Benchmarking & Continuous improvement to Innovation
“ความไม่ปลอดภัยของคนไข้เราไม่ประนีประนอม ความด้อยคุณภาพเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”
“ความรู้ ทำให้เราไปได้เพียงจำกัด แต่จินตนาการ และ innovation จะทำให้เราไปได้ไกลแสนไกล”
(นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ)
ประเด็นสำคัญของมาตรฐาน HA คือ เป็นกระบวนการเรียนรู้ (learning) แต่ทำอย่างไรโรงพยาบาลจึงจะเรียนรู้ให้เป็นประโยชน์และสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้
วิทยากรนำประสบการณ์ของผู้เยี่ยมสำรวจมาถ่ายทอดในประเด็น Benchmarking & continuous improvement & Innovation เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจแนวคิดการพัฒนา และการใช้วิธีการเทียบเคียง (benchmarking) เพื่อยกระดับการพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศ
จากประสบการณ์การเยี่ยมสำรวจโรงพยาบาล พบว่าการวัดเป็นจุดอ่อนของหลายๆโรงพยาบาล แต่หากเราจะ benchmark จำเป็นต้องใช้พื้นฐานการวัดที่ดีมาก โรงพยาบาลที่ตั้งใจทำ Advanced HA มีความพยายามที่จะขับเคลื่อนโรงพยาบาลด้วย process และ performance ที่เป็น excellence ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แต่ในบางโรงพยาบาลมี process บางอย่างที่รับประกันได้ว่าเป็น process ที่มีความแปรปรวนน้อย สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กรไปข้างหน้าได้ด้วย Benchmarking & continuous improvement และ Innovation แนวความคิดและหลักการทำงานของชาวญี่ปุ่นคือ Do the best of the best การ benchmark เป็นเรื่องของการวางเป้าหมาย ดังนั้นเมื่อเราต้องการจะ benchmark จึงต้องมีเป้าหมายเป็นตัววัดผลการดำเนินงาน และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการ benchmark นั้นมีคุณค่าและความหมายเพียงพอต่อองค์กรหรือไม่ เพื่อให้ได้การปรับปรุงและพัฒนา (continuous improvement) และเพื่อให้ได้นวัตกรรม (innovation) จึงต้องมีการวัดเพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรมผ่านกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ หรือ benchmark เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานมากยิ่งขึ้น benchmark จึงมีประโยชน์ในการตั้งเป้าหมาย เพื่อเพิ่ม productivity โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ผ่านการวิเคราะห์ แต่ในการพัฒนาเรามักขาด sense of belonging นั่นคือขาดความเป็นเจ้าของกระบวนการ และขาด sense of urgency คือ ขาดสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าเรื่องนี้มีความสำคัญสูง หรือขาดการรับรู้ว่าเรามีคุณภาพในเรื่องนี้ด้อยกว่าผู้อื่น/โรงพยาบาลอื่น ดังนั้นจึงต้องมีการรับรู้ว่าเราด้อยกว่าผู้อื่นในเรื่องใดผ่านกระบวนการวัด
โรงพยาบาลคุณภาพ โรงพยาบาลคุณธรรม โรงพยาบาลในฝัน โรงพยาบาล Advanced HA ในปัจจุบันเรากำลังสร้างโรงพยาบาล 2 ฝั่ง เปรียบเทียบว่าเรากำลังสร้างโลก 2 ใบ 1. โลกใบหนึ่ง เป็นฝั่งของโรงพยาบาลที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ควบคู่กับโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ (High Reliability Organization) โรงพยาบาลที่มี High Performance Organization จะมีการประเมินตนเองว่าเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงผ่านตัววัด เช่น มีอัตราตายต่ำ, อัตราการเกิด complication ต่ำ เป็นการให้คุณค่าตัวเราเองผ่านตัววัด แต่สิ่งที่สังคมให้คุณค่าเราว่าเป็นโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือ นั่นคือ High Reliability Organization 2. โลกใบที่สอง เป็นฝั่งของโรงพยาบาลที่เป็น Learning Organization และ Living Organization เป็นด้านที่หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของคนทำงาน
High Performance Organization หมายถึง องค์กรที่มีผลการดำเนินงานที่ดีเมื่อเทียบกับคู่เทียบเป็นเวลาต่อเนื่อง ยาวนาน และผลลัพธ์นั้นต้องมีความหมายต่อองค์กร เมื่อเรามี self improvement คือมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ อาจไม่มีความต่อเนื่อง แต่ถ้าเรามี KM บวกกับ Innovation และมี benchmark ร่วมด้วย จะทำให้มีการพัฒนาผลลัพธ์ไปสู่ความเป็นเลิศ
ทำไมต้อง Benchmark Benchmark เป็นหนึ่งใน criteria ของมาตรฐาน HA ฉบับใหม่ ในตอนที่ I-4 การวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้ ซึ่งแบ่งเป็น I-4.1 การวัด การวิเคราะห์ และใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงผลงานขององค์กร และ I-4.2 การจัดการความรู้และสารสนเทศ ส่วนสำคัญคือการเลือกและใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Data)
ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Benchmarking & Continuous improvement to Innovation
ถอดบทเรียน ธนิตา พินิชกชกร
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน) โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
Photo by Dragos Gontariu on Unsplash