Growth Mindset for Better IV Care

0
609
Growth Mindset for Better IV Care

IV Care เรื่องธรรมดาที่มีคุณภาพ

IV Care: เรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา การพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำแม้จะเป็นการพยาบาลพื้นฐาน แต่ก็ยังเป็นการพยาบาลที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน เช่น phlebitis extravasation sepsis การเพิ่มค่าใช้จ่ายและการเสียชีวิตตามมาได้ ดังนั้น พยาบาลวิชาชีพจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพของการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

How to: IV Care เรื่องธรรมดาที่มีคุณภาพ
1. Accessibility: การเข้าถึงองค์ความรู้ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับ IV Care managemen
2. Implementation: การนำองค์ความรู้ลงสู่การปฏิบัติ
– เปลี่ยนความคิด/ความเชื่อของตนเอง
– เชื่อว่าพยาบาลวิชาชีพทุกคนสามารถพัฒนาได้
– ส่งเสริมสนับสนุนตั้งแต่ระดับนโยบายถึงการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
– ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองในองค์กร

Synergy Model for Better IV care เป็น model ที่ใช้ในการประเมินความต้องการของผู้ป่วยและสมรรถนะของพยาบาล ให้มีความสอดคล้องกันให้มากที่สุดเพื่อยกระดับคุณภาพของการดูแลผู้ป่วย สร้างโดยสมาคมพยาบาลวิกฤตแห่งสหรัฐอเมริกา มีองค์ประกอบหลักคือ ลักษณะ/ความต้องการของผู้ป่วย (patient’ characteristics) สมรรถนะของพยาบาล (nurse’ competencies) และ สิ่งแวดล้อม/ระบบของการให้บริการสุขภาพ (healthcare environment or system) เป็นการให้ความสำคัญของการผนึกกำลังกันในการดูแลระหว่างผู้ป่วย ญาติ และบุคลากร ด้วยเป้าหมายเดียวกัน นับเป็น model ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีการประยุกต์ใช้ในการดูแลคนไข้ที่หลากหลายต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

Uses of Synergy Model for Patient Care Synergy Model มีการแบ่งคุณลักษณะของผู้ป่วยและสมรรถนะของพยาบาล โดยมีการให้ scoring คุณลักษณะของ Patient (ระดับ คะแนน 1-5 โดย 5 = คุณลักษณะที่ดีที่สุด ส่วน 1 = คุณลักษณะที่แย่ที่สุด) และ สมรรถนะของ Nurse (ระดับคะแนน 1-5 โดย 5 = สมรรถนะที่ดีที่สุด (Expert) 1 = สมรรถนะที่น้อยที่สุด (Novice))

การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามคุณลักษณะ 8 แนวคิด ดังนี้
1. Resiliency: ความสามารถในการฟื้นคืนกลับมาสู่สุขภาวะการเผชิญปัญหาสุขภาพ
2. Vulnerability: ความไวหรือความอ่อนไหวหรือความเปราะบางเมื่อมี stress เกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อสภาวะสุขภาพ
3. Stability: ความสามารถของผู้ป่วยที่จะมีระบบภายในที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแต่ยังรักษาสมดุลของสภาวะร่างไว้ได้ เรียกง่ายๆว่า ภาวะสมดุลคงตัว
4. Complexity: ความซับซ้อนของความเจ็บป่วย เป็นความเกี่ยวเนื่องของระบบอย่างน้อย 2 ระบบขึ้นไปที่มีความเกี่ยวข้องกัน ระบบที่พูดถึงอาจจะมาจากทางกายภาพหรือสภาวะจิตใจ หรือกลไกของครอบครัวหรือสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วย ยิ่งซับซ้อนยิ่งมีผลกระทบต่อผู้ป่วย
5. Resource availability: ทรัพยากรที่เอื้อต่อการดูแลรักษาทรัพยากร อาจจะมาจากผู้ป่วยเองครอบครัว ชุมชน ในรูปแบบของ กำลังทรัพย์ข้อมูลความรู้ ความเชื่อส่วนตัว จิตวิทยาต่าง ๆ สังคมที่ผู้ป่วยอยู่ หรือแรงสนับสนุนต่าง ๆ ถ้ายิ่งมีมาก จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี อย่างไรก็ตาม Resource จำกัด แต่ต้องไม่ under care / neglect
6.Participation in Care: การมีส่วนร่วมของผู้ป่วย/ครอบครัวในการดูแลรักษา ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลจะมาจากพื้นฐานความรู้ resource availability และพื้นฐานทางความเชื่อทาง วัฒนธรรม
7. Participation in decision making: การมีส่วนร่วมของผู้ป่วย/ครอบครัวในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับความรู้ของผู้ป่วย ความสามารถในการตัดสินใจ (กล้าหรือกลัว) ภูมิหลังทางวัฒนธรรม (ความเชื่อและค่านิยม) รวมถึงความเข้มแข็งภายในเมื่อเจอสถานการณ์วิกฤติ.
8.Predictability: การพยากรณ์โรค ลักษณะการดำเนินการเจ็บป่วย เป็นคุณลักษณะของคนที่เข้าใจเหตุและผลของสาเหตุของเหตุการณ์ หรือต้นเหตุของการเจ็บป่วย เข้าใจ antecedence และ consequence

การแบ่งกลุ่มพยาบาลตามคุณลักษณะ 8 แนวคิด ดังนี้
1. clinical judgement: การให้เหตุผลทางคลินิกที่เหมาะสมในการที่จะ deliver care ให้กับผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วย Clinical thinking และ Nursing skill และการบูรณาการขององค์ความรู้ ประสบการณ์และหลักฐานเชิงประจักษ์
2. Advocacy: เป็นผู้พิทักษ์สิทธิโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในสภาพที่จะสามารถดูแลหรือปกป้องตัวเองได้ เป็นตัวกลางในการบ่งชี้และแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและ clinical
3. Caring practice: เป็น cluster of Nursing intervention ที่มีการปฏิบัติเพื่อให้เกิด compassionate, support, therapeutic environment สำหรับผู้ป่วยและสมาชิกในทีม การดูแลเพิ่มความสุขกาย สบายใจ ลดความกังวลใจและความทุกข์ทรมาน ทั้งผู้ป่วยและญาติ
4. Collaboration: การประสานความร่วมมือกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อตอบสนองผลลัพธ์ด้านผู้ใช้บริการ (patient outcome) และบรรลุเป้าหมายของผู้ป่วย (patient goal) >>>> safety without complication
5. System thinking: ความสามารถในการคิดอย่างเป็นขั้นตอน เห็นภาพเชื่อมโยงขององค์ประกอบทั้งหมด การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล วางระเบียบในการ nursing intervention และสามารถตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดี
6.Response to diversity
7. Clinical inquiry: เป็นทักษะของพยาบาลในการที่สามารถทบทวนวรรมที่เกี่ยวข้อง สามารถมองเห็น trend จัดองค์ความรู้ได้เป็นหมวดหมู่ และนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจหรือปรับเปลี่ยน nursing practice (ต้องมีพฤติกรรมที่ใฝ่รู้ (Knowledge- seeking behavior) ช่างสงสัย (researching data to address clinical question) และรักในการหาข้อมูลเพื่อมาปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล (searching for evidence in the literature to validate /change the practice)
8. Facilitation of learning

Quality Indicators และ ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1. Quality Indicators ได้แก่ Phlebitis, IV infiltration, Extravasation, CLABSI, PLABSI, Patient LOS
2. ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ประกอบด้วย ตัวชี้วัดเชิงโครงสร้าง (4 รายการ) ตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ (4 รายการ)และตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ (9 รายการ)

ผู้ถอดบทเรียน นางสาวดวงทิพย์ ก่อกิจงาม
นักวิชาการผู้เยี่ยมสำรวจ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here