AI ช่วยเขียน SAR ได้หรือไม่ มาลองฟัง ChatGPT for Hospital
ChatGPT คืออะไร ChatGPT ย่อมาจากคำว่า Chatbot Generative Pre-trained Transformer เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท OpenAI ใช้แนวคิด Deep Learning และ Natural Language Processing (NLP) มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างประโยคที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ ChatGPT สามารถให้คำตอบได้ในหลายๆ ด้าน เช่น
การศึกษา การเมือง สังคม จิตวิทยา ให้คำแนะนำ พูดคุยเพื่อความบันเทิง แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน ChatGPT
ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้าน เช่น บริการด้านการสื่อสารและเว็บไซต์ต่างๆ ที่ต้องการความสามารถ
ในการตอบคำถามหรือสนทนาด้วยภาษาธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ
วิธีการใช้งาน ChatGPT เราสามารถเริ่มใช่งาน ChatGPT free version ได้โดยเข้าไปที่ https://openai.com/blog/chatgpt/ กดที่ TRY CHATGPT >> Login / Sign จากนั้นเริ่มใช้งานได้เลย หน้าตา user interface ของ ChatGPT ไม่ซับซ้อน เราสามารถเขียนคำถามหรือบทสนทนากับ AI ได้เลย สามารถเพิ่ม จัดการกับบทสนทนาที่เคยถามไว้ หรือสนทนาต่อจากที่เคยถามไว้ เราสามารถนำผลที่ได้จาก ChatGPT ไปใช้ต่อ หรือเพิ่มเงื่อนไขเข้าไป ตัว ChatGPT จะ respond ตามเงื่อนไขใหม่ ถ้าเรายังไม่พอใจคำตอบ สามารถกดที่ “Regenerate Response” ให้ AI ตอบใหม่ได้ นอกจากนี้ ChatGPT จะทำการแยกห้องแชตตามหัวข้อให้อัตโนมัติบริเวณเมนูด้านบนฝั่งซ้าย ถ้าต้องการพูดคุยหรือสอบถามหัวข้อใหม่ สามารถทำได้โดยการกด “New chat”
ChatGPT มีประโยชน์แตกต่างกันไปตามการใช้งาน 1.ตอบคำถามและให้คำตอบ เช่น ด้านการแพทย์ การบริหารองค์กร การจัดทำกลยุทธ์ การศึกษา วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมความน่าเชื่อถือของคำตอบ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคำถามที่เกี่ยวกับปัญหาในชีวิตประจำวัน ไม่นำเสนอข้อมูลที่สร้างความแตกแยก 2.แนะนำสินค้าและบริการ ให้ข้อมูลและรายละเอียดของสินค้าอย่างละเอียด 3.ความบันเทิง ใช้เพื่อสนทนาเพื่อความบันเทิง เช่น รีวิวภาพยนตร์ เพลงต่างๆ 4.ฝึกการใช้ภาษา การสนทนากับ ChatGPT ช่วยปรับปรุงทักษะการพูด การอ่านและการเขียนของผู้ใช้งาน 4.พัฒนาแอปพลิเคชัน เช่น chatbot และระบบตอบคำถามอัตโนมัติ ทำหะบบเหล่านี้มีการพัฒนาได้เร็วขึ้น 5.ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลทางการแพทย์ ธุรกิจและการเงิน มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจและวางแผน 6.ช่วยสร้างเนื้อหา เช่น บทความต่างๆ ร่าง portfolio สร้าง content สำหรับ website เป็นต้น 7.สร้างแบบทดสอบ เช่น แบบทดสอบทางการแพทย์ การศึกษาและธุรกิจ ช่วยเพิ่มความแม่นยำของแบบทดสอบ 8.สร้างรูปภาพ เช่น ออกแบบโลโก้ ภาพสไลด์สำหรับงานนำเสนอ ภาพสำหรับโฆษณาและอื่นๆ ที่ต้องการรูปภาพที่มีความสัมพันธ์กับข้อความที่กำหนด 9.สามารถสร้างตาราง rubric score ได้
