พิธีกร
|
ศูนย์บริหารจัดการรถพยาบาล Ambulance Operation Center 2P safety:ผู้ป่วยปลอดภัย เจ้าหน้าที่ปลอดภัย อุบัติเหตุรถพยาบาลเป็นศูนย์ ของ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย ผลงานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการอย่างไร ผลที่คาดว่าจะได้รับเป็นอย่างไรบ้าง เราไปชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ |
พิธีกร |
สวัสดีครับ อาจารย์ครับ คุณผู้ชมครับอย่างที่เราได้รับชมในข่าวกันว่ารถช่วยเหลือหรือว่ารถกู้ภัยต่างๆ รวมถึง Ambulance ของ รพ.ไปช่วยชีพ ปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุซ้ำด้วย รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์เองก็มีผลงานโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอด รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงผู้ให้บริการด้วย เป้าหมายของผลงานชิ้นนี้เป็นอย่างไรครับอาจารย์ |
นพ.เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม
|
เป้าหมายก็ตามนโยบายของกระทรวงแล้วก็นโยบายของ สรพ.เองที่ต้องการให้อุบัติเหตุของรถพยาบาลเป็นศูนย์ ส่งผลทำให้เกิดเรียกว่า 2P safetyมีอะไรบ้างก็คือ ผู้ป่วยปลอดภัย เจ้าหน้าที่ปลอดภัย ทั้ง 2 ส่วนเนี้ยครับก็คือไม่ให้เกิดเลย |
พิธีกร | แล้วในส่วนเนี้ยครับก่อนหน้านี้เกิดปัญหาอะไรขึ้น ถึงทำให้เราคิดว่าเราต้องการจัดการปัญหานี้โดยการสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาครับ |
นพ.เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม
|
ครับก็เหมือนกับที่ปรากฏเป็นข่าวทั่วประเทศนะครับ ว่ามีรถพยาบาลเกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง เราก็มาวิเคราะห์หาสาเหตุว่าการที่รถพยาบาล 1 คันจะเกิดอุบัติเหตุได้เนี้ย เกิดจากอะไรบ้าง มันก็มีมาตรการหลายๆ มาตรการ หนึ่งที่เราคิดขึ้นมาได้ก็คือ ความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุของรถพยาบาลเลย ก็คือ 1.คือความเร็วที่ใช้ความเร็วเกิน เราก็มีนโยบายว่า เราควรจะต้องจำกัดความเร็วของรถพยาบาล หรือว่าต้องให้รถพยาบาลเนี้ยขับขี่อย่างปลอดภัย มีกล้องในการมองเห็นพนักงานขับรถ ระยะทาง เส้นทางว่าเป็นยังไงนะครับ อันนี้คือในส่วนของความปลอดภัยของตัวรถพยาบาล อันที่ 2. คือความปลอดภัยของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่อยู่ในรถพยาบาลนำส่ง คือ เราก็จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกก็คือ มาจากบ้านเลย ก็คือ 1669 โทรเรียกรถ Ambulance ของ รพ.ไปรับที่บ้าน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนที่รถ รพ.ไปรับเนี้ย ก็จะเป็นส่วนที่มีการเจ็บป่วย มีทั้งเจ็บจากอุบัติเหตุ จากป่วยก็คือป่วยจากโรคทั่วไปที่เป็นภาวะฉุกเฉิน กลุ่มนี้ต้องการคำปรึกษาจากแพทย์ ซึ่งในประเทศไทยแล้วเนี้ย แพทย์ไม่ได้ออกไปกับรถ Ambulance ทุกกรณี ทุกเครสไป เพราะเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปอยู่ในรถเนี้ยต้องมีความมั่นใจ ต้องได้ข้อมูลตรงนี้ คำแนะนำจากแพทย์ที่อยู่ใน รพ. ในการแนะนำ อีกส่วนก็คือส่วนที่ต้องนำส่งรักษาจาก รพ.ที่ หนึ่งไปส่งยัง รพ.ที่สอง ระหว่างทางเกิดการเปลี่ยนแปลงของอาการของผู้ป่วยแน่นอน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เนี้ย มีอะไรที่ช่วยให้เค้าในการตัดสินใจที่จะให้การดูแลผู้ป่วย ระหว่างการนำส่ง |
