AE Driven for Better Nursing Care

0
468
AE Driven for Better Nursing Care

Protec the patient is over the job
Growth mindset เห็นทางออกในทุกปัญหา
Fix mindset เห็นปัญหาในทุกทางออก
มองความ error ให้เป็น Good fail เพื่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

AE Driven for Better Nursing Care จะเรียนรู้จากการเกิดAdvert event ให้เกิดคุณค่าได้อย่างไร ดร.พว.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่ง

Adverse Event สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่ต้องเรียนรู้ว่า Adverse Event คืออะไร

  1. รู้ว่าเกิด AE กับผู้ป่วย
  • An adverse event is a type of injury that most frequently is due to an error in medical or surgical treatment rather than the underlying medical condition of the patient.
  • Adverse events can also include complications resulting from prolonged hospitalization or by factors inherent in the healthcare system.
  • Adverse events may be preventable when there is a failure to follow accepted practice at a system or individual level.
  • Not all adverse outcomes are the result of an error; hence, only preventable adverse events are attributed to medical error.
  • Adverse events can include unintended injury, prolonged hospitalization, or physical disability that results from medical or surgical patient management.
  • An accident is an unintentional and/or unexpected event or occurrence that may result in injury or death.
  1. รู้ระดับความรุนแรง
  2. รู้ ระดับความรุนแรง
    • กระทำโดยไม่มีเจตนา แต่ขาดความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะวิสัย และพฤติการณ์ เช่นนั้นควรมี
    • ใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอรู้ว่าต้องแก้ไข และสร้างเกราะป้องกัน โดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ วิเคราะห์จุดอ่อนของระบบ ในระบบที่ ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงเร็ว การเรียนรู้ต้องเร็วและลึกซึ้ง

      Triple Loop Learning: Unlocking the Power of Growth and Adaptation Learning from Errors

      ➢      เข้าใจสาเหตุรากของ ความคลาดเคลื่อน

      ➢      ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เรียนรู้จากองค์กรที่มีBest practice สร้างระบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างยั่งยืน

      ➢      ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างวัฒนธรรม การเรียนรู้ ทำให้เกิด Good fail

      Key Takeaway Systematic approach to identify, address, and learn from adverse events to continuously improve patient outcomes and the quality of care provided.Incorporating a holistic and people-centric approach into sustainable risk management

      Protec the patient is over the job

      Growth mindset เห็นทางออกในทุกปัญหา

                                           Fix mindset เห็นปัญหาในทุกทางออก

                                          มองความ error ให้เป็น Good fail เพื่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

      พว.ประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล(สภาการพยาบาล) ปฏิบัติงานอย่างไรจึงจะปลอดภัยทั้ง ผู้รับบริการและผู้ให้บริการ

      ปัญหากฎหมายและจริยธรรมกับบริการการรักษาพยาบาล

      • ความเชี่ยวชาญของแพทย์/หน้าที่ของพยาบาล
      • การร่วมรับผิดชอบระหว่าง ร.พ และแพทย์/พยาบาล
      • ความต่อเนื่องในแผนการรักษาระหว่างพยาบาลและแพทย์
      • การรับรู้ของผู้ป่วยต่อแผนการรักษา และความพิการที่อาจเกิดขึ้น หรือการเสียชีวิต
      • ค่าเสียหายที่ควรได้รับชดใช้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

      สาเหตุของการฟ้องร้อง

      1. ความไม่ไว้วางใจ (Trust) ระหว่างแพทย์/พยาบาลและผู้ป่วย
      2. ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม
      3. สัมพันธภาพ
      4. ความต้องการให้มีการปรับปรุงแก้ไขระบบบริการ

      การคุ้มครองสิทธิของผู้รับบริการ

      • พ.ร.บ วิชาชีพการพยาบาลฯ
      • กฎหมายอาญา
      • กฎหมายแพ่ง

      จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพฯ พ.ศ 2550

      • ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
      • ต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพ
      • ไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย

      ประมาท ป.อ. มาตรา 59 วรรค 4 หลักเกณฑ์ของ “ประมาท” คือ “ไม่ใช้มาตรฐานของวิชาชีพ”

  3. การคุ้มครองตามกฎหมายแพ่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 “ละเมิด” หลักเกณฑ์ คือ

    การกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

    ค่าสินไหมทดแทน ประกอบด้วย

    • ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
    • ค่าสูญเสียรายได้ ในระหว่างการรักษาพยาบาล หรือค่าสูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ
    • ค่าจัดการศพ หากความเสียหายรุนแรงถึงขั้น เสียชีวิต
    • ค่าขาดไร้อุปการะ
    • ค่าเสียหายด้านจิตใจ “ค่าทำขวัญ”

    พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  พ.ศ. 2551 

    ผู้บริโภค

    • ความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างรวดเร็ว/ประหยัด/มีประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
    • ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการ
    • ลดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

    มาตรา 11

    ประกาศ/โฆษณา/คำรับรองหรือการกระทำใดๆ

    • ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา
    • ให้ใช้พยานบุคคล/หรือหลักฐานเกี่ยวกับประกาศฯได้แม้สัญญาต้องทำเป็นหนังสือ หรือไม่ปรากฏข้อความดังกล่าวในหนังสือก็ตาม

    การพิจารณาคดี

    • การพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การจ้าง การออกแบบ ส่วนผสมของสินค้า การให้บริการและอื่นๆ ซึ่งศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของผู้ประกอบการ ให้ผู้ประกอบการเป็นผู้พิสูจน์ (มาตรา29)
    • ข้อพิพาทอย่างเดียวกันในคดีหลัง ใช้ข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในคดีก่อนได้ ไม่ต้องสืบพยานใหม่ (มาตรา30)
    • ศาลเรียกผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาคดีได้ แต่ต้องให้คู่ความทราบและคู่ความมีสิทธิขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญฝ่ายตนมาให้ความเห็นแย้งได้ (มาตรา36)

    กระบวนการจัดการกับเหตุการณ์ทีไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์เป้าหมายหลัก 3 ประการ

    • ความปลอดภัยของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ
    • ความเป็นธรรมของคู่กรณี
    • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย/ครอบครัวกับผู้ให้บริการ

    ความปลอดภัยของผู้ป่วย/ความเป็นธรรมของคู่กรณี

    • ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการ ทั้ง ฝ่ายผู้ป่วยและผู้ให้บริการ
    • มีระบบบริหารความเสี่ยง สร้างความมั่น ใจให้กับบุคลากรและความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยมากขึ้น

    ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการ

    • ติดตามดูแลผู้เสียหายอย่างใกล้ชิด
    • มีกระบวนการไกล่เกลียเยียวยาที่รวดเร็ว มีผู้ประสานงานหลัก ดูแลกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

    การลดความเสียงปัญหาจริยธรรม/กฎหมาย

    1. การสื่อสารผู้ป่วย/ญาติ

    – รับฟังความคิดเห็น

    – เข้าใจความต้องการ

    – ให้สิทธิในการร่วมตัดสินใจ ในแผนการรักษาพยาบาล

    1. ทำงานเป็นทีม

    – แพทย์

    – ผู้บริหารระดับสูง

    – บุคลากรอื่นๆ

    1. จำกัดสิทธิการเข้าออกห้องรักษาพยาบาล ห้องคลอดและห้องผ่าตัด ไม่อนุญาตให้ญาติ
    1. ให้ความสำคัญกับการเขียนบันทึกรายงาน มีระบบความคุมการใช้ social media
    2. ผป. ในระบบ UC ให้ใช้ ม.41 ให้เป็นประโยชน์

    เมื่อมีการเกิด Advert Event หรือเกิด error ถ้าไม่เพิกเฉยมีการรายงานที่ดีการรายงานเข้าระบบและการเก็บข้อมูลที่ดี นำมาปรับกระบวนการเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์สูญเสียย่อมทำให้เกิดคุณค่า มีประโยชน์ต่อทุกคน

    เมื่อการเกิด Advert Event การแก้ปัญหาการทำ RCA ต้องสืบค้นไปให้ถึง Tier 3 ขึ้นไป เพื่อให้เกิดการปรับระบบเกิดประโยชน์และคุณภาพ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาถึง Tier 4 คือนโยบายที่ดีเป็นเครื่องมือป้องกันที่ดีที่ทำให้สามารถแก้ไข้ป้องกันที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น

    องค์ประกอบที่จะทำให้ AE Driven for Better Nursing Care

                                      Good Nursing Teamwork

    Good Nursing Practice

    Good Nursing Record

    ผู้ถอดบทเรียน นางสาวปุณณ์ยวิภา ทวีโชคธนะพงศ์
    หัวหน้าแผนกหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลซีจีเอช

    ครีเอทีฟคอมมอนส์
    งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here