วันเสาร์, เมษายน 26, 2025
หน้าแรก บล็อก
ความแตกต่างระหว่างการตรวจสอบเนื้อหาออนไลน์ และออฟไลน์: สิ่งที่นักสร้าง Content ต้องรู้ การตรวจสอบเนื้อหา: ออฟไลน์ vs ออนไลน์ ในยุคดิจิทัล การเผยแพร่เนื้อหา (Content) มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างสื่อออฟไลน์ และออนไลน์ สื่อออฟไลน์ (เช่น โทรทัศน์, หนังสือพิมพ์) ต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาก่อนเผยแพร่ (Pre-censor) อย่างละเอียด ตั้งแต่แนวคิดไปจนถึงชิ้นงานสำเร็จ หากผ่านการอนุมัติแล้วก็สามารถเผยแพร่ได้ สื่อออนไลน์ ส่วนใหญ่เผยแพร่เนื้อหาก่อน สามารถเผยแพร่เนื้อหาได้ทันที แต่มีโอกาสถูกตรวจสอบ และระงับ ลบ หรือถูกจำกัดการเข้าถึงภายหลัง หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของแพลตฟอร์ม ความท้าทายของการสร้าง Content ออนไลน์ นักสร้าง Content ออนไลน์ต้องรับมือกับปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อการเผยแพร่เนื้อหา ได้แก่ กฎเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ละแพลตฟอร์มมีนโยบายที่อัปเดตอยู่เสมอ และอาจมีรายละเอียดที่ซับซ้อน ความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด บางครั้งเนื้อหาที่คิดว่าเหมาะสมแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสถูกระงับ หรือ ลดการมองเห็น ความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์ของช่องทางสื่อ และเป้าหมายการสื่อสารเพื่อสังคม: กรณีศึกษาของสื่อจาก สสส. พบว่า กฎเกณฑ์และเงื่อนไขของแต่ละแพลตฟอร์มออนไลน์อาจไม่สอดคล้องกับเป้าหมายการสื่อสารเพื่อสังคมบางอย่าง เช่น การสื่อสารเรื่องความรุนแรงจากอุบัติเหตุรถชน หากไม่มีภาพรถชน อาจทำให้คนไม่รู้สึกกลัว ซึ่งขัดกับเป้าหมายของ สสส. ที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก และป้องกันอุบัติเหตุ กฎที่แตกต่างกันในแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น TikTok มีมาตรการคัดกรองเนื้อหาที่เข้มงวดกว่า...
การเสวนาในเรื่องนี้ได้กล่าวถึงแนวคิดในการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งสุขภาพร่างกาย และจิตใจ แนวคิด Psychological Safety หรือ "ความปลอดภัยทางจิตใจ" และ Lifestyle Medicine หรือ "เวชศาสตร์วิถีชีวิต" มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ความปลอดภัยทางจิตใจสามารถส่งเสริมการดูแลสุขภาพกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Psychological Safety คือ สภาพแวดล้อมที่บุคคลสามารถแสดงความคิดเห็น แสดงออกถึงตัวตน และทำผิดพลาดโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตำหนิหรือลงโทษ แนวคิดนี้มีความสำคัญในองค์กร และสถานที่ทำงาน รวมถึงในแวดวงสาธารณสุข ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการทำงานและการดูแลผู้ป่วย มีประโยชน์ของ คือ ลดความเครียด และภาวะหมดไฟ เมื่อบุคลากรสามารถพูดคุยถึงปัญหา และข้อกังวลได้โดยอิสระ ความเครียดจะลดลง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม เมื่อทุกคนรู้สึกปลอดภัย พวกเขาจะกล้าร่วมมือ และสนับสนุนกันมากขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และนวัตกรรม ทีมที่มี Psychological Safety จะกล้าลองแนวทางใหม่ๆ และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น   เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) เป็นแนวทางทางการแพทย์ยุคใหม่ที่ประยุกต์มาจากสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน (Public Health and Preventive Medicine) ซึ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคล เน้นสร้างแรงจูงใจ อาศัยความร่วมมือของผู้ถูกดูแล เพื่อส่งเสริมป้องกันโรคและจัดการโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ โดยมีเสาหลักสำคัญ 6 ประการ...