ความก้าวหน้าของ ChatGPT เนื่องจาก AI ของ ChatGPT ยังไม่สามารถตอบคำถามบางประเภท ไม่สามารถบอกข้อมูลที่ลูกค้าต้องการได้ ผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนคำถามหรือพยายามเลือกคำถามใหม่ให้ตรงกับข้อมูลที่ AI มีอยู่ ปัจจุบัน (14 มีนาคม 2566) OpenAI เปิดตัว GPT-4 บน ChatGPT อย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ภาษาไทยถูกเลือกเป็นหนึ่งใน 26 ภาษาที่ GPT-4 จะเน้นพัฒนา แม้จะเป็นหนึ่งในภาษาที่ฝึกหัดได้ยากกว่าภาษาอื่นๆ ก็ตาม ChatGPT รุ่นใหม่จะมีการตอบสนองการสนทนาที่เป็น dynamic มากขึ้น ระบบจะมีการเรียนรู้การแก้ปัญหาในรูปแบบของ Learning Reinforcement เพื่อค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้น
นอกจากการพัฒนาตัวระบบแล้ว ยังมีตำแหน่งงานที่เริ่มไปพร้อมกับ ChatGPT นั่นคือ Prompt Engineer
ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการคุยกับ AI เป็นตำแหน่งงานที่มีความสามารถในการดึงประสิทธิภาพสูงสุดของ AI
ออกมาใช้ ด้วยการป้อนคำสั่ง (prompt) และทำให้ AI ตอบกลับได้ตรงความต้องการมากที่สุด คำสั่งที่ป้อนเข้า
คือ Input ผลลัพธ์ที่ AI ตอบกลับ คือ Output หน้าที่ของ Prompt Engineer คือ การหา Input ที่ดีใส่เข้า
ไป ทำให้ได้ Output ที่ดี ออกมา ระหว่างนี้ตัวระบบก็จะเกิดการพัฒนาฐานข้อมูลไปพร้อมกัน ตำแหน่งนี้อาจจะ
เป็นอาชีพมาแรงในอนาคต จากการสำรวจความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ ปัจจุบันเริ่มมีการซื้อ-ขายคำสั่งหรือคำบรรยาย (prompt) ในตลาดออนไลน์มากขึ้น
ข้อจำกัดของ ChatGPT 1.มีเฉพาะ web browser ยังไม่มี application 2.ข้อมูลทั้งหมดจำกัดอยู่ที่ปี 2021 ไม่สามารถตอบข้อสงสัยหรือให้ข้อมูลที่ใหม่กว่านั้นได้ 3. คำตอบที่ได้จาก ChatGPT ยังไม่ถูกต้องค่อนข้างมาก อัตราการตอบถูกไม่สูง 4. สำหรับประเทศไทยยังมีข้อจำกัดด้านภาษา 5.ทำงานได้โดยการพิมพ์พูดคุยหรือตอบคำถาม ไม่สามารถส่งไฟล์เสียง รูปภาพ หรือวิดีโอได้ 6.ระบบการแปลภาษายังความคลาดเคลื่อน การเรียบเรียงรูปประโยค การใช้คำเฉพาะยังไม่ถูกต้อง 7. ไม่สามารถตอบข้อมูลในเชิงปัจเจกบุคคลได้ แต่จะเน้นให้ข้อมูลและให้ผู้ใช้งานตัดสินใจเอง
การนำ ChatGPT มาใช้ในการเขียน SAR จากประโยชน์และข้อจำกัดของ ChatGPT จะเห็นได้ว่า การเขียนแบบประเมินตนเองด้วย ChatGPT ยังมีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อยทั้งในเรื่องของภาษาและบริบทสำคัญของโรงพยาบาล
ผู้ใช้งานต้องจัดเรียงลำดับการป้อนข้อมูลเข้าไปอย่างเป็นระบบ จึงจะได้ข้อมูลที่ต้องการออกมา แต่ในทางกลับกัน
อาจใช้ประโยชน์จาก ChatGPT ในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้เกิดความสอดคล้องของเรื่องราวที่จะตอบใน SAR
ได้ แต่ไม่ใช้เป็นเครื่องมือหลั
โดยสรุปแล้ว ChatGPT เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหลายๆ ด้านให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ก็ยังมีข้อจํากัดอีกมาก เราต้องทำความเข้าใจและปรับตัวเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
ผู้ถอดบทเรียน จุฑาธิป อินทรเรืองศรี
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลนมะรักษ์ เฉพาะทางศัลยศาสตร์มะเร็ง ขนาดเล็ก