Home Care & Self Care

0
4268

 

วันนี้เคล็ดลับงานคุณภาพ ชวนมาเรียนรู้ เรื่อง “Home Care & Self Care” กันครับ

โรคภัยไข้เจ็บในปัจจุบันได้เปลี่ยนลักษณะไปเรื่อยๆ โดยการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน (เช่น โรคติดเชื้อชนิดต่างๆ) ลดปริมาณลง แต่โรคเรื้อรังกลับเป็นปัญหาที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นกระบวนการดูแลรักษาที่ไม่สิ้นสุดลงอย่างรวดเร็ว แต่มีความจำเป็นที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลที่บ้าน (home care) หรือต้องดูแลเอาใจใส่ตนเอง (self care) มากกว่าการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน

จากการที่ประเทศไทยได้ประกาศพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิ ประกอบกับความก้าวหน้าอย่างมากของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การบูรณาการและเชื่อมโยงระบบบริการสุขภาพทั้งหมดอย่างไร้รอยต่อ (seamless care) โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-centered care) มีโอกาสที่จะก้าวหน้าไปอย่างมาก ดังนั้น home care และ self care จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้สอดรับการแนวคิด seamless care นั่นคือ home care และ self care ต้องเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสายธารแห่งคุณค่า (value chain) ที่ครอบคลุมทั้ง hospital services และ primary care

ตัวอย่างของ home care และ self care ที่เริ่มเกิดขึ้นแล้ว ได้แก่

  1. สถานพยาบาลมีการวางกระบวนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (ให้บริการโดยทีมบริการสุขภาพปฐมภูมิและ care giver) ตลอดจนมีการเสริมพลังให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้
  2. มีกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของ care giver ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
  3. มีการให้คำแนะนำผู้ป่วยและครอบครัว ในขั้นตอนการดูแลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ (เช่น การพยาบาล การให้ยา การทำกายภาพบำบัด) เพื่อประสิทธิผลที่สูงขึ้น และลดความเสี่ยงตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
  4. จัดทำระบบฐานข้อมูลและ application ที่เชื่อมโยงการดูแลที่บ้านเข้ากับการดูแลที่สถานพยาบาล เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาและติดตามประเมินผลการดูแลรักษา
  5. เสริมพลังให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น ผ่าน application ต่างๆใน smart phone, การใช้ wearable devices รวมถึงการใช้ tele-medicine

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here