บทนำ การระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุขทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ในช่วงก่อนการระบาด การใช้ระบบการดูแลผู้ป่วยแบบทางไกลในประเทศไทยแทบไม่มีปรากฏ แต่สถานการณ์ที่ผู้ป่วยจำนวนมากต้องทำ home isolation ได้เร่งให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อติดตามดูแลผู้ป่วยจากระยะไกล กรณีศึกษาของ CHIVID web application และ PACMAN ตลอดจนแนวคิด Digital Therapeutics ของ FitSloth เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถึงศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลในการยกระดับการดูแลสุขภาพในประเทศไทย การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงโควิด-19 CHIVID Web Application โควิด-19 ทำให้เกิดความจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลผู้ป่วยจากระยะไกล นำไปสู่การพัฒนา CHIVID web application สำหรับติดตามผู้ป่วยที่ต้องทำ home isolation แอปพลิเคชันนี้ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถติดตามอาการผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัสโดยตรง ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ PACMAN และการใช้ AI วิเคราะห์ภาพถ่าย ความท้าทายอีกประการหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยทางไกลคือความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากการให้ผู้ป่วยรายงานข้อมูลของตัวเองอาจไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน PACMAN จึงเป็นระบบที่ใช้ AI วิเคราะห์ภาพถ่าย เพื่อแปลงเป็นข้อมูลตัวเลขที่แม่นยำ เช่น: ภาพผู้ป่วยที่ใช้เครื่อง Oxymeter ที่ปลายนิ้ว เปลี่ยนเป็นค่าตัวเลขแสดงค่า SpO2 และอัตราการเต้นของหัวใจ ภาพจากหน้าจอเครื่องวัดความดันโลหิต เปลี่ยนเป็นค่าความดันที่เป็นตัวเลข ภาพเทอร์โมมิเตอร์ เปลี่ยนเป็นตัวเลขแสดงอุณหภูมิ เทคโนโลยีนี้ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วย และลดภาระการบันทึกข้อมูลของบุคลากรทางการแพทย์ โอกาสในการพัฒนา Digital Health จากประสบการณ์ในช่วงโควิด-19 นักวิจัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของ Photoplethysmogram (PPG)...
Systematic Process Design for Medication Safety: Emergency Medication การจัดการยาใน CPR box, ambulance box และ การทำหน้าที่ Antidote Hub โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ นำเสนอการพัฒนาคุณภาพ เพื่อลดความเสี่ยงการใช้ยาฉุกเฉิน CPR box, ambulance box และ antidote hub โดยการออกแบบเชิงระบบ ได้แก่ CPR Box การกำหนดนโยบายของยาฉุกเฉินและยาเร่งด่วนในโรงพยาบาล พัฒนา emergency cart รวมกับ emergency box ลดความเสี่ยงของยา HAD เช่น เปลี่ยน 50%MgSO4 เป็น 10% แทน จัดทำแนวทางการใช้ยา antidote ในเด็กที่พร้อมใช้ เนื่องจากขนาดการใช้ antidote ในเด็ก เกิดขึ้นไม่บ่อย ไม่คุ้นเคยในการใช้ เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้ยา จึงเริ่มจากการทำ RAMA tape, RAMA Ped card ตารางยาฉุกเฉิน...
ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา พบว่าวิสัยทัศน์ขององค์กร ที่มุ่งเน้นการเป็นองค์กรที่ยั่งยืน มีมากขึ้น โดยหมายถึงองค์กรที่มุ่งเน้นผลการดำเนินงานที่ดี และมีความสมดุลย์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาวิจัยของวิทยากร เพื่อตอบคำถามว่า การพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ยั่งยืน (sustainable organization) จะต้องพัฒนาอย่างไร โดยการศึกษามุ่งเน้นไปที่ หาปัจจัยความสำเร็จสำคัญที่จะทำให้เกิดเป็นองค์กรที่ยั่งยืน พัฒนาการดำเนินการไปในทางเดียวกัน (alignment) ของปัจจัยความสำเร็จภายใต้แมททริกซ์ 9 ตัวแปร (9-variable matrix) การวางแนวทางให้สอดคล้องเพื่อสร้างองค์กรที่ยั่งยืน (alignment for achieving sustainable organization) เพื่อให้องค์กรกลายเป็นองค์กรที่ยั่งยืน องค์กรจะต้องพัฒนาความสามารถในการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ความสามารถสองด้านนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และคงไว้ซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว โดยพันธกิจขององค์กรที่ยั่งยืน ควรสื่อถึงความสมดุลระหว่างเป้าหมายทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความยั่งยืนภายในองค์กร กรอบแนวคิดแมททริกซ์ 9 ตัวแปร (9-variable matrix) คือการมองความสอดคล้องในการพัฒนาองค์กร 3 ระบบใน 3 ระดับ ได้แก่แนวราบ คือ เป้าหมาย การจัดการ และการออกแบบ และแนวดิ่ง คือ ระดับองค์การ ระดับหน่วยงาน ระดับบุคคล ตามแผนภาพด้านล่าง 9 ปัจจัยความสำเร็จสำคัญหลักตามกรอบแนวคิด...
การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในภาคสาธารณสุข ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในภาคสาธารณสุขเพื่อความยั่งยืนมุ่งเน้นในประเด็นสำคัญหลายด้าน: การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน: แม้ว่าการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% อาจเป็นไปไม่ได้ในทันที แต่ยังคงเป็นเป้าหมายระยะยาวที่สำคัญ สถานพยาบาลต้องสร้างสมดุลระหว่างความมั่นคงด้านพลังงานกับความยั่งยืน การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงพยาบาลเป็นตัวอย่างของแนวทางที่มีประสิทธิภาพ แม้จะมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ก็ตาม ความยั่งยืนที่เข้าถึงได้: โครงการด้านความยั่งยืนควรเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนเข้าถึงได้โดยไม่สร้างภาระทางการเงินเกินควร การดำเนินการควรให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในทุกชุมชน โดยคำนึงถึงบริบทและความต้องการที่แตกต่างกัน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข: การสร้างระบบสาธารณสุขที่มีความยืดหยุ่นเป็นสิ่งจำเป็นต่อความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการยกระดับคุณภาพการบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม: ภาคสาธารณสุขต้องคำนึงถึงไม่เพียงแค่การดูแลผู้ป่วย แต่รวมถึงสุขภาพของประชากรในวงกว้าง รวมทั้งปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาวะ แนวทางแบบองค์รวมนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างชุมชนที่ยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ความร่วมมือและการสร้างพันธมิตร: การขับเคลื่อนความยั่งยืนในภาคสาธารณสุขต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม การมีส่วนร่วมของชุมชนและการสร้างความตระหนักด้านความยั่งยืนมีความสำคัญต่อการผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและยั่งยืนในระยะยาว การวัดผลและความโปร่งใส: การดำเนินงานด้านความยั่งยืนต้องให้ความสำคัญกับการเข้าถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้ การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส และการรับรองจากหน่วยงานอิสระ โดยเฉพาะในด้านตัวชี้วัดและผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บทสรุป การบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ทั้งในด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และแนวทางการบริหารจัดการ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างระบบสาธารณสุขที่มีความยืดหยุ่น ตอบสนองต่อความท้าทายในปัจจุบัน และยั่งยืนสำหรับอนาคต การลงทุนในความยั่งยืนไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนในระยะยาว และยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพสำหรับทุกคน สรุปโดย ภก.ดร.ทรงศักดิ์ ทองสนิท
ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น วงการแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งสาขาที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างมีนัยสำคัญ AI ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานเท่านั้น แต่ยังเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยยกระดับการทำงาน ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ทำให้บุคลากรสามารถใช้เวลาไปกับสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยจริงๆ และสามารถไปพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น “แนวคิด Lean (ลีน) คือกระบวนการปรับปรุงระบบ  โดยการลดความสูญเปล่า (Waste)” วิวัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ AI AI ถือเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญของโลก (Revolution) เมื่อเปรียบเทียบความสำคัญกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เช่น การค้นพบไฟ, การพัฒนาการพิมพ์ (Printing press) การเข้ามาของคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการพัฒนาวัคซีนในทางการแพทย์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวขึ้น ในปัจจุบันวิวัฒนาการของ Generative AI โดยเฉพาะ Generative Pre-trained Transformer (GPT) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน และการเรียนรู้ของมนุษย์อย่างมาก รวมถึงการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของ Graphics Processing Unit (GPU) ที่ทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้เร็วกว่าเดิมเป็นอย่างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ และลำดับชั้นของแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ความสัมพันธ์ของแนวคิดเกี่ยวกับ AI มีคำอธิบาย ดังนี้ Artificial Intelligence (AI) คือ สาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลอัจฉริยะ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการแสดงออกถึงความฉลาดคล้ายมนุษย์ ...
