วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 1, 2025
ดาวน์โหลด ... บทเรียนการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การรับรอง PDSC
HA National Forum 22: Towards Scaling Up and Resillence in Healthcare             “Resilience” เป็นคำที่หลายวงการให้ความสนใจ Resilience มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แปลว่า “กระดอนกลับ” Oxford Dictionary ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “The Capacity to Recover Quickly from Difficulties” เป็นความสามารถในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากปัญหา แนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในระดับบุคคลและเชิงระบบ            ในแวดวงของงานทรัพยากรบุคคล มีการนำคำว่า “Resilience” มาใช้ในการพัฒนาด้านในและเสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ภายหลังการเผชิญกับอุปสรรคความทุกข์ยาก หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เป็นเสมือนความยืดหยุ่นทางจิตใจเพื่อก่อให้เกิดการตอบสนองเชิงบวกและพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆในทางวิศวกรรม มีการนำคำว่า “Resilience” มาใช้เชิงระบบโดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการคือ “Rebound” เป็นการฟื้นตัวจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดฝันให้กลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมได้รวดเร็วโดยอาศัยขีดความสามารถและทรัพยากรที่มีอยู่ “Robustness” เป็นความสามารถที่จะดูดซับความแปรปรวน ความยุ่งเหยิง สามารถจัดการกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายได้ “Graceful Extensibility” เป็นความยืดหยุ่น...
Then , now ,and the future : หุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติแบบครบวงจร
เทคโนโลยีใหม่ๆ จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะ  ทำให้คนทำงานรู้สึกมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจและมั่นใจ ในตนเองมากขึ้น" ภญ.นริสา ตัณฑัยย์ การบริการจัดแจกยาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของแต่ละโรงพยาบาล มีแนวโน้มที่จะต้องให้บริการสูงขึ้นทุกๆ ปี ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานมีจำนวนจำกัด ส่งผลอัตราความคลาดเคลื่อนทางยาและความล่าช้าในการให้บริการที่มีเปอร์เซ็นต์สูงในแต่ละปี เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ของโรงพยาบาล 2 แห่ง ในการนำเครื่องจัดยาอัตโนมัติมาใช้ในการให้บริการยา ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราชใช้เครื่องจัดยาอัตโนมัติในการบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ใช้เครื่องจัดยาอัตโนมัติในการบริการผู้ป่วยใน เพื่อเพิ่มความถูกต้อง ความปลอดภัย และความรวดเร็วในการให้บริการโดยมีการศึกษา วิเคราะห์ระบบการทำงานที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล มีการออกแบบระบบการจัดยาอัตโนมัติแบบครบวงจรอย่างรัดกุม ลดความผิดพลาด ลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาต้นทุนเพื่อดูความคุ้มค่าและงบประมาณที่เปลี่ยนแปลง ของการให้บริการโดยใช้เครื่องจัดยาอัตโนมัติเปรียบเทียบกับการทำงานในปัจจุบัน ภญ.นริสา ตัณฑัยย์ โรงพยาบาลศิริราช  เนื่องจากภาระงานที่ห้องยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราชต้องจัดจ่ายยาจากใบสั่งยาปีละหนึ่งล้านกว่าใบ  ถือเป็นภาระงานที่หนักต่อเจ้าหน้าที่ จึงใช้แนวคิดแบบลีน (Lean concept - การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากความสูญเปล่า) ซึ่งทำให้สถิติความคลาดเคลื่อนทางยาลดลง ลดระยะเวลารอคอยลงได้บ้าง แต่พบว่าในกระบวนการจัดยาในหน่วยงานเภสัชกรรม (Pre - dispensing error) ยังมีความคลาดเคลื่อนมาก และเพื่อลด Pre - dispensing error จึงเริ่มนำนวัตกรรมหุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติมาใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2562 ที่อาคารนวมินทร์ฯ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อรองรับผู้ป่วยอายุรศาสตร์ 2...
