Developmental Evaluation (DE), REAM, and Clinical Audit

0
4338

Developmental Evaluation (DE), REAM, and Clinical Audit

“Developmental Evaluation : DE เป็นเครื่องมือที่เอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อค้นหาหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงของผู้เกี่ยวข้อง เป็นการประเมินเพื่อใช้ประโยชน์โดยนำผลไปปรับปรุงผลงานของตัวเอง จึงเป็นมุมที่เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวาง”

Developmental Evaluation คือ เครื่องมือที่ใช้ทำความเข้าใจ รวมถึงใช้ในการตีความในสถานการณ์ที่ซับซ้อน (complex situation) และ DE ที่ดี ต้องให้ real-time feedback เพื่อนำไปปรับปรุงได้ทันเวลา อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสร้าง double-loop learning (การเรียนรู้เพื่อปรับปรุงนโยบายองค์กร), triple loop learning (การเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางองค์กร) ให้แก่กลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันในหน้าที่รับผิดชอบ มุมมอง ความเชื่อ ประสบการณ์ แต่มีเป้าหมายเพื่อความสำเร็จร่วมกัน

Developmental Evaluation ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่

  1. เป้าหมายร่วมที่ทรงพลัง (common purpose) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในเครื่องมือนี้ ในการเริ่มต้นเกิดจากการประชุมปรึกษาร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายขององค์กรที่สร้างคุณค่าที่แท้จริงร่วมกัน ไม่ใช่เพียงแต่การสร้างผลงานให้สำเร็จ
  2. ข้อมูลหรือผลประเมินที่ตรงเป้าหมาย และแม่นยำ โดยกำหนดข้อมูลที่ต้องการ รวมถึงขั้นตอน และวิธีการเก็บข้อมูล จนถึงการกำหนดการวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น
  3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ที่ครบถ้วน เอาจริงเอาจัง และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ โดยการเป็น stakeholders ที่ดีนั้น จะต้องมาประชุมครบตามนัด ไม่เปลี่ยนคนไปมา อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนพร้อมที่จะเรียนรู้ เปิดใจพูด เปิดใจฟัง คาดหวังคุณค่าจากมุมมองที่แตกต่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในมุมมองของตน และสุดท้ายก็คือการมีเป้าหมายใหญ่ที่ทรงคุณค่าร่วมกัน
  4. กระบวนการสุนทรียเสวนา (dialogue) เป็นการตีความร่วมกันจากหลายมุมมอง เพราะเป็นการเรียนรู้ความซับซ้อน (complexity) นำผลไปใช้ปรับปรุง ณ จุดทำงานของตนเอง
  5. ผู้ประเมิน (evaluator) ที่เป็นเหมือน facilitator ของกระบวนการ dialogue และช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ นอกจากการมี stakeholders ที่ดีแล้วนั้น ทีมประเมินที่ดีต้องมีความเข้าใจโจทย์ใหญ่ในระดับที่ซับซ้อน รู้จัก stakeholder แต่ละคน เคารพทุกวิธีคิด ทุกมุมมอง มีวิธีตะล่อมเป้าหมายที่หลากหลาย สู่เป้าหมายร่วมกัน จับประเด็นความคิดที่ฟุ้งกระจาย ให้กลายเป็นข้อเขียนที่ชัดเจนได้ มีความชำนาญในการเชื่อมโยงความคิด หรือตั้งคำถามให้เกิด double-loop learning อีกทั้งทีมประเมินยังต้องช่ำชองใน research / evaluation methodology วิธีเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และนำเสนอข้อมูล

ทีม/ผู้ประเมินที่ใช้ Developmental Evaluation เป็นเครื่องมือควรแม่น 3 เรื่อง ได้แก่ การคิดกระบวนระบบ (systems thinking), ทฤษฎีความซับซ้อน (complexity theory) และ developmental evaluation ซึ่งเป็น complex adaptive systems

Developmental Evaluation ในมุมมองของ HA จึงเป็นเครื่องมือในการหมุนวงล้อการเรียนรู้ในกระบวนการคุณภาพของสถานพยาบาล ของบุคลากรสุขภาพ และของทีม สรพ. โดยมีหัวใจสำคัญคือ การใช้พลังของ stakeholders ที่มีเป้าหมายที่ทรงพลังและเห็นคุณค่าร่วมกัน

 

“DE เป็น ongoing evaluation ไม่ใช่ snapshot evaluation”

ฉะนั้นการยกระดับให้กระบวนการพัฒนาคุณภาพ เป็น ongoing evaluation นั้น ต้องเริ่มจากการชักชวน stakeholders มาให้ความเห็นที่หลากหลายร่วมกัน ใช้ DE มาทำให้เกิด internal improvement ด้วยการตีความข้อมูลต่าง ๆ ที่มี ดังนั้น เมื่อผู้เยี่ยมสำรวจเข้าเยี่ยม รพ. จะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยผู้เยี่ยมสำรวจจะตั้งคำถามที่ช่วยทำให้เกิด double loop learning โดยต้องไม่คิดว่ามีคำตอบตายตัว นำไปสู่ความเข้าใจปัญหาที่ซับซ้อนได้จริง เกิดการแลกเปลี่ยนกันจนตกผลึก และเลือกสิ่งที่ดีที่สุดไปทดลองทำ ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากขึ้นในการหาคำตอบ แต่จะเป็นคำตอบที่ยั่งยืน

การทำ DE อาจไม่ได้ตามเป้าหมายตามที่กำหนด แต่ก็จะเกิด emerging idea (ความคิดใหม่) ซึ่งเป็นความสำเร็จเล็ก ๆ ขึ้นมา และมนุษย์ทุกคนมี creativity ในการทำสิ่งใหม่ ๆ ตามกำลัง สภาพแวดล้อมของแต่ละคน ถ้าเราเชื่อในความเป็นมนุษย์ของทุกคน เราจะเห็นความสำเร็จเล็ก ๆ นั้น และจะนำ emerging idea ที่เกิด มาหมุนวงรอบ จากความสำเร็จเล็ก ๆ ก็จะเกิดความสำเร็จใหญ่ ๆ ขึ้นมาได้

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here