Health Tech & Design Thinking

0
1902
Health Tech & Design Thinking
Health Tech & Design Thinking

Health Tech & Design Thinking

อย่ากลัวที่จะพัฒนา อย่ากลัวที่จะแก้ปัญหา

จากแนวคิดหลักของงานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 20 นี้ คือ “Change & Collaboration for Sustainability” ดังนั้นในการที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือ องค์ความรู้ และช่องทางใหม่ๆ ซึ่งในการบรรยายครั้งนี้ จะได้อธิบายให้เห็นมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรวมไปถึงการประยุกต์แนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในระบบการให้บริการสุขภาพ จาก 3 มุมมอง คน 3 คน มารวมตัวกัน ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น และ ธุรกิจ Start Up จะเห็นมุมมองอย่างไรบ้าง?

เมื่อพูดถึงการพัฒนาธุรกิจหรือการจัดตั้งองค์กรสมัยใหม่ เรามักจะได้ยินคำว่า Startup อยู่เป็นประจำ ซึ่ง Startup คือกลุ่มคนที่ก่อตั้งธุรกิจ และดำเนินงานด้วยเครื่องมือและแนวคิดใหม่ๆ โดยหนึ่งในเครื่องมือหรือแนวคิดที่ Startup นิยมนำมาใช้นั่น คือ Design Thinking ซึ่งในองค์กรระดับโลกนั้นได้มีการนำมาใช้กว่า 20 ปี

Design Thinking คือ การกระบวนการออกแบบวิธีแก้ปัญหาโดยยึดถือผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง มักถูกนำมาใช้ในการค้นหานวัตกรรมหรือนำมาใช้แก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน หรือปัญหาที่เกิดบ่อยๆ และถูกมองข้าม (Wicked Problem) และไม่รู้จะเริ่มต้นแก้ปัญหาอย่างไร การนำผู้ใช้มาเป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหามีข้อดี คือ จะไม่มีลำดับชั้นของตำแหน่งในองค์กรมาเป็นปัจจัยในการหาทางแก้ปัญหาเนื่องจากได้ยึดผู้ใช้หรือปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ โดยกระบวนการ Design Thinking นั้นมีขั้นตอนอยู่ทั้งหมด 5 ขั้นตอนคือ                                                1. Empathize คือ การไปทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง โดยเน้นไปที่การรับฟังปัญหาและเก็บข้อมูลจากการสังเกตและหาข้อมูลไม่ตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้นโดยทันที โดยผลที่จะได้จากขั้นตอนนี้จะทำให้พบกับปัญหาที่แท้จริง                                                                                                      2. Define คือ การระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในด้านของปัญหาที่มองเห็นและมองเห็น เช่น อุปสรรค ความเจ็บปวด ความต้องการจากภายใน และความจริงที่อยู่ในใจ                                          3.Ideate คือ การหาวิธีแก้ปัญหาด้วยการร่วมคิดอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างรับฟังและยอมรับทุกความคิดเห็น โดยอาจนำบุคคลที่อยู่ภายนอกบริบทของปัญหามาเข้าร่วมแสดงความเห็นได้บางครั้งเพื่อสร้างโอกาสในการมองเห็นแนวความคิดใหม่ๆ แล้วจึงนำมาจัดลำดับความสำคัญ                                                                          4. Prototype คือ การทำแบบทดลอง อาจอยู่ในรูปแบบของ Story Board เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ในขั้นตอนนี้จะใช้ในการนำเสนอผู้บริหารก่อนที่จะลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินการจริงที่อาจมีความยุ่งยากและสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยไม่จำเป็น หลักการของการทำ Prototype นั้นคือ ทำให้ง่าย นึกถึงผู้ใช้ ลองผิดลองถูก มีความรวดเร็วในการเปลี่ยนวิธีการหรือรูปแบบของ Prototype ตามความเหมาะสมซึ่งอาจแตกต่างจากการกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบเดิมที่จะต้องประชุมเพื่อสรุปให้ได้แนวทางที่ตกลงร่วมกันก่อนจึงจะนำมาใช้                                          5. Test คือ การทดลองกับผู้ใช้จริงเพื่อเรียนรู้ว่าวิธีการในการแก้ปัญหานั้นสามารถใช้ได้หรือไม่ ในขณะเดียวกันจะมีการสร้างความเข้าใจ

การนำกระบวนการ Design Thinking มาใช้ในระยะแรกนั้น มีข้อควรระวังประการหนึ่งนั่น คือ เรามักเริ่มต้นอย่างผิดพลาด (A False Start) ด้วยการพยายามที่จะเข้าไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยอาจยังไม่ได้ทำความเข้าใจกับปัญหานั้นมากเพียงพอ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับปัญหาหรือกลุ่มเป้าหมายโดยใช้วิธีการตั้งคำถามที่ทำให้ทราบความต้องการและเหตุผลของความต้องการนั้น เพื่อให้สามารถใช้กระบวนการ Design Thinking อย่างได้ผลดี

 ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Health Tech & Design Thinking

ถอดบทเรียน สุทธิพงศ์ คงชุม

ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานพัฒนาคุณภาพการบริการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

Photo by Brandless on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here