Intelligent Inventory Management
โรงพยาบาลขนาดใหญ่มักมีปัญหาเรื่องของการจัดการสินค้าภายในโรงพยาบาล ตั้งแต่กระบวนการสั่งซื้อ การจัดเก็บ การขนส่ง ในปัจจุบันได้มีการนำแนวคิด Logistics เข้ามาช่วยในเรื่องของการบริหารจัดการในการขนส่งทั้งคน เงิน ของและข้อมูล รวมถึงการนำ AI (Artificial Intelligence) เข้ามาช่วยในการจัดการทำให้เกิดการ Lean ระบบภายในองค์กรได้มากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการ Lead time ให้ดีขึ้นด้วย AI เพื่อลด reorder point ปัญหาที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ต้องเผชิญกับการจัดการ Stock ต่างๆ เช่น มี Stock หลายจุด มี reorder point เพิ่มขึ้น หลักการของ Reorder point อธิบายได้จากสมการดังนี้ Lead time แบ่งออกเป็น 2 ช่วง จาก Supplier ถ้าจัดการได้ดีจะทำให้มีของจาก Supplier มาส่งได้ทันเวลา มีของใน stock ภายใน รพ. หลังได้ของจาก Supplier แล้ว ต้องมีการส่งต่อภายในอย่างไรต้องกลับมาวิเคราะห์วิธีการขนส่งด้วยหลักการทาง Logistics ที่เหมาะสมกับบริบทองค์กร คือ สำรวจ...
Hospital Disaster management
BCM ไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ครบถ้วนทั้งหมด แต่เป็นกลยุทธ์ที่มีเพื่อความอยู่รอดขององค์กรจากภัยคุกคาม ในอดีตองค์กรสาธารณสุขส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Hospital Disaster management เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ จึงค่อยหาวิธีในการแก้ไขมากกว่าที่จะป้องกัน จนกระทั่งหลายองค์กรดำเนินธุรกิจติดขัด ไปต่อไม่ได้ จนถึงกับล้มเหลว เพราะไม่เคยเตรียมรับมือกับสิ่งไม่คาดคิด  ความสำคัญของ Hospital Disaster management Hospital Disaster management เป็นแผนปฏิบัติการที่ถูกจัดทำล่วงหน้า เพื่อให้องค์กรนั้นเป็น “องค์กร Die Hard หรือองค์กรที่ตายยาก.” ไม่ว่าจะเจอกับสถานการณ์ภัยพิบัติใดๆ ก็ตาม องค์กรยังดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง  Hospital Disaster management ถ้าเราจัดการ Disaster ได้ดี แผน IMP จะเข้าใกล้ จนต่อเนื่องกับแผน BCP (Incident Management Plan & Business Continuity Plan) แผนฉุกเฉิน มีด้วยกัน 2 แบบ คือ Incident management plan (IMP) เป็นแผนที่บ่งชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ เราต้องจัดการเมื่อไร และจัดการอย่างไร Business continuity management...
Responsive ENV & Facility Management 2021
 การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาจัดการสิ่งแวดล้อม จะช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับผู้รับบริการ สภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของโลกยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวดเร็ว และยากจะคาดการณ์ ท่ามกลางโลกแห่งความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ (VUCA) ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (climate change) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของ COVID-19 วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง (New Normal) การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.สิ่งแวดล้อม กฎหมายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่ กฎกระทรวงและพรบ.ต่างๆ โรงพยาบาลควรรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ทบทวนตนเอง และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกได้เพียงพออย่างเหมาะสม “สิ่งที่โรงพยาบาลกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน” จากการเยี่ยมสำรวจที่ผ่านมา ได้แก่ 1) อาคาร สถานที่โดยรวมเริ่มมีการชำรุด ทรุดโทรม ขาดการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ความแออัดของพื้นที่การให้บริการ 2) การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับประเภทผู้รับบริการ รวมทั้งความเพียงพอความพร้อมใช้ 3) การเพิ่มการให้บริการทำให้ระบบการระบายอากาศภายในโรงพยาบาลมีปัญหา 4) ระบบสนับสนุนบริการ/ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่เพียงพอ ระบบการบำรุงรักษาไม่ดีพอ   5) การเพิ่มการให้บริการ ทำให้การจัดการขยะและการจัดการน้ำเสียขาดประสิทธิภาพ 6) มีข้อจำกัดด้านบุคลากรที่จะมาบริหารจัดการและดูแลบำรุงรักษาระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น จึงควรนำ “แนวคิดการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล” มาใช้เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ ได้แก่ 1) Visual...
