Control Chart เป็นเครื่องมือคุณภาพชิ้นหนึ่งที่มีประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยในการผลิตสินค้าและให้บริการ Control Chart จะช่วยให้ทีมงานสามารถดักจับปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนงานได้อย่างรวดเร็ว และเข้าไปแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่ปัญหาจะลุกลามและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อองค์กร
สำหรับงานพัฒนาคุณภาพ Control Chart ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบ่งชี้ว่าการพัฒนากระบวนการงานที่นำมาใช้ได้ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือไม่
หลักการสำคัญของ Control Chart คือ การคำนวณหาค่าเฉลี่ยของตัวชี้วัดในช่วงที่ผ่านมาเพื่อสร้างเส้นกลาง และคำนวณค่า upper control limit (UCL) และ lower control limit (LCL) เพื่อใช้ในการติดตามค่าตัวชี้วัดในช่วงถัดไป ถ้าค่าตัวชี้ค่าที่กำลังติดตามอยู่มีลักษณะเข้ากับเกณฑ์ที่กำหนด ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่า ค่าตัวชี้วัดกำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เป็นเพียงความแปรปรวนตามปกติของค่าที่วัดได้ เกณฑ์เหล่านี้ ได้แก่
An outsider คือ มีจุดใดจุดหนึ่งอยู่นอก control limit คือสูงกว่า UCL หรือต่ำกว่า LCL
A shift or a trend คือ มีจุด 7 จุดต่อเนื่องกันเหนือหรือใต้เส้นกลาง, หรือมีจุด 7 จุดต่อเนื่องกันที่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน คือเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือลดลงต่อเนื่อง
An unusual...
ในแบบประเมินตนเองส่วน Clinical Tracer/ Clinical Quality Summary มีคำแนะนำว่า
“Purpose: แสดงเป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยและอาจแสดง Driver Diagram ที่แสดงองค์ประกอบสำคัญในการให้บริการที่มีคุณภาพ”
Driver Diagram เป็นการแสดงวิธีคิดของทีมงานว่า ถ้าทีมงานต้องการบรรลุเป้าหมาย (aim) ในระดับผลลัพธ์ของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีสิ่งใดที่ทีมงานคิดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก (primary driver) ที่ช่วยให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย และมีสิ่งใดที่เป็นแรงขับเคลื่อนรอง (secondary driver) ที่ช่วยส่งเสริมให้มีแรงขับเคลื่อนหลักมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อทีมงานเห็นความสัมพันธ์เหล่านี้ชัดเจนตรงกันแล้ว ทีมงานมีแนวคิดใหม่ๆ อะไรบ้างที่จะเริ่มทำ (change ideas) ซึ่งจะส่งผลในทางบวกต่อแรงขับเคลื่อนเหล่านี้
การเขียนผังก้างปลา (Fish-bone Diagram) ที่หลายคนคุ้นชิน จะเป็นการเขียนโดยเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง แล้วแสดงสาเหตุหลักและสาเหตุรองที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ในขณะที่การเขียน Driver Diagram จะพลิกจากการเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง มาเป็นการเอาเป้าหมายที่อยากได้เป็นตัวตั้ง แล้วแสดงแรงขับเคลื่อนหลักและแรงขับเคลื่อนรองที่ต้องสร้างขึ้น โดยใช้แนวคิดใหม่ เทคโนโลยีใหม่ หรือคนที่มีศักยภาพใหม่ มากระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงขับเคลื่อนเหล่านี้
Photo by Daria Nepriakhina on Unsplash
หัวข้อในการเขียนแบบประเมินตนเองตอนที่ 1-3 ประกอบด้วย 1) ผลลัพธ์ของบทนั้น 2) บริบท 3) กระบวนการ 4) ผลการพัฒนาที่โดดเด่นและภาคภูมิใจ 5) แผนการพัฒนา สิ่งที่อยากขยายความในที่นี้ คือ หัวข้อ “กระบวนการ” ซึ่งหลายโรงพยาบาลยังเขียนส่วนนี้มายาวมาก เพราะนำงานปกติมาบรรยายทั้งหมด สิ่งที่ สรพ. แนะนำคือ ให้เขียนเฉพาะกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา ซึ่งจะโยงไปสู่ผลลัพธ์ซึ่งแสดงไว้ในหัวข้อแรก การเขียนนั้น ให้อิงตามขั้นตอนในวงจรการพัฒนาคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act) ที่เกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาล ซึ่งในบางกิจกรรมการพัฒนา วงจรการพัฒนายังไม่ครบวง ก็ให้โรงพยาบาลเขียนไปตามเท่าที่ได้ทำไปถึง
ในส่วนการให้คะแนน หลักทั่วไปของการให้คะแนน เป็นดังนี้ คะแนน 1 คือ เริ่มต้นปฏิบัติ, คะแนน 2 คือ มีการปฏิบัติได้บางส่วน, คะแนน 3 คือ มีการปฏิบัติได้ครอบคลุมและได้ผล, คะแนน 4 คือ มีการปรับปรุงกระบวนการต่อเนื่อง, คะแนน 5 คือ มีกระบวนการที่เป็นแบบอย่างที่ดี
ในแบบประเมินตนเอง ตอนที่ 4 สถาบันได้แนะนำให้นำเสนอผลลัพธ์ย้อนหลังไป 5 ปี เพื่อให้เห็นแนวโน้มของผลลัพธ์ที่ชัดเจน...
