ระบบบริการสุขภาพยุคใหม่เชื่อมสังคมไทยเป็นหนึ่งเดียว

0
6653

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

วิทยากรได้กล่าวถึง ทฤษฎี ตัวอย่าง และความคิดเห็นส่วนตัว ต่อระบบบริการสุขภาพที่ควรจะเป็นของไทย

เริ่มจากทฤษฏีใน หนังสือ Medicine’s Dilemmas: Infinite Needs Versus Finite Resources โดย William Kissick กล่าวถึง Iron Triangle of Health Care ที่แสดงองค์ประกอบ และความเชื่อมโยงของระบบบริการสุขภาพ ที่หลายประเทศใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบสุขภาพของตน โดยมีส่วนสำคัญคือ  Access, Quality และ Cost

Access การเข้าถึงบริการสุขภาพ แต่ละประเทศต้องตีความ  เข้าถึงแพทย์ระดับไหน (ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องมองว่าเป็น partner กันไม่ใช่คู่แข่งกัน)

Quality คุณภาพระดับไหน ที่เป็นที่ยอมรับ เป็นเพียงความสะดวกสะบาย หรือคุณภาพจริง ๆ  องค์กรต่างๆ เช่น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล สภาวิชาชีพ สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการประกันคุณภาพของระบบบริการสุขภาพได้

Cost  ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มาจากกองทุนต่าง ๆ ของภาครัฐ หรือภาคเอกชน

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงรายละเอียดประเด็นการเข้าถึงบริการสุขภาพที่น่าสนใจ ได้แก่ ต้องเข้าใจความต้องการ และความจำเป็น (want and needs) ด้านสุขภาพของประชาชนซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา และปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เรื่องการเข้าถึงบริการสุขภาพได้ตลอดเวลา  หรือเข้าถึงได้แต่ไม่ตลอดเวลา หรือเข้าถึงได้เพียงบางพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับระดับความซับซ้อนหรือความจำเป็นของการรักษาอาจพิจารณาจากระดับความเชี่ยวชาญของแพทย์ และระดับความเจ็บป่วยของประชาชนให้สอดคล้องกัน ดังนั้นไม่จำเป็นที่ทุกโรงพยาบาลจะต้องมีแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ต้องมีวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยได้เจอแพทย์เฉพาะทางได้เมื่อจำเป็นโดยอาศัย technology และการจัดการ ที่เหมาะสม เช่น telemedicine, mobile medicine, doctor mobility เป็นต้น

ในเรื่อง Equity ระบบสุขภาพควรเข้าใจว่าความต้องการของประชากรแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน จึงต้องให้ตามความต้องการ (equity) ไม่ใช่ให้เพื่อให้ทุกคนได้เท่ากัน (equality) เช่น หากการบริหารการเงินของโรงพยาบาลเป็นแบบ equity จะสามารถเบิกจ่ายตามสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการอย่างแท้จริง (value based) ไม่ใช่การจ่ายรายหัวที่เท่ากันทุกราย (per-capita) ซึ่งหลักการนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเลือกจ่ายแบบ added-on/individual responsibility เพื่อเข้าถึงบริการนอกเหนือจากความต้องการ (beyond needs) หรือนอกเหนือจากบริการพื้นฐานที่จัดให้โดยรัฐ  อีกทั้งยังเป็นการร่วมระดมทุนเพื่อช่วยให้มีเงินในระบบสุขภาพมากขึ้น ซึ่งนำไปช่วยเหลือผู้ที่ต้องการ needs จริง ๆ

องค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพที่เชี่อมโยง และประสานกันด้วยความไว้วางใจ (Trust)

–  มี 3 องค์ประกอบหลักคือ ผู้มีอำนาจรับผิดชอบ/ระบบการให้บริการสุขภาพ, ผู้ให้บริการ, และประชาชน ผู้รับบริการสุขภาพ

– ผู้ที่เชี่อมโยงระหว่างผู้รับบริการ กับผู้มีอำนาจรับผิดชอบ คือ NGO ต่าง ๆ ที่เป็นสื่อกลางให้ประชาชนไปยังภาครัฐ

– ผู้ที่เชื่อมโยงผู้รับมีอำนาจผิดชอบ กับผู้ให้บริการ คือ การควบคุมมาตรฐาน (สรพ. หรือองค์กรประกันคุณภาพ ต่าง ๆ)

– ผู้ที่เชื่อมโยงผู้ให้บริการ กับประชาชน ผู้รับบริการ  คือ องค์กรวิชาชีพ

–  สามเหลี่ยมนี้ต้องมี trust เป็น center  โดยเชี่อมโยงข้อมูล ผ่านฐานข้อมูลกลาง และการจัดการข้อมูล

กล่าวโดยสรุป ระบบสุขภาพที่ดี คือ ระบบที่ประชาชน เข้าถึงบริการ ได้ด้วยคุณภาพที่ยอมรับ และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมโดยสิ่งที่เป็นฐานของความสำเร็จคือการไว้วางใจกัน (Trust) ของทุกภาคส่วนที่จะผลักดันระบบบริการของประเทศไทยให้มีความเชื่อมโยงและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย

Designed by Onlyyouqj

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here