Coproduction of Healthcare Service Through the Healthcare Network Accreditation (HNA)

0
589
Coproduction of Healthcare Service Through the Healthcare Network Accreditation

“การเรียนรู้จากการใช้มาตรฐานทำให้
เครือข่าย
เกิดการเติบโตในการมองเป้าหมายร่วมกันและการมุ่งสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น”

Coproduction of Healthcare Service Through the Healthcare Network Accreditation

เตรียมความพร้อมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่การรับรองคุณภาพในรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพปัจจุบันโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) บอกว่าคุณภาพของโรงพยาบาลดี โรงพยาบาลใหญ่ในจังหวัดก็จะบอกว่า คุณภาพของโรงพยาบาลดีเช่นกันตามบริบทตนเอง แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยอาจจะไม่ดีตามที่คาดหวัง อะไรเป็นปัจจัยหรืออะไรจะเป็นการเพิ่มคุณภาพผลลัพธ์เหล่านี้ แล้วใครจะบอกว่าดีขึ้น ดีแล้ว และจะบอกด้วยอะไร

การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพในระดับรายโรงพยาบาลไปสู่การรับรองคุณภาพในรูปแบบเครือข่ายโดยการรับรองเครือข่ายบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สถานพยาบาลดำเนินงานในรูปแบบองเครือข่ายบริการสุขภาพที่จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ทั้งนี้เป็นไปตามบริบทหรือปัญหาของพื้นที่ โดยการรับรองระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (Healthcare Network System Accreditation: HNA) เป็นการรับรองเครือข่ายสถานพยาบาลที่ต้องการพัฒนาระบบงานให้มีความเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกันโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลร่วมกัน อาจเป็นเครือขายบริการระดับจังหวัด ระดับเขต เครือข่ายบริการกลุ่มโรค เครือข่ายสถานพยาบาลสังกัดต่างๆ หรือเครือข่ายสถานพยาบาลเอกชน ซึ่งสามารถแสดงผลลัพธ์การดูแลที่โดดเด่นได้ ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่ายที่ได้ดำเนินการในรูปแบบนี้อยู่หลายแห่ง หลายเครือข่าย และเริ่มได้รับ การรับรองการพัฒนาคุณภาพในรูปแบบนี้บ้างแล้ว

การขับเคลื่อนของ สรพ. ในการประเมินการพัฒนาและการรับรองคุณภาพ สถานพยาบาลที่พัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (Healthcare Network System) การพัฒนาระบบบริการเฉพาะด้าน 19 สาขา ได้แก่   1) สาขาโรคหัวใจ 2) สาขาโรคมะเร็ง 3) สาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 4) สาขาทารกแรกเกิด 5) สาขาสุขภาพจิต  และสารเสพติด 6) สาขาแม่และเด็ก 7) สาขาระบบบริการปฐมภูมิและสุขภาพอำเภอ 8) สาขาสุขภาพช่องปาก   9) สาขาไต 10) สาขาตา 11) สาขาโรคไม่ติดต่อ 12) สาขาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน 13) สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ 14) สาขาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ 15) สาขาการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันและการดูแลแบบประคับประคอง 16) สาขาศัลยกรรม 17) สาขาอายุรกรรม 18) สาขาออร์โธปีดิกส์ 19) สาขาการใช้กัญชาทางการแพทย์

มาตรฐานระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (Healthcare Network System Standards ฉบับมิถุนายน 2563) เป็นแนวทางในการทำงานของสถานพยาบาลกับพื้นที่หรือเครือข่ายใดๆ ในการพัฒนาระบบบริการให้ก้าวหน้าจากระดับภายในสถานพยาบาลไปเป็นการพัฒนาระบบบริการ
ที่มีความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อในลักษณะเครือข่ายบริการสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและช่วยพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขไทยให้มีความปลอดภัย ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ลดปัญหาข้อร้องเรียนและช่วยให้ประชาชนเกิดความมั่นใจและไว้วางใจในระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย


การประเมินรับรองมาตรฐานระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ 
เป็นการประเมินรับรองเพื่อเสริมพลัง (Empowerment Evaluation) โดยใช้แนวคิดหลักในการประเมินรับรอง สถานพยาบาลเป็นรายแห่งเพื่อขับเคลื่อนสู่การประเมินรับรองเครือข่ายระบบบริการสุขภาพ โดยมีแนวคิดสำคัญ คือ
1. Integrated People-Centered Health Services กลุ่มโรคเรื้อรังหรือระบบบริการสุขภาพที่สำคัญ ตลอดจนเป้าหมายหรือประเด็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของเครือข่ายหรือแนวคิดการบริหารจัดการตาม Service Plan
2. Network & Teamwork การทำงานในลักษณะเครือข่าย ซึ่งไม่ได้ใช้อำนาจสั่งการตามสายการบังคับบัญชาเท่านั้น ในการขับเคลื่อนงาน แต่ใช้การสร้างเป้าหมายร่วม การกำหนดและแบ่งบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมชัดเจน และการติดต่อสื่อสารเพื่อการติดตามงานที่มีประสิทธิภาพในการผลักดันงานสู่ความสำเร็จ
3. Supply Chain Management คือการจัดทำวิเคราะห์และปรับปรุง Flow ของ Work Process, Material และ Information อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย
4. Lean & Seamless Healthcare เป็นการพัฒนา Patient Care Process ที่ผสมผสานทั้งเครื่องมือที่เป็น
รูปธรรมแบบ Lean เข้ากับวิธีการมองผู้ป่วยแบบองค์รวม (ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วนและก่อให้เกิดบริการที่ไร้รอยต่อ

องค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ
1. Seamless: เครือข่ายมีการพัฒนาคุณภาพระบบการเชื่อมต่อของสถานพยาบาลในทุกระดับเพื่อลดรอยต่อ ภายในเครือข่ายและนอกเครือข่ายที่มีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อเนื่อง รวมทั้งการมีระบบฐานข้อมูลที่สามารถ
ใช้ในการบริหารจัดการของเครือข่ายในภาพรวม
2. Network: เครือข่ายมีการกำหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ เป้าหมาย และเครื่องชี้วัด ของสถานพยาบาล
ในแต่ละระดับที่ชัดเจน สอดคล้องและเชื่อมโยง มีการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันภายในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. Patient Safety: เครือข่ายมีการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่สะท้อนให้เห็นการบริหารจัดการร่วมและเชื่อมโยงโดยมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ทั้งผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลทุกระดับและการดูแลเชื่อมโยง
ในเครือข่าย ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเข้าถึงบริการถึงการดูแลต่อเนื่อง
4. Output/Outcome: เครือข่ายมีการกำหนดเป้าหมายและเครื่องชี้วัดในภาพรวมเครือข่าย มีจัดการระบบฐานข้อมูล มีระบบการติดตามผลการดำเนินงาน และวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมทั้งเครือข่ายตามฐานประชากร
ซึ่งผลลัพธ์การดำเนินงานที่สำคัญควรมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง

Example Model: การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในลักษณะเครือข่ายร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข ภายใต้แนวคิดที่พัฒนาจาก “ดุสิตโมเดล” มาสู่ “Bangkok Health Zone” เป็นการนำแนวคิดและมาตรฐานระบบบริการเครือข่ายสุขภาพใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ ตามประเด็นที่สนใจร่วมกัน
ทั้งจังหวัดหรือทั้งเครือข่ายต่อไป

“เข้าถึงง่าย ไร้รอยต่อ ข้อมูลเชื่อมโยง ประชาชนเชื่อมั่นมาตรฐานการรักษา”

ผู้ถอดบทเรียน
นายเกรียงศักดิ์ ใจภักดี นักวิชาการระบบคุณภาพ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
นางสาวศิญาภัสร์ รัตนประยงค์วุฒิ ผู้ประสานงาน สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
นางสาวสุภลักษณ์ จ่างโพธิ์ ผู้ประสานงาน สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here