HA National Forum 25
Building Hospital Sustainability through ESG Framework: Strategies for Long-Term Impact
Quality Learning -0
Adoption of ESG in Healthcare
ESG ในภาคการดูแลสุขภาพ: แนวทางปฏิบัติสู่ความยั่งยืนสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ESG สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
ESG หรือ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance) เป็นกรอบการประเมินที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน ESG แตกต่างจาก CSR (Corporate Social Responsibility) โดย ESG มุ่งเน้นการวัดผลเชิงปริมาณที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการเงิน ในขณะที่ CSR เน้นที่ผลกระทบในวงกว้าง และความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับโรงพยาบาล และองค์กรสุขภาพ ESG มีความสำคัญในการจัดการความเสี่ยง เช่น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพของผู้ป่วย และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ นอกจากนี้ การดำเนินการตามหลัก ESG ยังเปิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการสีเขียว และการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ที่ยั่งยืน
องค์ประกอบของ ESG ที่สำคัญต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์
มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental)
การลดคาร์บอนในการให้บริการทางการแพทย์: การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในห้องผ่าตัด หอผู้ป่วย และพื้นที่ให้บริการ
การจัดการขยะทางการแพทย์: แนวทางการคัดแยกและกำจัดขยะติดเชื้อและขยะอันตราย
การลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง: การพิจารณาทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับอุปกรณ์การแพทย์แบบใช้ครั้งเดียว
มิติสังคม (Social)
การเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม:...
HA National Forum 25
Digital transformation : Use Case การเป็นโรงพยาบาลดิจิทัลทำอย่างไร
Quality Learning -
Digital Transformations คงเป็นคำพูดที่หลายๆ สถานพยาบาลได้ยินมาไม่มากก็น้อย สถานพยาบาลหลายแห่งกำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล อีกทั้งสถานพยาบาลหลายแห่งอาจไม่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นกระแสที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
Digital Transformation: The processes that used to improve work flows, result in increased efficiency, safety and accuracy by using digital technology AS A TOOL.
Digital Transformation คืออะไร?
Digital Transformation คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน โครงสร้างองค์กร และการให้บริการในโรงพยาบาล เป้าหมายหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้คือการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาด และปรับปรุง พัฒนาประสบการณ์ของผู้ป่วยและบุคลากร การปรับเปลี่ยนนี้ไม่ใช่เพียงแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่ยังรวมถึงการปรับแนวคิดในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารจัดการเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง
Digital transformation ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ใช่เพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมทุกด้านขององค์กร ประกอบด้วย 5 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้
Customers (ลูกค้า): ลูกค้าหรือผู้รับบริการ...
“Building Quality and Safety Culture for the Future Sustainability”
สร้างวัฒนธรรมคุณภาพ และความปลอดภัย เพื่อความยั่งยืนในอนาคต
ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ระบบสุขภาพของประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่มีความซับซ้อน ในมิติที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัย ความซับซ้อนของโรคเรื้อรัง ภัยสุขภาพใหม่ ๆ รวมถึงผลกระทบจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความมั่นคง และความยั่งยืนของระบบบริการสุขภาพ การเตรียมความพร้อม และสร้างระบบสุขภาพที่สามารถปรับตัว ยืดหยุ่น และมีคุณภาพอย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้
หัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างระบบสุขภาพที่ยั่งยืน คือ การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ และความปลอดภัย (Quality and Safety Culture) ที่ไม่เพียงเป็นเพียงกระบวนการ หรือแนวปฏิบัติ แต่ต้องเป็นวิถีชีวิต และค่านิยมร่วมกันของทุกคนในองค์กรสุขภาพ วัฒนธรรมนี้จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เปิดรับการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทั้งของผู้ป่วย และบุคลากร รวมถึงชุมชน
การประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 25 นี้ จึงเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์...
