Take Home Message : 22nd HA National Forum
สารจากผู้อำนวยการ สรพ. ทั้ง สามยุค (วางรากฐาน สานต่อ ก่อการไกล) ในการสร้างพลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และการสาธารณสุข ในการทำคุณภาพและงานประจำทั้งในสถานการณ์ปกติ และ สถานการณ์ภัยพิบัติการระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID-19 และ ภัยทางการเมือง ภายใต้ทรัพยากรอย่างจำกัด
นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ได้ quote คำพูดของอาจารย์โกมาตร HA สอนให้เราทำงานอย่างมีหลัก ส่วน SHA สอนให้เรารักงานที่เราทำ สองอย่างนี้เป็นของคู่กัน เพราะฉะนั้นถ้าเราอยู่ในภาวะที่มันค่อนข้างจะมีปัญหารุมเร้าต่างๆ เข้ามาถ้าเราสามารถที่จะฝึกใจหรือทำใจให้รักในงานที่เราทำได้ และถ้าเรารักในงานที่เราทำแล้ว เชื่อว่ามันจะผ่านไปได้อย่างราบรื่น และ จะไม่ suffer หรือถ้า suffer ก็น้อย ถ้าตัวเราเข้าไปหาทุกข์ไปรับความทุกข์เกิดขึ้น แต่ เราจะใช้ปัญญาของเราค่อยๆ คลี่คลายความยากลำบากที่เข้ามาเผชิญต่อหน้าเราให้มันลุล่วงไปได้ โดยที่ไม่ยากเกินไป และเราก็จะเหนี่ยวนำให้เพื่อนๆ ให้มีพลังผ่านความยากลำบากไปได้ ซึ่งสอดคล้องกับ อ.ประเวศ ……ได้พูดถึงเรื่องของการใช้พลังงานภายใน หรือ inner power ในการจัดการเรื่องต่างๆ...
HA National Forum 22
MOU ระหว่าง Planetree International และ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
Quality Learning -
MOU ระหว่าง Planetree International และ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล และ Dr. Susan B. Frampton, President, Planetree international, USA ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือทางด้านวิชาการ ในการส่งเสริมและกระตุ้นให้สถานพยาบาลนำแนวคิด “People-centered care” และแนวคิดจิตวิญญาณในการทำงาน เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา เน้นคนทำงาน และเน้นสิ่งแวดล้อมในการเยียวยา ซึ่งสอดรับกับมาตรฐานสากล ในการพัฒนาและรับรองสถานพยาบาล รวมทั้งสนับสนุนองค์ความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางอย่างเป็นระบบในระดับสากล
HA National Forum 22
มองระบบสุขภาพ ว่าด้วย การถ่ายโอน รพสต. สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Quality Learning -
มองระบบสุขภาพ ว่าด้วย การถ่ายโอน รพสต. สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การถ่ายโอน รพ.สต. สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเส้นทางของการพัฒนาที่พึงมี เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ และมีสุขภาวะที่ดีขึ้น โดยในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 รพ.สต. ประมาณ 3,000 แห่งจะต้องถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้ เป็นความท้าทายในการรวมพลังและเชื่อมโยงด้วยแนวคิด Co-Creation นําไปสู่ New Design for New Partnership ภายใต้เงื่อนไขด้านการจัดการวัฒนธรรมและความห่วงกังวลของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติงานทั้งใน รพ.สต. และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ความกังวลในการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร สายบังคับบัญชา การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงาน หรือความห่วงกังวลในด้านวิชาการ จนไปถึงความห่วงกังวลในระบบงานเชื่อมโยงต่างๆ อาทิเช่น ระบบเครือข่ายการรักษาพยาบาล กระบวนการในการจัดการภาวะวิกฤติ ความเชื่อมโยงด้านวิชาการ และการปรับบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข
ด้วยบริบทที่หลากหลายของแต่ละพื้นที่ การนำแนวคิด Chaordic management plus ที่เริ่มจากการสร้างเป้าหมายร่วมกันในแต่ละภาคส่วน ทั้งความท้าทาย หรือสิ่งที่ต้องจัดการ ต้องก้าวข้าม โดยที่ความคาดหวังของภาคส่วนต่างๆ ไม่ตกหล่นหายไปในการบรรลุเป้าหมายร่วม การใช้หลักการร่วม การมีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการ ดำเนินการ ติดตาม/สะท้อน เรียนรู้ เพื่อนำกลับมาออกแบบระบบใหม่ร่วมกัน (DALI) ประกอบกับการนำแนวคิด...