"Building Quality and Safety Culture for the Future Sustainability"      ตลอดระยะเวลาการจัดงาน HA National Forum ครั้งที่ 25 ที่ผ่านมา เราได้เห็นพลังแห่งการขับเคลื่อนคุณภาพในระบบสุขภาพไทยที่เข้มแข็ง และน่าประทับใจ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้บริหาร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทั่วประเทศได้มารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ภายใต้แนวคิด "สร้างวัฒนธรรมคุณภาพ และความปลอดภัย เพื่อความยั่งยืนในอนาคต" บทเรียน และความท้าทายของระบบสุขภาพไทย      ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ระบบสุขภาพไทยได้เผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งการระบาดของโรคอุบัติใหม่ การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัย ความซับซ้อนของโรคเรื้อรัง และข้อจำกัดด้านทรัพยากร สิ่งเหล่านี้ทำให้เรา "จำเป็น" ต้องปรับตัว และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ และความปลอดภัยจึงไม่ใช่เพียงทางเลือก แต่เป็น "ความจำเป็น" สำหรับการสร้างระบบสุขภาพที่ยั่งยืนในอนาคต      การประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอแนวคิด และเครื่องมือที่หลากหลายในการยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม การเสริมสร้างความปลอดภัยในการรักษา และการดูแลสุขภาพบุคลากรทางการแพทย์ ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนระบบสุขภาพไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพที่ยั่งยืน      สิ่งที่เราได้เรียนรู้ร่วมกันคือ วัฒนธรรมคุณภาพ และความปลอดภัยไม่ใช่เพียงนโยบายหรือแนวปฏิบัติ แต่เป็น "วิถีชีวิต"...
Systematic Process Design for Medication Safety: Emergency Medication การจัดการยาใน CPR box, ambulance box และ การทำหน้าที่ Antidote Hub โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ นำเสนอการพัฒนาคุณภาพ เพื่อลดความเสี่ยงการใช้ยาฉุกเฉิน CPR box, ambulance box และ antidote hub โดยการออกแบบเชิงระบบ ได้แก่ CPR Box การกำหนดนโยบายของยาฉุกเฉินและยาเร่งด่วนในโรงพยาบาล พัฒนา emergency cart รวมกับ emergency box ลดความเสี่ยงของยา HAD เช่น เปลี่ยน 50%MgSO4 เป็น 10% แทน จัดทำแนวทางการใช้ยา antidote ในเด็กที่พร้อมใช้ เนื่องจากขนาดการใช้ antidote ในเด็ก เกิดขึ้นไม่บ่อย ไม่คุ้นเคยในการใช้ เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้ยา จึงเริ่มจากการทำ RAMA tape, RAMA Ped card ตารางยาฉุกเฉิน...
การจัดการด้านยาที่มีประสิทธิภาพ เป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในโรงพยาบาล เนื่องจากส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่ง “Closed loop medication management” เป็นการบูรณาการทุกขั้นตอนของการจัดการด้านยาตั้งแต่การสั่งยาจนถึงการบริหารยา โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ปลอดภัย ด้วยการทำให้กระบวนการเป็นอัตโนมัติ ต่อเนื่อง และมีตรวจสอบข้อมูลในแต่ละขั้นตอน การวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด ครอบคลุม โดยนำข้อมูลความคลาดเคลื่อนที่พบบ่อยในแต่ละขั้นตอน ร่วมกับวิเคราะห์โอกาสการเกิดความคลาดเคลื่อน เช่น  ชนิดยา ความแรงของยา ขนาดยา ความถี่ในการใช้ยา วิถีการใช้ยา ฯลฯ และหลักการออกแบบให้ปลอดภัยขอให้เน้นขั้นตอนแรกของการใช้ยาซึ่งหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น โอกาสเกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนต่อไปก็จะมีมากขึ้น กระบวนการแรกของการใช้ยาเริ่มจาก “การสั่งยา” ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่มีการสั่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (Computerised Physician Ordering Entry system: CPOE) หากมีการวิเคราะห์ขั้นตอนนี้โดยละเอียด สามารถนำไปออกแบบให้มีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการสั่งใช้ยา (Clinical Decision Support System: CDSS) ซึ่งช่วยให้การสั่งยาปลอดภัยเพิ่มขึ้น กระบวนการที่สำคัญอีกขั้นตอนได้แก่ “การทบทวนคำสั่งการใช้ยา” เพื่อให้มั่นใจว่าคำสั่งการใช้ยานั้นถูกต้อง ปลอดภัย ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการจัดยาโดยเครื่องจัดยาอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ และนำไปบริหารให้ผู้ป่วยโดยต้องออกแบบให้มั่นใจว่าถูกต้องตามหลักบริหารยา เช่นกัน โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการนำระบบบริหารยามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากนำปัญหาความล่าช้า และความถูกต้อง ของการบริหารยา นำไปสู่การกำหนดนโยบาย และร่วมกันออกแบบการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ ระบบจ่ายยาอัตโนมัติ มาจัดการเพิ่มความปลอดภัย และลดระยะเวลาในการบริหารยา...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS