตัวชี้วัด การเข้าถึงบริการ กระบวนการประเมิน ดูแลรักษา ประเมินอาการ และจัดการภาวะฉุกเฉิน ซึ่งมีการออกแบบระบบการดูแลมาเป็นอย่างดี มีการประเมินพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง และปรับระบบการดูแลตามความต้องการของประชาชน ผลการประเมินดีขึ้นในทุกๆ หัวข้อ ความพึงพอใจมากกว่าร้อยละ 80 ผลลัพธ์การดูแลเห็นศักยภาพในการดูแลตัวเองของประชาชนและญาติ อัตราตายเป็น 0 สามารถพัฒนารูปแบบ Home isolation ในโรคเรื้อรังอื่นๆ และจาการประเมินนี้ ทำให้เห็นว่าโรคโควิด สามารถปรับเป็นการดูแลแบบผู้ป่วยนอก กักตัวเองตัวที่บ้าน รองรับการเข้าสู่โรคประจำถิ่นได้

ผู้ถอดบทเรียน พีรพงศ์ ตั้งจิตเจริญ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ                                                                       กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์

ภาพถ่ายโดย Edward Jenner จาก Pexels

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here