ความหมายของ Empathy อาจแปลได้ตรงกับคำขวัญของบุคลากรสาธารณสุขไทย “อตฺตานํ อุปมํ กเร” ซึ่งหมายถึง เอาใจเขามาใส่ใจเรา และสอดคล้องกับพระราโชวาทของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศไทย) ที่กล่าวว่า “ฉันไม่ต้องการให้เธอเป็นหมอเท่านั้น แต่ฉันต้องการให้เธอเป็นมนุษย์ด้วย” empathy เป็นคุณสมบัติที่มีในมนุษย์เท่านั้น
เรื่อง empathy สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะหมออาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีปัจจัยที่ส่งต่อการมี empathy ของแพทย์ ได้แก่
- ชนชั้นภายใต้โครงสร้างสังคมไทย หมอ และทันตแพทย์ อยู่ในระดับชนชั้นมั่นคง (stability) และ ชนชั้นมั่นคงอย่างยั่งยืน (stability+)
- ความเหลื่อมล้ำของระบบประกันสุขภาพ เป็นตัวกำหนดการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ป่วยและบุคลการทางการแพทย์
- ลัทธิบูชาหมอ ที่มีสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สร้าง identity ให้กับวิชาชีพหมอ ที่ไม่พบในวิชาชีพอื่น และหมอมักอยู่ในวงการสำคัญของประเทศ เช่นแวดวงการเมือง การศึกษา เป็นต้น
- Medical gaslighting ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ ภาวะที่แพทย์ตัดสินผู้ป่วยที่อาจนำไปสู่การประเมินสถานการณ์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริง การละเลยขั้นตอนที่พึงกระทำรวมถึงการวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ หมอจะคิดว่าผู้ป่วยกังวลไปเอง คิดมากเกินไป โดยไม่ตอบสนองกับความกังวลของผู้ป่วย และเพิกเฉยกับอาการที่ผู้ป่วยบอกเล่าให้ฟัง อาจหมายความไปถึงการขาด empathy ต่อผู้ป่วย
ในสังคมไทย การรับรู้การให้ความหมายทางวัฒนธรรม ที่ให้คุณค่ากับหมอสูงมาก การคาดหวังให้หมอมี empathy จึงเป็นเรื่องยาก
การสำรวจความรู้สึกของผู้ป่วยในกลุ่มประชากรวัย millennial ส่วนใหญ่รู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจจากแพทย์ เมื่อผู้ป่วยรู้สึกไม่ได้รับการดูแลใส่ใจจากการพบแพทย์ ตามความคาดหวัง จึงทำให้เลือกรับข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ตช่องทางต่าง ๆ แทนการมาพบแพทย์
การรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยทั้ง meta analysis และ RCT พบประโยชน์ที่ได้รับจากการมี empathy ใน health communication ทำให้เกิด better care ผู้ป่วยมีความพอใจ มีความหวังและมีระดับความไว้วางใจเพิ่มขึ้น, better health ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษามากขึ้น ลดความเจ็บปวด ลดอัตราการเสียชีวิต และ better workplace ผู้ให้บริการทางการแพทย์มีชีวิตดีขึ้น ทำงานมีความสุขมากขึ้น เมื่อผู้รับบริการมีความไว้วางใจในบุคลากรทางการแพทย์ จะสามารถเพิ่ม patient enablement และลดการเชื่อ fake new ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เนื่องจากจะต้องการรับฟังข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ตนไว้วางใจมากกว่า
จุดเริ่มต้นของ empathy ต้องเริ่มจาก มองคนก่อนมองโรค การไม่ด่วนตัดสิน สมการของ empathy ได้จากการรวมกันของ active listening ฟังอย่างตั้งใจ กับ reflection ที่เน้นความรู้สึกของผู้ป่วยมากกว่าเนื้อหา รวมถึงการใช้ non-verbal communication เป็นองค์ประกอบในการสื่อสาร ได้แก่ eye contact, facial expression, posture หรือ tone of voice จะนำไปสู่ better communication ในการสร้างให้มี empathy เกิดขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การมองต่างมุม มองจากมุมอื่น หรือสมมติว่าเราอยู่ในเหตุการณ์นั้น 2) การไม่ตัดสิน ไม่ด่วนสรุป พยายามเข้าใจถึงวิถีชีวิตของเขาว่าเป็นอย่างไร 3) รับรู้ว่าเขารู้สึกอย่างไร และ 4) แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจเขา
“การมี empathy คือ การแชร์ความเป็นมนุษย์ กับคนที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย”
ผศ.ดร.ภญ.ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ ผู้ถอด/สรุปบทความ