ถอดบทเรียนความรู้และทักษะของ
Quality Coach ที่พึงประสงค์
จากการถอดบทเรียนในระยะเวลา 10 ปีของที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ (Quality Coach: QC)
สามารถสังเคราะห์ Competency ที่สำคัญที่ QC ต้องมีได้ ดังนี้
ความรู้เชิงเทคนิคและวิชาการ (Technical and Knowledge Competency) ได้แก่
- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน: มีความเชี่ยวชาญในมาตรฐานคุณภาพ เช่น มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ Hospital Accreditation (HA), ISO, Six Sigma และการจัดการคุณภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ความเข้าใจเครื่องมือ/แนวคิดเชิงลึกในกระบวนการพัฒนาคุณภาพ: ต้องรู้จักเครื่องมือและกระบวนการพัฒนาคุณภาพ (เช่น 5ส, CQI, PDSA)
- การรู้จักบริบทและวิเคราะห์ปัญหาและหาวิธีแก้ไข: QC ต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในโรงพยาบาลและค้นหาแนวทางปรับปรุงที่เหมาะสมตามบริบท
การสร้างความไว้วางใจ การสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ (Communication and Relationship Building Competency)
- การสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจ: ทักษะในการสร้างความไว้วางใจให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล เพื่อให้เกิดการยอมรับและพร้อมปรับเปลี่ยน
- การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening): สามารถฟังปัญหาและข้อกังวลของทีมงานได้อย่างเข้าใจและมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
- ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ: สามารถถ่ายทอดข้อมูลและคำแนะนำได้อย่างชัดเจน...
“Growth mindset ในการทำ Rapid Assessment คือ การประเมินอย่างรวดเร็ว เพื่อเก็บผลลัพธ์มาพัฒนา สามารถสรุปผลออกมาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ มีเกณฑ์มีเป้าหมายชัดเจนในการเก็บข้อมูลต่อเนื่อง มีตัววัดและใช้ Evidenceในการประเมิน เพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลง ต้องการความต่อเนื่องสร้างการเรียนรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา”
Assessment เจ้าของโครงการประเมินตนเอง มุ่งที่การปฏิบัติการ (Execution) มีตัวชี้วัดและใช้ Evidence
ในการประเมินเอาวิธีนี้มาใช้ในการวิจัย เป็นการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องเพื่อให้คำชี้แนะ (Inform instruction) ใช้วิธีเชิงบวก ปรับให้เข้ากับแต่ละคน มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพ ผู้ถูกประเมินเป็น
ผู้ได้รับประโยชน์
Evaluation การวัดผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมาย มุ่งที่ outcome เกณฑ์ตัวชี้วัดเป็นหลักฐาน บุคคลภายนอกเป็น
ผู้ประเมินโครงการ มีเป้าหมายเพื่อตัดสินคุณภาพเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกและผู้กำหนดนโยบายเป็นผู้ได้รับประโยชน์
ประเภทของ Evaluation 1. Formative Evaluation ขณะที่โครงการอยู่ในช่วงเริ่มต้น ประเมิน Improving, Enhancing และ Standardizing 2. Summative Evaluation ขณะที่โครงการอยู่ตัวและเข้าที่แล้ว ประเมิน Established, Mature และ Predictable 3. Developmental Evaluation ขณะที่โครงการมีความสำเร็จ ความท้าทาย...
HA National Forum 24
ย้อนคดีโรงพยาบาล-แฮกข้อมูลโรงพยาบาล-รับมืออย่างไรในยุคดิจิทัล
Quality Learning -
“หลังวิกฤติครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่โรงพยาบาลจะได้ทบทวนระบบให้มั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้นปรับปรุง infrastructure ต่างๆ ให้ทันสมัยเพื่อลดช่องโหว่สร้างความรู้ความระหนักให้กับบุคลากรทุกระดับรวมถึง ทบทวนแผนกู้คืนและแผนดำเนินกิจการให้ครอบคลุม และใช้งานได้จริงรวมทั้งการฝึกซ้อมแผนที่ต้องทำสม่ำเสมอเนื่องจาก Ransomware ไม่ได้เป็นภัยคุกคามที่มีโอกาสเจอได้น้อยมากอีกต่อไป”
พล.อ.ต.จเด็ด คูหะก้องกิจ สกมช.: เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ มีหน้าที่ดูแลหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศมีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นการทำงานร่วมกัน 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส) มีหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน 2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ตามกฏหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3. สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แห่งชาติ ทำหน้าที่กี่ยวกับกฏหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข
- ระบบที่มีจุดอ่อน ช่องโหว่ ที่แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงได้
- มีการใช้ระบบที่คล้ายคลึงกัน ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายๆโรงพยาบาล
- ข้อมูลในระบบที่ถูกแฮกถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งจะเรียกข้อมูลกลับคืนมาไม่ได้
- การเข้าถึงเว็ปไซส์และ Application ที่เป็นสาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย
- สร้าง website ปลอมเป็นหน่วยงานสำคัญต่างๆ
กลไกการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ตาม พรบ.ไซเบอร์ 62 ในรูปแบบของ National Cybersecurity Holistic approach ระดับชาติ (National level) เป็นการทำงานร่วมกันในของคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (กมช.) คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National CERT)...
“แผนเป็นเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลง
เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติและติดตามความสำเร็จ แผนที่ดีต้องเป็นสิ่งที่คนอ่านแล้วเข้าใจ และทำได้เลย...ทำอย่างไรไม่ให้ แพลนแล้วนิ่ง ต้องเริ่มด้วย passion ต้องทำเป็นระบบ กระจายความรับผิดชอบ ทำจริง และตอบโจทย์ รพ.”
นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล (ผู้ทรงคุณวุฒิ สรพ.)
แผนพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement Plan: QI Plan) คือ แผนซึ่งแสดงถึงการใช้กระบวนการพัฒนาที่กำหนดไว้อย่างรอบคอบ (เช่น PDSA) มุ่งเน้นที่กิจกรรมซึ่งตอบสนองความต้องการขององค์กรและการยกระดับสุขภาพของประชากร ความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุการพัฒนาที่วัดผลได้ในมิติต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล
Quality Improvement Plan in HA Standards กำหนดอยู่ในมาตรฐานตอนที่ II ระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล II-1.1 การบริหารงานคุณภาพ (quality management) ก. ระบบบริหารงานคุณภาพ (quality management system) (6) องค์กรนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินตเองและการวัดผลการดำเนินการมาใช้ในการทบทวนและชี้นำการพัฒนาคุณภาพ (ดูเพิ่มเติมในเกณฑ์ข้อ I-4.1 ค.) (7) องค์กรจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อโอกาสพัฒนาที่ระบุไว้ (i) มีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน (ii) ระบุกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (iii) ครอบคลุมการพัฒนาของทั้งองค์กร...
สิ่งสำคัญของการดูแลสุขภาพระบบปฐมภูมิ อยู่ที่การมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การช่วยออกแบบการบริหารจัดการที่ดีทั้งคน เงิน ของ และการมีเครือข่ายเชิงวิชาการที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของคนในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
“ระบบสุขภาพปฐมภูมิใกล้บ้าน ใกล้ใจ” ควรเป็นสถานที่แรกที่ประชาชนในชุมชนนึกถึง สามารถพึ่งพาได้ ดังนั้นภาครัฐจึงให้ความสำคัญ โดยที่ผ่านมาได้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีการเร่งรัดการถ่ายโอนเพิ่มขึ้นมากขึ้นในช่วง 3 ปีหลัง
ซึ่งบุคลากรผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในพื้นที่จะมาถ่ายทอดกระบวนทำงาน การประสานงาน ทั้งงานบริการ และการบริหารจัดการ จนสามารถสร้างผลงานที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
ทิพย์หทัย ลาดมะโรง (สสจ.ปราจีนบุรี) ระหว่าง ปี 2564 และ 2565 มีการเตรียมความพร้อมรับการถ่ายโอนภารกิจของบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ผ่านการประชุม เพื่อทำความเข้าใจ เพิ่มความรู้ และแนวทางการดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจ ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี โดยทีมผู้บริหารเป็นวิทยากร ชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ตอบข้อซักถามของบุคลากร ทำให้การถ่ายโอนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มีการบริหารจัดการภายใต้กรอบระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ (6 Building Blocks of A Health System)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ถ่ายโอน) ทั้งด้านงานบริการสุขภาพ กำลังคน ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นการเงินการคลัง ระบบสารสนเทศ และการอภิบาลระบบ กำหนด Timeline...
