HA Quality Transformation Overview
“ณ วันนี้ การอยู่ที่เดิม คือ การถอยหลัง!” นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
การเปลี่ยนแปลงแบบ Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานที่ต้องอาศัยการเปลี่ยน Mindset & Culture ขององค์กร HA Quality Transformation Overview มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือคุณภาพอย่างลึกซึ้งถึงแก่น และปัจจัยสำเร็จของเครื่องมือนั้นจะมีส่วนให้เกิด Transformation ในการพัฒนาคุณภาพขึ้นได้
เครื่องมือคุณภาพ (HA tools) เครื่องมือคุณภาพ (HA tools) คือ ตัวช่วยให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบ มีขั้นตอน มีหลักเกณฑ์ มีหลักคิด เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์ต้องเข้าใจเป้าหมายว่าเราใช้เครื่องมือนั้นไปเพื่ออะไรและรู้วิธีการว่าเราจะใช้อย่างไรโดยไม่ติดรูปแบบ ในทางตรงกันข้ามหากเราใช้เครื่องมืออย่างไม่ถูกต้องจะทำให้ติดกรอบและทำงานยุ่งยากขึ้น
เครื่องมือคุณภาพกับ 3 คำถามพื้นฐาน เราสามารถนำ 3 คำถามพื้นฐาน มาช่วยให้เราใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ถ้าเรามีความเข้าใจในการใช้คำถามจะทำให้เรามีความแตกฉานในการใช้เครื่องมือ เป็นอิสระ และไม่ตกเป็นทาสของเครื่องมือ สามารถที่จะกุมบังเหียนว่าเมื่อไรเราจะเลือกใช้หรือไม่เลือกใช้เครื่องมือใด เพราะอะไร ยกตัวอย่างการใช้ 3 คำถามพื้นฐานกับเครื่องมือ Control Chart เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ดังนี้
3 คำถามพื้นฐาน |
คำอธิบาย |
ตัวอย่าง การใช้ 3 คำถาม กับ Control Chart |
1) Know WHAT | ทำให้รู้ว่าเครื่องมือนี้คืออะไร คำเรียกมีที่มาอย่างไร รู้ว่าเชื่อมโยงกับอะไรได้บ้าง มีเครื่องมืออะไรที่ใช้ทดแทนกันได้บ้าง | – Control Chart เป็นเครื่องมือเพื่อทำความเข้าใจ Variation หรือพฤติกรรมของกระบวนการทำงาน/ระบบงาน
– ต้องเข้าใจต่อว่า Variation คืออะไร มีกี่ประเภท เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Variation คือ การแกว่ง มี 2 ประเภท คือ การแกว่งแบบปกติ (common cause variation) ซึ่งอาจไม่ต้องดำเนินการใดๆ และการแกว่งแบบมีสาเหตุพิเศษ (special cause variation) ซึ่งต้องหาสาเหตุให้เจอและจัดการกับสาเหตุนั้นให้ได้ หาก special caused variation ไม่ได้รับการจัดการจะทำให้มีโอกาสเกิดซ้ำขึ้นอีกได้) |
2) Know WHY | เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด
รู้เหตุผลว่าเครื่องมือนี้ มีเป้าหมายอะไร พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาอะไร |
Control Chart ใช้ในการติดตาม KPI ที่มี Variation หากไม่มี Variation ก็ไม่ต้องใช้ |
3) Know HOW | รู้ขั้นตอนในการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องว่ามีวิธีการใช้อย่างไร สามารถพลิกแพลง หรือใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น หรือเลือกเครื่องมืออื่นมาทดแทนได้อย่างไร | การนำ Control Chart ไปใช้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นข้อมูลรายเดือน
เสมอไป แต่ให้ซอยช่วงเวลาจนเห็น Variation ถ้าข้อมูลเป็น 0 ให้ขยายช่วงเวลา หรือใช้ตัววัดอื่นแทน |
ปัญหาที่ผ่านมา พบว่า เรามักจะเรียนรู้การทำตามขั้นตอนต่างๆ ของเครื่องมือเป็นสำคัญ และบอกว่าเราทำครบถ้วนแล้วตามเครื่องมือ แต่ตอบไม่ได้ว่าใช้เครื่องมือแล้วทำให้งานของเราดีขึ้นหรือเกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร และคนทำงานมักไม่กล้าใช้เครื่องมือคุณภาพ โดยเฉพาะเครื่องมือคุณภาพใหม่ๆ “อยากให้คิดว่าเครื่องมือคุณภาพเป็นเพื่อนเรา ทำความรู้จักแล้วก็ใช้ไป อย่าไปกลัวว่าทำแล้วผิด ใช้ไม่ถูกก็ใช้ไป เดี๋ยวก็รู้เองว่าทำไม่ถูก จะได้เรียนรู้ว่าที่ถูกต้องทำอย่างไร” ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้เครื่องมือคุณภาพให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแก่น เนื่องจากผลสำเร็จของการใช้เครื่องมือนั้น จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบ Transformation ซึ่งต้องอาศัยการเปลี่ยน Mindset & Culture ขององค์กร
ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี HA Quality Transformation Overview
ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กง.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน) โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
Photo by Andy Beales on Unsplash