Developmental Evaluation (DE), REAM, and Clinical Audit
“Developmental Evaluation : DE เป็นเครื่องมือที่เอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อค้นหาหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงของผู้เกี่ยวข้อง เป็นการประเมินเพื่อใช้ประโยชน์โดยนำผลไปปรับปรุงผลงานของตัวเอง จึงเป็นมุมที่เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวาง”
Developmental Evaluation คือ เครื่องมือที่ใช้ทำความเข้าใจ รวมถึงใช้ในการตีความในสถานการณ์ที่ซับซ้อน (complex situation) และ DE ที่ดี ต้องให้ real-time feedback เพื่อนำไปปรับปรุงได้ทันเวลา อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสร้าง double-loop learning (การเรียนรู้เพื่อปรับปรุงนโยบายองค์กร), triple loop learning (การเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางองค์กร) ให้แก่กลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันในหน้าที่รับผิดชอบ มุมมอง ความเชื่อ ประสบการณ์ แต่มีเป้าหมายเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
Developmental Evaluation ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
เป้าหมายร่วมที่ทรงพลัง (common purpose) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในเครื่องมือนี้ ในการเริ่มต้นเกิดจากการประชุมปรึกษาร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายขององค์กรที่สร้างคุณค่าที่แท้จริงร่วมกัน ไม่ใช่เพียงแต่การสร้างผลงานให้สำเร็จ
ข้อมูลหรือผลประเมินที่ตรงเป้าหมาย และแม่นยำ โดยกำหนดข้อมูลที่ต้องการ รวมถึงขั้นตอน และวิธีการเก็บข้อมูล จนถึงการกำหนดการวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders)...
3P Safety for Resilience in Healthcare
Crisis และ Resilience
Crisis ในภาษาจีนมีได้ 2 ความหมาย “a time of danger” และ “a time of opportunity” เมื่อมีภาวะวิกฤตเกิดขึ้นจึงเป็นโอกาสในการที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จและความล้มเหลวได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “ความสำเร็จเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มเหลว” และในทางกลับกัน “ความล้มเหลวเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ” ความสำเร็จจึงไม่ใช่ปลายทาง สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อหลังประสบความสำเร็จคือ “productive success” เพื่อเพิ่มโอกาสในการป้องกันความล้มเหลว
“in every crisis lies the seed of opportunity”
Resilience หมายถึง ความสามารถในการฟื้นตัวอย่าวรวดเร็วจากปัญหา คำถามที่ตามมาหลังจากการฟื้นตัว คือ เราควรฟื้นตัวแล้วกลับมาเป็นแบบเดิม หรือดีกว่าเดิม?
Resilience in Healthcare
เมื่อเกิดภาวะวิกฤติในระบบสุขภาพ คือ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลักดันให้องค์กรสุขภาพเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง 3 ประการที่สำคัญ คือ
1. การเปลี่ยนแปลงที่ทำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น
Resilience in Healthcare ส่งผลดีต่อองค์กรสุขภาพใน 6...
HA National Forum 22
ทำอย่างไรจะสามารถปรับตัวได้อย่างสมดุล ในการเปลี่ยนผ่าน COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น?
Quality Learning -
ทำอย่างไรจะสามารถปรับตัวได้อย่างสมดุล ในการเปลี่ยนผ่าน COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น?
หลักคิดการทำงานในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
“U cannot draw the timeline, the virus does.” (Anthony Fauci) แล้วเราจะทำงานกันอย่างไร ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน (how to cope with this uncertainty?) หลักคิดสำคัญมีสองข้อ (1) อะไรที่ไม่แน่นอนอย่าไปฝืนมัน (try to accept uncertainty), และ (2) อะไรที่พอจะควบคุมกำกับได้เป็นจุดที่ต้องมุ่งเน้น (focus on what we can control)
ปรับรูปแบบระบบการรักษาจาก Home Isolation เป็นการดูแลแบบผู้ป่วยนอก (OPSI)
ตลอดสามปีของการรับมือกับ COVID-19 มีการปรับเปลี่ยนระบบการดูแลที่เหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละระยะ ปีแรกมุ่งเน้นการรักษาในโรงพยาบาลเป็นหลัก, ปีที่สองมุ่งเน้นระบบการดูแลที่บ้านแบบ Home Isolation} ปีที่สามในระยะการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น สถานการณ์ปัจจุบันที่ความรุนแรงของโรคลดลงและประชาชนได้รับวัคซีนครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถปรับมาเป็นการดูแลแบบผู้ป่วยนอก (OP with Self Isolation: OPSI) ซึ่งยังคงใช้หลักการสำคัญสองข้อ คือ (1) ทำอย่างไรให้คนไข้ไม่แย่ลงและคุณภาพการรักษายังดีอยู่...