พิธีกร | แล้วผลลัพธ์ของโครงการนี้ของผลงานชิ้นนี้เป็นอย่างไรครับอาจารย์ |
นพ.เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม
|
ก็โครงการนี้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนตุลาปีที่แล้ว ก็ระหว่างนี้คือเราดูอะไรบ้างนะครับ เราก็ดูเรื่องอุบัติเหตุของรถพยาบาลว่าเกิดขึ้นหรือเปล่า อันที่สองคือมีการใช้ผ่านระบบมีการช่วยเหลือคนไข้มากน้อยแค่ไหน เราก็มีการช่วยเหลือคนไข้อย่างน้อยประมาณ 38 ราย ในรอบ 1 เดือนนะครับ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ล่ะที่เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ที่อยู่ในศูนย์ เราก็จะมีศูนย์อยู่ข้างใน แล้วก็ให้คำแนะนำบนรถพยาบาลว่าให้ทำอย่างนี้นะให้ดูแลคนไข้บนรถอย่างนี้ ก็ถือว่าคนไข้ที่เสียชีวิตขณะนำส่ง คือระหว่างนำส่งสถานพยาบาลเนี้ยนำส่งก็แค่รายเดียว เดิมเรา 16 รายต่อปีนะครับ ตกเดือนละประมาณ 1-2 ราย |
พิธีกร | เพราะฉะนั้นข่าวในหน้าจอทีวีที่เราเห็นถือว่าเป็นส่วนน้อยด้วย |
นพ.เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม
|
16 รายต่อปีก็คือเป็นผู้ป่วยหนักที่เรานำส่ง แล้วก็ระหว่างทางเนี้ยเกิดอาการแย่ลงแล้วก็เสียชีวิต โดยที่เจ้าหน้าก็ให้การดูแลระดับหนึ่งล่ะ แต่ว่าด้วยความจำกัดของเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราอาจจะดูแลได้ดีกว่านี้ครับ ระบบนี้มาช่วยเติมเต็มว่า เมื่อคนไข้แย่ลงในรถคุณโทรเสร็จก็คือแพทย์ให้คำแนะนำ ให้การรักษาที่ถูกต้อง แล้วผู้ป่วยก็มีชีวิตรอดมาจนถึง รพ.ปลายทางได้ |
พิธีกร | แล้วผลงานชี้นนี้เกิดประโยชน์อย่างไรกับชุมชนของเรากับสังคมของเราบ้างครับ |
นพ.เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม
|
1.ก็คือ ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น โอกาสเสียชีวิตน้อยลง ก็คือมีมาตรฐานในการดูแลที่ยกระดับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง มีเค้าเรียกว่า Tele-Medicine การแพทย์ทางไกล ผู้ป่วยอยู่ที่ไหน เจ้าหน้าที่อยู่ที่ไหน สามารถปรึกษาหมอ สามารถเข้าถึงหมอได้ตลอดเวลา อันนี้คือเป็นการยกระดับคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย อันที่ 2 คือเป็นการยกระดับดูแลเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงญาติๆ ที่อยู่บนรถพยาบาล คือ ทุกชีวิตที่อยู่บนรถพยาบาลจะมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น |
พิธีกร | รวมถึงเป็นหลักฐานด้วยนะครับ เป็นหลักฐานให้ทั้งเจ้าหน้าที่เองแล้วก็ผู้รับบริการเอง ปัจจัยเหล่านี้ก็จะเกิดประโยชน์กับทั้งวงการแพทย์เอง แล้วก็ทั้งตัวผู้ที่รับบริการด้วย |
พิธีกร | คุณผู้ชมครับและนี้คือผลงานของ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ เรียกได้ว่าเป็นการบริหารจัดการรถพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ผู้ให้บริการปลอดภัย และอุบัติเหตุเป็นศูนย์ และที่สำคัญนะครับทาง รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์เน้นย้ำมาว่าไม่สงวนสิทธิ์นะครับ รพ.ทุก รพ.สามารถนำไปใช้ได้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิต เพราะทุกชีวิตมีค่า สำหรับวันนี้ ขอบพระคุณอาจารย์มากครับขอบคุณครับ |