การเปลี่ยนแปลงสำคัญในมาตรฐานตอนที่ IV มาตรฐานฉบับที่ 4 ในส่วนผลลัพธ์ ได้แบ่งผลลัพธ์เป็น 6 ด้าน คือ ด้านการดูแลสุขภาพ ด้านการมุ่งเน้นผู้ป่วยและผู้รับผลงานอื่น ด้านกำลังคน ด้านการนำ ด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงานสำคัญ และด้านการเงิน ซึ่งถ้าใครคุ้นชินกับมาตรฐานฉบับที่ 3 ก็จะพบว่าผลลัพธ์ด้าน การดูแลผู้ป่วย และผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ได้นำมารวมกันเป็นผลลัพธ์ด้านการดูแลสุขภาพ ในมาตรฐานฉบับที่ 4
มาตรฐานฉบับที่ 4 ในส่วนผลลัพธ์ ได้แบ่งผลลัพธ์เป็น 6 ด้าน คือ ด้านการดูแลสุขภาพ ด้านการมุ่งเน้นผู้ป่วยและผู้รับผลงานอื่น ด้านกำลังคน ด้านการนำ ด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงานสำคัญ และด้านการเงิน ซึ่งถ้าใครคุ้นชินกับมาตรฐานฉบับที่ 3 ก็จะพบว่าผลลัพธ์ด้านการดูแลผู้ป่วย และผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ได้นำมารวมกันเป็นผลลัพธ์ด้านการดูแลสุขภาพ ในมาตรฐานฉบับที่ 4
ในมาตรฐานฉบับที่ 4 ผลลัพธ์แต่ละด้านของตอนที่ 4 ได้มีการปรับปรุงหัวข้อเรื่องที่ควรมีการนำเสนอข้อมูลของแต่ละด้านอยู่หลายจุด ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ด้านการนำ ได้มีการเพิ่มเรื่องผลด้านการกำกับดูแลกิจการ (governance), ผลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ แต่หลักการที่สรพ.ใช้ คือ ขอให้โรงพยาบาลเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานครบทั้ง 6 ด้านที่กำหนด เพื่อให้เห็นผลการพัฒนาที่สมดุลในหลากหลายมิติ...
ในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 กำหนดว่า
“ยานพาหนะที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยได้มาตรฐานความปลอดภัย มีอุปกรณ์การแพทย์และเวชภัณฑ์ที่พร้อมตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย”
ความปลอดภัยของยานพาหนะที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยต้องครอบคลุมทั้งความปลอดภัยของ ผู้ป่วยและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยขณะส่งต่อ ซึ่งใน SIMPLE 2018 ในส่วนของ Personnel Safety ได้มีการกล่าวถึงความปลอดภัยของรถพยาบาลและขั้นตอนการรับส่งต่อผู้ป่วยไว้ โดยมีรายละเอียดสำคัญ คือ
- สำหรับรถพยาบาล มีข้อแนะนำว่า ตัวถังรถ เตียงผู้ป่วย เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีการยึดตรึงให้สามารถทนแรงทุกทิศทางได้ 10 G (แรงขนาด 10 เท่าของน้ำหนักของวัตถุนั้นๆ)
- มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
- การจัดวางอุปกรณ์การแพทย์ต้องเอื้อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องถอดเข็มขัดนิรภัย เพื่อเอื้อมไปหยิบอุปกรณ์ต่างๆ
- การปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกผู้คน เช่น การสร้างแนวเบี่ยงจราจร โดยการวางกรวย ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อเป็นสัญญาณชะลอความเร็ว, การจอดรถคันแรกที่ไปถึง ณ ที่เกิดเหตุ เพื่อสร้างแนวกันชน, การจอดรถพยาบาลในตำแหน่งที่ปลอดภัย, การใส่ชุดปฏิบัติงานที่มีแถบสะท้อนแสง, การงดใช้แสงสว่างที่หันทิศทางไปรบกวนการมองเห็นของผู้ขับขี่ที่อยู่บนถนนสายเดียวกัน
- แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับพนักงานที่ขับรถพยาบาล เช่น ไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือกินยาที่ทำให้ ง่วงนอน, เคารพกฎจราจร ไม่ฝ่าสัญญาณไฟแดงในทุกกรณี, จำกัดความเร็วรถไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง, ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่, พักทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือระยะทางทุกๆ...
