Collaborative Opioid Management for Patient Safety at Home: Practical Consideration

0
1706
Collaborative Opioid Management for Patient Safety at Home: Practical Consideration
Collaborative Opioid Management for Patient Safety at Home: Practical Consideration

Collaborative Opioid Management for Patient Safety at Home: Practical Consideration

“การจัดการความปวดด้วย Opioid ต้องเกิดประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งต้องมาคู่กันเสมอ”                                                                                                                               (ภก.จตุพร ทองอิ่ม)

การจัดการความปวดด้วย Opioid ซึ่งมีจุดสำคัญที่อาจทำให้คนทำงานเข้าใจคลาดเคลื่อน Cancer Pain คือ ความเจ็บปวดที่เกิดจากมะเร็งหรือเกิดจากการรักษามะเร็ง เช่น การผ่าตัดรักษามะเร็ง การให้เคมีบำบัด การให้ฮอร์โมน การให้รังสีรักษา

รศ.พญ.ศศิกานต์ นิมมานรัชต์                                                                                              การจัดการความปวดด้วย Opioid ซึ่งมีจุดสำคัญที่อาจทำให้คนทำงานเข้าใจคลาดเคลื่อน Cancer Pain คือ ความเจ็บปวดที่เกิดจากมะเร็งหรือเกิดจากการรักษามะเร็ง เช่น การผ่าตัดรักษามะเร็ง การให้เคมีบำบัด การให้ฮอร์โมน  การให้รังสีรักษา จะเกิดความเจ็บปวดทั้งแบบเฉียบพลัน และ เรื้อรัง การเจ็บปวดจะมี 2 แบบ คือ เกิดจากมะเร็ง   และไม่ใช่มะเร็ง ความเข้าใจในการบริหารจัดการความเจ็บปวด คือ ปวดน้อยใช้ความแรงของยาต่ำ ปวดมากใช้ความแรงของยาสูง ใช้ยาน้อยไปก็ไม่ออกฤทธิ์ ให้ยามากไปก็มีผลข้างเคียง องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การใช้ยาโดยวิธีรับประทานคือทางเลือกแรก ให้ยาตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาความเหมาะสมตามนาฬิกาทุกกี่ชั่วโมง ในกรณีที่ปวดต่อเนื่อง ปวดเป็นครั้งคราว ปวดนาน ควรให้ยาตามเวลาแบบ Around the clock (ทั้งวันทั้งคืน) เพื่อที่จะรักษาระดับของพลาสมาให้มียาอยู่ในระดับที่สามารถลดปวดได้ กรณีที่ผู้ป่วยลุกนั่ง ขยับร่างกายแล้วปวดมากขึ้น ควรให้ยาเวลามีอาการปวดร่วมด้วยเสมอ เพื่อให้ได้ทันท่วงทีหรือให้ก่อนที่จะเกิดความปวดได้ ในกรณีที่นานๆ ปวดควรให้ยาเฉพาะเวลาปวด ไม่ควรให้แบบ Around the clock เนื่องจากการเพิ่มหรือลดปริมาตรของยาจะมีผลต่อความเจ็บปวดของผู้ป่วย

รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์                                                                                            การมียาหลายๆ ชนิด การใช้ยาข้ามกลุ่มจะช่วยในการลดปวดในผู้ป่วยได้ การเลือกใช้ Morphine อย่างเดียวจะทำให้ต้องเพิ่มความแรงไปเรื่อยๆ หากใช้ร่วมกับยากลุ่ม NSAIDS COX-2 สามารถลดความปวดได้ดีกว่า ทำให้ผู้ป่วยตายอย่างมีสติ สามารถสวดมนต์ อยู่กับครอบครัวได้ดี ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

การใช้ยา Tramadol ทำให้คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มีผลต่อไต จึงไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมหน้าที่ Tramadol ฉีดต้องทำให้เจือจาง 3-5 ซีซี ฉีดช้าๆเพื่อป้องกันการชัก และควรระมัดระวังหรือไม่ควรใช้ในผู้ป่วยชัก ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมอง

Strong Opioid มียาบางตัวที่ไม่ควรใช้คือ Pethidine ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยเรื้อรัง เนื่องจากจะถูกเปลี่ยนเป็น Norpethidine ซึ่งจะทำให้ไตเสื่อมสภาพเร็วมาก ดังนั้นแต่ละวิชาชีพที่ใช้ยาต้องรู้ว่ายาลดปวดมี half – life นานแค่ไหน ดังนั้นการเยี่ยมบ้านต้องรู้ half – life ไม่ควรให้ยาที่มีปฏิกิริยาต่อกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและลดปวดได้ดี Opioids ไม่ทำให้ชีวิตผู้ป่วยสั้นลง ไม่ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ประเทศไทยไม่มี Morphine ชนิดเม็ดอมใต้ลิ้น ปัจจุบันถ้าใช้ก็ไม่ออกฤทธิ์ลดปวดได้ ดังนั้นควรใช้ Morphine เหน็บใช้ water base lubricant จะออกฤทธิ์ได้ดี รวมทั้งห้ามใช้ Lorazepam วางใต้ลิ้น

การดูแลผู้ป่วยที่มีความปวดเราต้องรู้จักผู้ป่วยก่อนว่า ปวดจากสาเหตุอะไร ปวดแบบไหน เกิดจากตัวโรค หรือจากการรักษา ซึ่งสำคัญมาก ถ้าประเมินผิดพลาด การวางแผนการรักษา การเลือกยาจะผิดไป รวมทั้งต้องรู้จักยา การเลือกใช้ยา Opioids ที่ถูกต้องจะลดปวดได้ เกิดประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย ต่อผู้ป่วยสูง

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Collaborative Opioid Management for Patient Safety at Home: Practical Consideration

ถอดบทเรียน สุนิดา แสงย้อย

ตำแหน่ง หัวหน้าพยาบาล (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ) โรงพยาบาลปทุมราชวงศา

Photo by Hailey Kean on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here