Foresight (อนาคตศาสตร์)

0
51
Foresight (อนาคตศาสตร์)

“What is impossible today ,but if possible ,changes everything.”
“สิ่งที่เป็นไปไม่ได้วันนี้ แต่ถ้าเป็นไปได้แล้ว
จะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง”

มองย้อนอดีตกลับไปในเรื่องงานพัฒนาคุณภาพ 24 ปีที่ผ่านมา ที่มีการเริ่มต้นการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในประเทศไทย โดยมีระบบต้นแบบจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทีมผู้บุกเบิกระบบ HA รุ่นแรกเข้าไปตามโรงพยาบาลต่างๆเพื่อริเริ่มระบบการพัฒนาคุณภาพ ระบบแรกๆคือ QC, ISO ซึ่งในขณะนั้นเห็น Foresight ว่าประเทศไทยในอนาคตจะสามารถพัฒนาคุณภาพการสาธารณสุขได้จนเทียบเท่าประเทศสหรัฐอเมริกาต้นแบบและนานาอารยประเทศอย่างแน่นอน จากความทุ่มเทของทีมจากสถาบันรับรองคุณภาพ ผู้ตรวจเยี่ยมคุณภาพ และ โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ HA

อนาคตศาสตร์ (Foresight) เป็นการเข้าใจทางเลือกสำหรับอนาคตที่เป็นไปได้ ที่อาจเป็นไปได้ และที่พึงประสงค์  อนาคตศาสตร์ของระบบการพัฒนาคุณภาพประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ
1. เส้นไฟไหม้ฟาง ในการเริ่มต้นทุกคนมองว่าการทำ HA เป็นไฟไหม้ฟาง เดี๋ยวก็มอดและเลิกทำไป
2. เส้นการฝ่าฟันต่อสู้กับอุปสรรคและแรงต้านของสังคม ต่อสู้กับสิ่งใหม่ๆ เพื่อพิสูจน์ว่าการพัฒนาคุณภาพสามารถทำให้ยั่งยืนได้
3. เส้นขอบฟ้าสวยงาม (Horizon) ที่เป็นความหวัง มองเห็นระบบพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน เป็นระบบการเรียนรู้ ทำให้โรงพยาบาลอยากจะทำคุณภาพ ขยายจินตนาการสู่ผู้ร่วมอุดมการณ์แล้วสร้างแนวทางขึ้นมาเพื่อพาคนคุณภาพไปให้ถึงเป้าหมายนั้น

เริ่มด้วยการกำหนดไว้ว่าเราอยากมีอนาคตแบบไหน เพื่อจะได้วางแผนว่าเราต้องทำอย่างไรจึงจะได้ ประสบความสำเร็จตามที่วางอนาคตไว้ โดยที่เราต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนต่างๆที่เรียกว่าปัญหาและอุปสรรคหรือความเสี่ยง ซึ่งเราอาจจะควบคุมได้หรือไม่ได้ก็ตาม แต่หากเป็นความเสี่ยงที่อยู่ในแผนที่วางไว้ก็จะมีแนวทางการรับมือหรือการแก้ไขในแผนที่วางไว้เช่นกัน

อนาคตศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพนั้น ผลลัพธ์ที่วางไว้ คือ คุณภาพฝังอยู่ในงานประจำ คนเผ่า HA พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆอยู่เสมอ และพร้อมเสมอสำหรับรับการตรวจเยี่ยมโดยไม่ต้องบอกล่วงหน้า (Unannounced Survey) บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ ได้แก่ ผู้บริหาร ทีมนำ และผู้ปฏิบัติงาน รู้หน้าที่และปฏิบัติตามหน้าที่โดย
ไม่เหน็ดเหนื่อย ไม่เกิดความผิดพลาดขึ้น งานที่ทำมีคุณภาพตลอดเวลา

อนาคตศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพจะเป็นไปได้ ต้องอาศัยจินตนาการสร้าง Possibility ที่น่าจะสามารถเป็นไปได้ ซึ่งช่วงแรกๆเป็นไปอย่างยากลำบาก มีโรงพยาบาลที่ได้รับ HA น้อยมาก จนต้องปรับเปลี่ยนมาใช้บันได 3 ขั้น ทำ
ให้การทำ HA ผ่อนคลายลง โรงพยาบาลค่อยๆไต่บันไดจนกระทั่งได้ HA มากขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความเปลี่ยนแปลงในการใช้เทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงในการตื่นตัวของประชาชนในระบบข้อมูล การเปลี่ยนแปลงระบบการจ่ายเงินด้วย Third party แต่บุคลากรยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน

เสาหลักทั้ง 6 ของอนาคตศาสตร์ (6 Pillars of Future Thinking)
1. การทำแผนที่ (Mapping) สำรวจและวางช่วงอนาคตที่เป็นไปได้
2. การคาดการณ์ล่วงหน้า (Anticipating) การคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากแนวโน้มและข้อมูลปัจจุบัน
3. การวิเคราะห์เวลา (Timing) การเข้าใจเวลาและความเร็วของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
4. การขยายความลึก (Deepening) การเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงถึงพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงค่านิยม ระบบ และโครงสร้างของสิ่งที่จะกำหนดในอนาคต
5. การสร้างทางเลือก (Creating Alternatives) การจินตนาการ คิดสร้างสรรค์ พัฒนาความคิดใหม่ๆที่อาจเป็นไปได้ในอนาคตนอกเหนือจากข้อจำกัดและรูปแบบปัจจุบัน
6. การเปลี่ยนแปลง (Transforming) การใช้ความเข้าใจเรื่องอนาคตศาสตร์มาสร้างความเปลี่ยนแปลง

จากเดิมการวางแผนต้องมีทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว การวางแผนอนาคตโดยใช้หลักอนาคตศาสตร์ประกอบ
กับ Growth mindset จะแบ่งเป็นช่วงๆไม่ให้มีระยะเวลานานเกินไป เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลง
อยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญคือการมองยอดของเป้าหมายไว้ไม่ให้คลาดสายตา เพื่อให้ไม่หลุดจากเป้าหมายที่วางไว้
แม้จะวางแผนเป็นระยะสั้นๆเป็นช่วงก็จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายสำคัญอย่างแน่นอน

Backcasting เป็นวิธีการเพื่อขจัดอุปสรรคในการสร้างอนาคตที่พึงประสงค ์โดยการจินตนาการว่าเราไปอยู่ ณ จุดที่เป็นอนาคตที่พึงประสงค์เรียบร้อยแล้ว  กระบวนการที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเปลี่ยนอุปสรรคขัดขวางไปสู่สิ่งที่เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนแปลงและอนาคตที่พึงประสงค์ ในอีก 10 ปีข้างหน้าให้จินตนาการย้อนมองว่า เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมีอะไรบ้าง แล้วเขียนแผนอนาคตออกมา


Metaphors; Narrative learning จาก Golden second เป็น Golden life มีประโยชน์ในการวาดภาพอนาคต ตรงข้ามกับการปลูกผักชีคือการปลูกไม้ยืนต้น  โดยการปรับปรุงตนเองตลอดเวลา (Review energy)
โลกทัศน์ต้องเปลี่ยนไปในทางไหน ตัวชี้วัดที่จะใช้ต้องเป็นอย่างไร มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ตลอดเวลา  เป้าหมายที่อยากไปให้ถึงคือ “คุณภาพอยู่ในงานประจำ” บุคลากรได้เริ่มทำความเข้าใจเรื่องของคุณภาพตั้งแต่เมื่อเป็นนักศึกษา บรรจุเรื่องการพัฒนาคุณภาพเข้าในหลักสูตรการเรียน เพราะคุณภาพต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และเป็นเรื่องจริง มีการติดตามอาการคนไข้เองโดยแพทย์ผู้รักษา หรือแพทย์ที่ทำการ CPR โทรติดตามอาการคนไข้ที่กลับบ้านไปแล้ว ก็จะเห็นคุณค่าของการทำงานของตนเอง เห็นข้อดีและข้อผิดพลาด นำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้มาสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยที่เข้มแข็งและยั่งยืน

การใช้ประโยชน์จากอนาคตศาสตร์ อาจจะเป็นการใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรหรือเพื่อจัดทำ Strategy ที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือทำให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ด้วยความเข้าใจเรื่อง used, disowned, & alternative futures เช่น การรับรองพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในอนาคต อาจมีการใช้ AI ในการประเมินคุณภาพ  และหากทุกโรงพยาบาล
ในประเทศไทยทำได้ตามมาตรฐานวิชาชีพได้อย่างครบถ้วนแล้ว เป็น Smart Hospital และการตรวจเยี่ยมของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลเป็นแบบ Unannounced Survey (การเยี่ยมสำรวจการพัฒนาคุณภาพโดย
ไม่แจ้งล่วงหน้า) ในอนาคต AI จะเข้ามามีส่วนชี้นำและประเมินผล กระบวนการประเมินโดยใช้ AI  เช่น CHAT GPT , GOOGLE GEMINI เป็นต้น

ผู้ถอดบทเรียน นางกาญจนา เสนะเปรม
หัวหน้างานพัฒนาระบบบริการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here