Quality Tools Buffet
“ถ้าผู้นำแต่ละระดับเข้าไป "ตามรอย" ร่วมเรียนรู้และร่วมคิดแก้ปัญหากับหน้างาน สุดท้ายจะเกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร” รศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา หลากหลายเครื่องมือคุณภาพตามคุณภาพตามบันไดสู่ HA และเครื่องมือคุณภาพตามวงล้อการพัฒนา 3C-DALI (PDSA) เราจะเลือกเครื่องมือใดมาใช้ในการพัฒนาทั้งองค์กร อาจเลือกจากจุดเอ๊ะ (Who? When? What? Why? How?) หรือจำแนกตามบทบาทที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่การพัฒนา 4 วง (องค์กร หน่วยงาน ระบบงาน และกลุ่มผู้ป่วย) ก่อนที่เราจะเริ่มพัฒนาจำเป็นต้องเรียนรู้จากมาตรฐาน เครื่องมือที่สำคัญคือ gap analysis เพื่อรู้โจทย์ก่อนนำไปสู่การพัฒนาอาจใช้ Customer listening  และใช้ Diver Diagram ในการกำหนดเป้าหมายและออกแบบกระบวนการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ติดตามกระบวนการ ตามรอย ติดตามผลลัพธ์ เรียนรู้โดยอาศัยการทบทวน Rapid assessment การวิเคราะห์ RCA และการวิเคราะห์ตัวชี้วัด เป็นต้น 3C-PDSA ยังคงเป็นแผนที่การนำเครื่องมือคุณภาพต่างๆ (Quality tools) ไปใช้ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ 1) Tools for analyzing context 2)...
การเรียนรู้จากอุบัติการณ์
Smart RCA จะทำให้เกิด Trust ในระบบ Health care” นพ. อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล การเรียนรู้จากอุบัติการณ์ ในระบบการจัดการความเสี่ยง สิ่งสำคัญคือการบ่งชี้ (Identified) ความเสี่ยง การทบทวนเวชระเบียนเพื่อพัฒนาความคิด ใช้ Incident report (IR) ในการเฝ้าสังเกต (monitor) หาจุดเปลี่ยนเพื่อวิเคราะห์ให้เห็นรายละเอียดของปัญหา เรียนรู้จากอุบัติการณ์และทีมสหวิชาชีพร่วมกันปรับแก้ไขแนวทางต่างๆให้เหมาะสมเป็นปัจจุบัน สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้และวัฒนธรรมความปลอดภัย  ทำให้องค์กรเป็นที่น่าไว้วางใจ ประโยชน์ของการทบทวนอุบัติการณ์เพื่อการเรียนรู้  อัตราการเกิดอุบัติการณ์รุนแรงลดลง อัตราการค้นหาความเสี่ยงเชิงรุกเพิ่มขึ้น ผลสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยสูงขึ้น อัตราการเกิดการบาดเจ็บ เจ็บป่วยของบุคลากรลดลง ตัวอย่างกรณีศึกษา ผู้ป่วยชาย อายุ 85 ปี ไม่มีโรคประจำตัว มาถึงโรงพยาบาลเวลา19.30 น. ด้วยอาการอักเสบขาซ้าย บวมแดงตั้งแต่ใต้เข่าถึงหัวแม่เท้า เป็นมา 1 วัน สัญญาณชีพแรกรับ อุณหภูมิกาย 39.4 องศาเซลเซียส ชีพจร 150 ครั้ง/นาที หายใจ 18 ครั้ง/นาที  ความดันโลหิต 100/60 มิลลิเมตรปรอท ปัสสาวะออกน้อย ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าฮีมาโตคริต 29 เปอร์เซ็นต์ (ค่าปกติ 36-45...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS