Evidence Based for Decision Support in Clinical Practice and Hospital Management

0
45
Evidence Based for Decision Support in Clinical Practice and Hospital Management

“Evidence Based ทำให้เกิดการเรียนรู้ทั้งองค์กร สร้างระบบการเตือน (Alert fatigue)  ที่เหมาะสม และแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นระบบเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety)”

Growth Mindset ในการใช้ Evidence based ที่ได้จากข้อมูล Clinical practice เกิดผลลัพธ์เป็น Patient safety ในระบบงานคุณภาพ งานวิจัย (Evidence) ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเช่น จำนวนวันนอน (LOS) อัตราตาย (Mortality) การเกิดภาวะแทรกซ้อน (Complication) การกลับเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคเดิม (Readmition) อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล (CLABSI, VAP, HAP, CAUTI) มีมากกว่า 500 งานวิจัย ในแต่ละงานวิจัยก็จะประกอบด้วย 1. Driver diagram: เป้าหมาย ปัจจัยขับเคลื่อน ตัวชี้วัดและการปรับเปลี่ยน 2.วงจร PDSA: แสดงถึงกระบวนการ Plan, Do, Study, Act แต่ละวงล้อต่อเนื่องกัน 3. Control chart: แผนภูมิควบคุมกระบวนการต่างๆในงานวิจัย

การคัดเลือกงานวิจัยเพื่อใช้เป็นตัวอย่างประกอบการจัดทำ Evidence Based ขององค์กร ให้ Quick review ค้นหางานวิจัยตรงกับปัญหาขององค์กรจะทำให้เกิดประโยชน์ที่สุด ดูที่ Control chart ก่อน แล้วศึกษากระบวนการ PDCA เกิดแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา ทดลองปฏิบัติใหม่และเก็บผลลัพธ์ แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาทำ Driver diagram โดยสามารถลอกเลียนรูปแบบตาม Driver diagram ของงานวิจัยตัวอย่าง สิ่งสำคัญคือนำมา implement กับระบบขององค์กรที่ปฏิบัติจริง  จัดทำ Evidence based ย้อนหลังประมาณ 5-6 ปี และใส่ข้อมูล
ใน Driver diagram นั้นจาก Evidence based ภายในองค์กรของเราเอง

เราสามารถใช้กราฟในการนำเสนอข้อมูลเพื่อแสดง Cost-effectiveness analysis (แกน Y คือราคา แกน X คือประสิทธิภาพ) เพื่อของบประมาณในการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพเปรียบเทียบกิจกรรมที่ค่าใช้จ่ายแพงแต่ผลลัพธ์ไม่ดี กับกิจกรรมที่ค่าใช้จ่ายถูกแต่ผลลัพธ์ดี ให้ผู้บริหารเห็นความแตกต่างและตัดสินใจเลือกได้ทันที

การเรียนรู้จากงานวิจัยต้นแบบจะได้ประโยชน์ทางด้านแนวคิด Patient safety ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มองเห็นภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพขององค์กร (SAR)

CDSS (Clinical Decision Support System) เป็นเครื่องมือที่เกิดจาก Growth mindset ที่อยากให้ผู้รับบริการได้รับความรวดเร็วปลอดภัย โดย AI ประมวลตามข้อมูลที่มีในระบบ แล้วกำหนดแนวทางปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งมีการนำระบบนี้ผนวกเข้ามากับระบบเวชระเบียน และระบบยา ใช้เทคโนโลยีสร้างระบบการแจ้งเตือนต่างๆ เช่น ระบบ High Alert Drug  ระบบการเตือนเมื่อผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตหรืออุณหภูมิสูงผิดปกติ เป็นต้น

Successful CDSS “THE FIVE RIGHTS” 1.ข้อมูลที่ถูกต้อง (The right information) 2.ถึงคนที่ถูกต้อง (To the right person) 3.ในรูปแบบที่ถูกต้อง (In the right format) 4.ส่งในช่องทางที่ถูกต้อง (Through the right channel) 5.ในเวลาที่ถูกต้อง (At the right time)

เพราะมนุษย์เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย ยังมีความแตกต่างมากมายในการตัดสินใจ ถ้าจะศึกษาเรื่องอะไร ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจ และใช้ข้อมูลมหาศาล การใช้ CDS จากปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) อาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง  ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีต้องควบคุมด้วยความระมัดระวัง และตระหนักถึงข้อจำกัดในการใช้ AI เสมอ

ผู้ถอดบทเรียน นางกาญจนา เสนะเปรม
หัวหน้างานพัฒนาระบบบริการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here