รากฐาน สานต่อ ก่อการไกล
"รากฐาน": นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
“บ่มเพาะมุ่งมั่นก่อราก บั่นบากก่อฐานการณ์ใหญ่
ทุ่มเทมุ่งมั่นตั้งใจ ต้นไม้คุณภาพประเทศไทยกำเนิดมา”
ก่อนจะมาเป็น HA
3 กระแสที่นำมาสู่กระบวนการ HA ในปี พ.ศ. 2540 ได้แก่ (1) การมี พรบ.ประกันสังคมทำให้เกิดการจัดทำมาตรฐานสถานพยาบาลประกันสังคม เป็นแรงจูงใจในการสร้างมาตรฐาน HA ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น (2) การศึกษาต้นแบบการพัฒนาการใช้ Quality Management ในโรงพยาบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา และนำแนวคิด TQM มานำร่องทดลองใช้ในโรงพยาบาลประเทศไทย (3) ความสนใจของ สวรส. ในการสร้างกลไกการทำให้มีระบบคุณภาพเกิดขึ้น และได้เรียนรู้กระบวนการเยี่ยมสำรวจที่น่าประทับใจจาก Mr.Anthony Wagemakers ซึ่งเป็นกระบวนการเชิงบวก ที่ไม่คุกคาม ให้เกียรติ และสามารถกระตุ้นให้โรงพยาบาลอยากพัฒนามากขึ้น
กอบร่างสร้างมาตรฐาน HA
มาตรฐาน HA ฉบับแรกได้มีการเพิ่มเติมแนวคิดการพัฒนา (Quality Improvement) เป็นเอกสารที่มีพลัง สะท้อนถึงคุณค่าและความหมาย ทั้งต่อผู้ป่วย บุคลากร และโรงพยาบาล โดยการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้อาศัยการทดลองปฏิบัติ เรียนรู้จากประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนกัน จากการที่มาตรฐาน HA ไม่มีวิธีให้ปฏิบัติ มีแต่กรอบแนวคิดกว้างๆ ทำให้โรงพยาบาลมีอิสระในการทำงาน ลองผิดลองถูกเอง และเกิดเป็นนวัตกรรม
“Accreditation...
Resilience in Healthcare & Scaling up with Quality
เป็นเวลากว่าเกือบ 2 ปีแล้ว ที่ทีมงาน Quality Care ได้ห่างเหินกันไป ไม่ได้มารวมตัวกันเพื่อทำงานที่เรารัก นั่นคือการร่วมเรียนรู้ บันทึก และถ่ายทอด ความรู้ บทเรียนอันทรงคุณค่า ที่เราได้รับจาก HA National Forum ซึ่งทุกท่านคงทราบดีว่าจากอุปสรรค และปัญหาการระบาดของ covid-19 ทำให้เกิดผลกระทบต่อทุกภาคส่วน หากเรามองปัญหาเป็นดั่งก้อนหินที่ทำให้เราสะดุดล้ม การกลับมาครั้งนี้ของพวกเราก็เปรียบดังการลุกขึ้น และเดินต่ออย่างมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้จากปัญหา และพร้อมจะก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
Quality Care Team เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนรักงานคุณภาพ ที่ตั้งใจสรรหาสาระ หัวข้อที่เฉียบคม บทเรียนที่น่าประทับใจจากเวทีอภิปราย ห้องต่างๆ นำมาเล่าสู่กันฟังต่อ ก่อให้เกิดการจุดประกาย และเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติจริง อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเตือนประเด็นสำคัญเพื่อให้กลับมา ทบทวนได้ตลอดเวลา
หลายปีที่ผ่านมาพวกเราได้เป็นส่วนหนึ่งของ HA National Forum มาอย่างเหนียวแน่น และมีการปรับปรุงรูปแบบให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง จากการตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม สู่การ create contents บน website แม้นว่า COVID-19 จะทำให้เราต้องขาดการติดต่อกันไป แต่เรามั่นใจว่าการกลับมาครั้งนี้...
ดาวน์โหลด ... บทเรียนการพัฒนาจาก DSC-HIV สู่การรับรอง HNA
ดาวน์โหลด ... บทเรียนการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การรับรอง DHSA