Growth Mindset to Change Our Patients to Better Lifestyle

0
93
Growth Mindset to Change Our Patients to Better Lifestyle

ผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภท มีอันตราย
บุหรี่มวนเล็กๆ แต่ปัญหาไม่เล็กเลย 


ทุก 10 ปี WHO จะประเมินปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ พบว่าในปี 2009 และ 2019 “บุหรี่ เป็นอันดับ 1 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ยังมีจำนวนคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ 9.9 ล้านคน ถึงแม้อัตราการสูบบุหรี่ภาพรวมจะลดลงก็ตาม 
4 ใน 5 อันดับแรก ของการตายจากบุหรี่เกิดจากโรคปอด ได้แก่ มะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ
และวัณโรค โดยพบว่าเกือบ 50% ของการตายจากบุหรี่เกิดจากโรคปอดดังที่กล่าวมาข้างตัน อีกทั้งมี

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากบุหรี่ ที่ป่วยจนต้อง admit 553,611 ครั้ง โดยมีค่ารักษาต่อครั้ง 38,636 บาท
และเกิดความสูญเสียต่อประเทศชาติ 20,565 บาท ต่อคน ต่อปี (ที่มา: NHSO data year 2560 & TRC Ramatibodi)

ในปัจจุบันยังมีเทรนด์ของ “บุหรี่ไฟฟ้า” เข้ามาโจมตีเด็กและผู้หญิงมากขึ้น ด้วยรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างความล่อตาล่อใจดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น ส่งผลให้เยาวชนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5.3 เท่า (GYTS 2022) ในรายงานการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากรไทยในปี 2564 พบว่า สถิติผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวนเกือบ 10 ล้านคนจากทั่วประเทศ โดยกลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการสูบบุหรี่มากที่สุด หรือเทียบเท่าร้อยละ 21 และเพศชายยังมีอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงกว่าเพศหญิงถึง 27 เท่า

บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เลิกบุหรี่มวนได้จริงไหม?
เมื่อพิจารณาถึงปริมาณนิโคตินของบุหรี่ไฟฟ้า พบว่า มีนิโคติน 50-100 เท่าบุหรี่มวน จึงเป็นไปไม่ได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นทางเลือกที่ทำให้เลิกบุหรี่มวนได้ เนื่องจาก “นิโคติน” ในบุหรี่ไฟฟ้าเป็น Mutated Nicotine ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาแทนนิโคตินธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า Nicotine salt ทำให้คนเสพติดได้มากกว่า ง่ายกว่า ไม่ระคายเคืองคอ สามารถแต่งกลิ่น/รสได้มากถึง 10,000 ชนิด และยังมีสารใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้ผลระยะยาวในมนุษย์ เช่น flavoring, PG, EG, Glycerin เป็นต้น

สมาคมโรคปอดของสหรัฐอเมริกา ออกคำเตือนว่า “Don’t Just Switch, Quit Tobacco For Good” มาตั้งเป้าหมายเพื่อสุขภาวะของสังคมไทย โดยป้องกันการสูบบุหรี่ในประชาชนไทยด้วย การประชาสัมพันธ์/ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ที่ถูกต้อง (Prevent new/young smokers) & บริการเลิกบุหรี่ (Reduce current smokers)

How to do it in 1 min? คำแนะการเลิกบุหรี่ 3 ขั้นตอน ด้วย ส.บ.ม.
ส – สอบถาม ว่าสูบบุหรี่วันละกี่มวน, สูบวันแรกหลังตื่นนอนนานแค่ไหน
บ – บำบัด กำหนดวันเลิก ทิ้งอุปกรณื ให้ยาเมื่อจำเป็น
ม – หมั่นติดตาม และสามารถขอคำแนะนำสายเลิกบุหรี่ได้ที่เบอร์ 1600 (สายด่วนเลิกบุหรี่)
เวลา 08.00 – 20.00 น.
ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้พัฒนายาเม็ด “ไซทิซีน” มาใช้สำหรับการช่วยบำบัดอาการเสพติดการสูบบุหรี่ ให้ผู้ที่ติดบุหรี่เลิกบุหรี่ได้ ซึ่งมีผลวิจัยว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

มาช่วยกันเปลี่ยน Mindset ให้คนที่รัก/คนใกล้ตัวเลิกสูบบุหรี่ ด้วยการเปิดใจคุยกัน มองถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราและผู้อื่นให้มากๆ เมื่อมีผู้คนชัดชวนหรือกล่าวอ้างว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอด เราน่าจะต้องกลับมามองว่าปลอดภัยนั้น ปลอดภัยอย่างไร อย่าลืมที่จะพิจารณาส่วนประกอบ และการรับรองคุณภาพความปลอดภัยจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

บทบาทสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ สามารถดูและช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ป่วย/ผู้รับบริการในสถานพยาบาลได้โดยการซักประวัติเรื่องบุหรี่ พร้อมทั้งมีแนวทางการปฏิบัติให้เลิกบุหรี่ได้ ตามมาตรฐาน HA

สุดท้ายนี้ ความอยากรู้อยากลอง และสิทธิในการเลือกสูบบุหรี่ของเยาวชน ไม่อาจหยุดได้เพราะการบอกว่า บุหรี่นั้นไม่ดีหรือไม่มีประโยชน์เพียงทางเดียว หากทุกคนมาร่วมกันสื่อสารทางอ้อมผ่านสื่อที่เยาวชนให้ความสนใจอยู่ เช่น ภาพยนต์ ละคร รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ โดยแฝงข้อมูลวิชาการที่ถูกต้อง จะช่วยสร้างความตระหนักรู้และเป็นฐานข้อมูลสำคัญ ในการรณรงค์ให้เยาวชนเลือกที่จะไม่สูบบุรี่ได้อย่างรอบคอบมากขึ้น
ผู้ถอดบทเรียน นางสาวรุ่งนภา บุษบง
นักวิชาการระบบคุณภาพ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here