การบรรยายวิชาการนี้เกี่ยวกับ framework ที่เรียกว่า QIS+D เพื่อจัดการกับความรู้สึกเป็นตราบาป (stigma) ของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในสถานบริการสุขภาพ ทั้งนี้รายละเอียดของ framework นี้มีรายละเอียดประเด็นสำคัญในการประยุกต์ใช้ดังนี้
QIS+D Framework:
QI (Quality Improvement): QI คือรากฐานของกรอบงาน โดยมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อระบุและแก้ไขปัญหา
D (Disaggregation): ข้อมูลที่เก็บวิเคราะห์ต้องไม่ได้เป็นข้อมูลโดยรวม แต่ต้องแยกตามประชากรเฉพาะกลุ่ม ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้ป่วยกลุ่มเฉพาะ เช่น ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี จะไม่ถูกปกปิดด้วยค่าเฉลี่ยโดยรวม
S (Stigma Measurement): เพิ่มเติมจากกรอบมาตรการคุณภาพทั่วไป stigma measurement เป็นเครื่องมือเฉพาะในการประเมินความความรู้สึกเป็นตราบาปของผู้ป่วยได้แก่:
Surveys for healthcare workers คือแบบสำรวจสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่ง แบบสำรวจเหล่านี้เป็นไปตามกรอบแนวคิดของของ Laura Knight-Blade โดยถามเกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมของบุคลากรต่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี
Patient feedback ผู้ป่วยจะได้รับการสอบถามโดยตรงเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนผ่านแบบสำรวจ การสัมภาษณ์ หรือกล่องรับความคิดเห็น
Health literacy data การประเมินความเข้าใจของผู้ป่วยเกี่ยวกับสภาวะของตน ซึ่งจะช่วยระบุถึงความรู้สึกเป็นตราบาปที่อาจถูกหล่อหลอมด้วยข้อมูลที่คลาดเคลื่อนได้
ความท้าทายต่อการนำ QIS + D Framework มาใช้:
Non-linear Measures : การวัดผลไม่สามารถสรุปได้ด้วยตัวเลขเพียงหนึ่งเดียว ต้องเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่รอบด้านต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และความตั้งใจของผู้นำไปใช้เป็นอย่างสูง
Patient and Consumer Involvement การให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพอาจไม่ใช่วัฒนธรรมของระบบสุขภาพที่มีอยู่แล้ว ส่งเสริมการมีส่วนร่วมนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
การเอาชนะความท้าทายของการใช้นำ QIS + D Framework มาใช้:
Leadership Commitment การสนับสนุนอย่างแข็งขันจากผู้นำมีความจำเป็นสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าการลดความรู้สึกเป็นตราบาปจะไม่หยุดอยู่แค่บางกลุ่มโรคเช่นโครงการเอชไอวี แต่ต้องช่วยสนับสนุนให้เป็นเป้าหมายระดับองค์กรเพื่อขยายไปสู่ผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆต่อไปได้
Continuous Monitoring and Adaptation ต้องมีการตรวจสอบและปรับใช้อย่างต่อเนื่อง องค์กรจำเป็นต้องมีกระบวนการการติดตามระดับความรังเกียจและประสิทธิภาพของโครงการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการปรับแก้แผนการดำเนินการตามข้อมูลที่รวบรวมได้
Community Engagement การสร้างความร่วมมือและให้ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับความรังเกียจนอกสถานพยาบาล และสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนมากยิ่งขึ้น
ข้อสรุปโดยรวม
QIS+D Framework เป็นวิธีการที่ช่วยในการลดความรู้สึกเป็นตราบาปของผู้ป่วยในสถานบริการสุขภาพ โดยการแยกข้อมูล การบูรณาการมาตรการต่างๆ และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม QIS+D Framework จะช่วยให้สถานพยาบาลสามารถระบุและแก้ไขการแสดงความรังเกียจและเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยได้ องค์กรควรเน้นถึงความสำคัญของความมุ่งมั่นของผู้นำ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้มีการนำไปใช้ได้อย่างสำเร็จ และที่สำคัญที่สุดคือการจัดการความรังเกียจต้องการการเปลี่ยนแปลงไม่เพียงแค่ในบุคลากรทางการแพทย์แต่ละคน แต่ต้องเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบสุขภาพและชุมชนโดยรอบด้วย
ภก. ทรงศักดิ์ ทองสนิท ผู้ถอดบทความ