Control Chart

0
23008

Control Chart เป็นเครื่องมือคุณภาพชิ้นหนึ่งที่มีประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยในการผลิตสินค้าและให้บริการ Control Chart จะช่วยให้ทีมงานสามารถดักจับปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนงานได้อย่างรวดเร็ว และเข้าไปแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่ปัญหาจะลุกลามและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อองค์กร

สำหรับงานพัฒนาคุณภาพ  Control Chart ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบ่งชี้ว่าการพัฒนากระบวนการงานที่นำมาใช้ได้ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือไม่

หลักการสำคัญของ Control Chart คือ การคำนวณหาค่าเฉลี่ยของตัวชี้วัดในช่วงที่ผ่านมาเพื่อสร้างเส้นกลาง และคำนวณค่า upper control limit (UCL) และ lower control limit (LCL) เพื่อใช้ในการติดตามค่าตัวชี้วัดในช่วงถัดไป ถ้าค่าตัวชี้ค่าที่กำลังติดตามอยู่มีลักษณะเข้ากับเกณฑ์ที่กำหนด ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่า ค่าตัวชี้วัดกำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เป็นเพียงความแปรปรวนตามปกติของค่าที่วัดได้ เกณฑ์เหล่านี้ ได้แก่

  1. An outsider คือ มีจุดใดจุดหนึ่งอยู่นอก control limit คือสูงกว่า UCL หรือต่ำกว่า LCL
  2. A shift or a trend คือ มีจุด 7 จุดต่อเนื่องกันเหนือหรือใต้เส้นกลาง, หรือมีจุด 7 จุดต่อเนื่องกันที่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน คือเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือลดลงต่อเนื่อง
  3. An unusual pattern คือ มีแบบแผนหรือแนวโน้มที่ผิดปกติภายใน control limits
  4. Too many or too few points found within the inner one-third คือ มีการกระจายของจุดภายในช่วง mean + 1 S.D. ต่างไปจากค่าที่ควรเป็นตามการคำนวณทางสถิติ

Photo by Isaac Smith on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here