HA National Forum 24
Learn from Mistakes เปลี่ยนบทเรียนจากความผิดพลาดให้เป็นพลังสรรค์สร้างความปลอดภัย
Quality Learning -
Growth mindset, Get mind Growth. With mind growth,
Get the Great Qualiity. นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ
Session นี้เป็นการเรียนรู้บทเรียนจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นบทเรียนสำคัญที่โรงพยาบาลจะต้องตระหนักและวางแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดรุนแรงถึงขั้นอาจทำให้ผู้ป่วยพิการและเสียชีวิตได้ ผู้บริหารโรงพยาบาลได้มาถ่ายทอดเรื่องราวการแก้ไขปัญหาและการวางแนวทางในการป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
สรุปเหตุการณ์ความผิดพลาด: มารดาพาลูกชายวัย 1 ปี 6 เดือน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเรื่องลื่นล้มศีรษะกระแทกพื้นห้องน้ำ ซึ่งต้องให้ผู้ป่วยเข้าเครื่องสแกนสมองก่อน และเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยดิ้นขณะตรวจจึงต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยานอนหลับก่อนทำ แต่เภสัชกรจ่ายยาผิดโดยจ่ายยาที่มีกรดไตรคลอโรอะเซติก (TCA) ที่ใช้ในการจี้-รักษาหูดหงอนไก่ ซึ่งเป็นยาที่ใช้ภายนอกและมีฤทธิ์เป็นกรดมาให้เด็กรับประทาน จึงเกิดการระคายเคืองส่งผลให้เกิดอาการปากและลำคอไหม้ มารดาจึงได้ออกมาร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งจากบทเรียนของความผิดพลาดในครั้งนี้เป็นเรื่องความคลาดเคลื่อนทางยา โดยความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนี้คาดว่าเป็นช่วงขั้นตอนของการเตรียมยา
นพ.วันฉัตร ชินสุวาเทย์ โรงพยาบาลบางจาก
กรณีศึกษาบทเรียนจากความผิดพลาด การจัดการของผู้บริหารสูงสุดเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต ได้แก่
1. ารจัดการให้ผู้ป่วยไปอยู่ในจุดที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด เพื่อ save life และ calm down ญาติ
2. หาคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมจึงเกิด เพื่อนำไปสู่การสื่อสาร การรายงานเหตุการณ์ต่อไป
3. วางแผนการสื่อสารกับญาติผู้ป่วย และสื่อมวลชน
สิ่งที่ผู้บริหารต้อง concern ได้แก่
1. อาการของผู้ป่วยเป็นอย่างไร
2. การสื่อสารในทุกมิติทุกช่องทาง ทั้งกับคนในองค์กร ,ผู้บริหาร ,สื่อมวลชน ,ญาติผู้ป่วย ซึ่งต้องให้ข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดในขณะนั้นเพื่อ...
“What is impossible today ,but if possible ,changes everything.”
“สิ่งที่เป็นไปไม่ได้วันนี้ แต่ถ้าเป็นไปได้แล้ว
จะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง”
มองย้อนอดีตกลับไปในเรื่องงานพัฒนาคุณภาพ 24 ปีที่ผ่านมา ที่มีการเริ่มต้นการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในประเทศไทย โดยมีระบบต้นแบบจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทีมผู้บุกเบิกระบบ HA รุ่นแรกเข้าไปตามโรงพยาบาลต่างๆเพื่อริเริ่มระบบการพัฒนาคุณภาพ ระบบแรกๆคือ QC, ISO ซึ่งในขณะนั้นเห็น Foresight ว่าประเทศไทยในอนาคตจะสามารถพัฒนาคุณภาพการสาธารณสุขได้จนเทียบเท่าประเทศสหรัฐอเมริกาต้นแบบและนานาอารยประเทศอย่างแน่นอน จากความทุ่มเทของทีมจากสถาบันรับรองคุณภาพ ผู้ตรวจเยี่ยมคุณภาพ และ โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ HA
อนาคตศาสตร์ (Foresight) เป็นการเข้าใจทางเลือกสำหรับอนาคตที่เป็นไปได้ ที่อาจเป็นไปได้ และที่พึงประสงค์ อนาคตศาสตร์ของระบบการพัฒนาคุณภาพประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ
1. เส้นไฟไหม้ฟาง ในการเริ่มต้นทุกคนมองว่าการทำ HA เป็นไฟไหม้ฟาง เดี๋ยวก็มอดและเลิกทำไป
2. เส้นการฝ่าฟันต่อสู้กับอุปสรรคและแรงต้านของสังคม ต่อสู้กับสิ่งใหม่ๆ เพื่อพิสูจน์ว่าการพัฒนาคุณภาพสามารถทำให้ยั่งยืนได้
3. เส้นขอบฟ้าสวยงาม (Horizon) ที่เป็นความหวัง มองเห็นระบบพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน เป็นระบบการเรียนรู้ ทำให้โรงพยาบาลอยากจะทำคุณภาพ ขยายจินตนาการสู่ผู้ร่วมอุดมการณ์แล้วสร้างแนวทางขึ้นมาเพื่อพาคนคุณภาพไปให้ถึงเป้าหมายนั้น
เริ่มด้วยการกำหนดไว้ว่าเราอยากมีอนาคตแบบไหน เพื่อจะได้วางแผนว่าเราต้องทำอย่างไรจึงจะได้ ประสบความสำเร็จตามที่วางอนาคตไว้ โดยที่เราต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนต่างๆที่เรียกว่าปัญหาและอุปสรรคหรือความเสี่ยง ซึ่งเราอาจจะควบคุมได้หรือไม่ได้ก็ตาม แต่หากเป็นความเสี่ยงที่อยู่ในแผนที่วางไว้ก็จะมีแนวทางการรับมือหรือการแก้ไขในแผนที่วางไว้เช่นกัน
อนาคตศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพนั้น ผลลัพธ์ที่วางไว้ คือ คุณภาพฝังอยู่ในงานประจำ...