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นกว่าสมัยก่อน จึงน่าจะไม่มีโรงพยาบาลใดใช้เข็มและกระบอกฉีดยาแบบต้องทำให้ปราศจากเชื้อแล้วนำกลับมาใช้ซ้ำ อย่างไรก็ตาม เราก็ยังมีความจำเป็นอยู่บ้าง ที่ต้องใช้ยาใน vial ที่ต้องมีการ draw หลายครั้ง ต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิดซ้ำ เนื่องจากราคาที่แพง การใช้งานซ้ำอย่างไรให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นจึงเป็นโจทย์ที่น่าสนใจ
ข้อแนะนำในการใช้วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ซ้ำ
ควรใช้งานวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ซ้ำ ภายใต้เงื่อนไขที่สอดคล้องกับคำแนะนำการใช้งานจากผู้ผลิตและมาตรฐานการปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับได้สำหรับประเทศไทย
โรงพยาบาลควรมีการกำหนดวิธีการใช้ที่ครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้
2.1 ชนิดของวัสดุอุปกรณ์ที่อนุญาตให้ใช้งานซ้ำได้ หรืออาจกำหนดเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ห้ามใช้ซ้ำ
2.2 จำนวนครั้งสูงสุดที่จะใช้ซ้ำได้ (ถึงแม้จะไม่มีร่องรอยชำรุดให้เห็น) ข้อมูลนี้ควรมาจากการศึกษาทางวิชาการ แต่ถ้าไม่สามารถหาได้ ก็อาจอนุโลมให้ใช้ความเห็นของผู้มีประสบการณ์จริงในการใช้งานวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ไปพลางก่อน
2.3 ลักษณะทางกายภาพที่บ่งชี้ว่าวัสดุอุปกรณ์นั้นไม่ควรนำมาใช้ซ้ำแล้ว
2.4 กระบวนการทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์แต่ละชนิด
2.5 ระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้งานวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้น เช่น การสุ่มตรวจสภาพจริงที่หน้างาน รายงานเร่งด่วนและมาตรการเมื่อเกิดผลกระทบจากการใช้วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้น
Photo by Wendy Scofield on Unsplash
ปัจจุบัน การติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรของโรงพยาบาลยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ควบคุมไม่ได้ เรามักจะพบว่าบุคลากรในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ติดเชื้อวัณโรคไม่ต่ำกว่า 5 รายต่อปี ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อคงมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะมีผลต่อการติดเชื้อมากพอควรและเป็นสิ่งที่โรงพยาบาลน่าจะจัดการได้ คือ การจัดการการไหลของอากาศในพื้นที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ที่ ER, ICU หรือ ward
จากการเยี่ยมโรงพยาบาล เรายังพบการจัดการการไหลเวียนของอากาศที่สุ่มเสี่ยงต่อการที่เจ้าหน้าที่จะรับเชื้อที่สามารถติดได้ทางระบบทางเดินหายใจ เช่น
ทิศทางการไหลของลมจากเครื่องปรับอากาศ พบการไหลของอากาศจากผู้ป่วย (ซึ่งอาจติดเชื้อวัณโรค) ไปสู่ที่นั่งทำงานของเจ้าหน้าที่
การไม่ตระหนักว่ากระบวนการที่สร้างฝอยละอองขึ้นมา (เช่น การพ่นยา, การ suction) เป็นตัวทำให้เชื้อโรคเกาะแขวนลอยอยู่กับฝอยละอองอากาศเหล่านี้ และทำให้เชื้อโรคลอยอยู่ในห้องที่เราทำงานนานขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ซึ่งการควบคุมโซนการให้บริการเหล่านี้ให้เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงได้
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอากาศใหม่ๆที่จะไหลเข้ามาเติมอากาศเดิมที่อยู่ในห้อง การไม่ดูแลไส้กรองอากาศที่จะช่วยสร้างความสะอาดของอากาศในห้อง และการไม่มีพัดลมดูดอากาศในปริมาตรที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง นอกจากนี้ ใน ward ของโรงพยาบาลบางแห่ง ถึงไม่ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศใน ward แต่ก็มีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมจนไปปิดทางไหลของลมธรรมชาติ ที่จะช่วยลดความเข้มข้นของเชื้อที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ
การติดตั้งพัดลมดูดอากาศในระดับสูงเหนือศีรษะ อาจเหมาะสมกับสภาพโครงสร้างที่เป็นอยู่ แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักกับความเป็นไปได้ที่แรงดูดของพัดลมจะทำให้เชื้อที่ตกลงสู่พื้นและรอการทำความสะอาดอยู่ ฟุ้งกระจายขึ้นมาในห้องอีกครั้ง
Photo by Huanhuan Zhang on Unsplash
เมื่อปีพ.ศ. 2558 มีรายงานการเสียชีวิตของญาติผู้ป่วยรายหนึ่งที่เดินไปเข้าห้องน้ำที่อยู่ด้านหลังอาคารของ รพ.สต. แห่งหนึ่ง แล้วตัวไปสัมผัสกับเครื่องปั๊มลมของยูนิตทำฟัน ปรากฏว่าเครื่องปั๊มลมมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ทำให้ไฟดูดญาติผู้ป่วยรายนั้น กว่าจะมีคนมาพบ ญาติผู้ป่วยรายนั้นก็เสียชีวิตแล้ว กรณีนี้ จึงทำให้ฉุกคิดได้ว่า ในโรงพยาบาลยังมีอุปกรณ์ทางการแพทย์อีกหลายชิ้นที่มีการสัมผัสตัวผู้ป่วยแล้วอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความชื้นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ตู้อบสมุนไพร เครื่องมือบางชิ้นของกายภาพบำบัด
อันตรายจากไฟฟ้าดูดในโรงพยาบาลมักตามมาด้วยการเสื่อมเสียชื่อเสียง และการเรียกร้องค่าเสียหายด้วยอ้างเหตุความประมาทเลินเล่อของโรงพยาบาล แนวทางที่จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องไฟฟ้าดูด ได้แก่
โรงพยาบาลควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้าในกรณีที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว และมีการวางระบบสายดินที่ใช้งานได้จริง (หลายแห่งเมื่อไปตรวจแล้ว พบว่าไม่มีการเดินสายลงดินจริง มีแต่ช่องให้เสียบปลั๊กสายดินเท่านั้น)
ทุกหน่วยงานที่มีการให้บริการผู้ป่วยควรมีการฝึกซ้อมการช่วยฟื้นคืนชีพในสถานที่ให้บริการจริง เพื่อเสริมสร้างทักษะความชำนาญของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคในการช่วยฟื้นคืนชีพในสถานที่จริง เช่น ช่องประตูเล็กไป ไม่สามารถนำเตียงผู้ป่วยเข้าไปได้, กริ่งเรียกทีมมาช่วยไม่สามารถใช้งานได้
กรณีที่มีการวางอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ด้านนอกอาคาร ควรมีการดำเนินการดังต่อไปนี้
- เดินสายไฟอยู่ภายในช่องเดินสายไฟ เพื่อป้องกันแดดและฝน ที่เป็นสาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร
- ต่อสายไฟฟ้าของอุปกรณ์นั้นตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง
- สร้างหลังคาเพื่อบังมิให้อุปกรณ์ได้รับแดดหรือฝนโดยตรง
- สร้างรั้วหรือแนวป้องกันที่ทำให้คนทั่วไปไม่สามารถสัมผัสอุปกรณ์เหล่านั้นได้โดยไม่ตั้งใจ
ผู้บริหารระดับสูงควรมีการเดินสำรวจรอบโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆอย่างสม่ำเสมอ
Photo by Anthony Indraus on Unsplash
ในปีพ.ศ. 2551 สรพ. ได้จัดทำหนังสือ SIMPLE 2008 เพื่อเชิญชวนให้โรงพยาบาลกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety Goals) ที่เป็นหมวดหมู่ และ มีความชัดเจน ซึ่ง SIMPLE 2008 ได้เสนอแนะแนวปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของผู้ป่วยที่รวบรวมองค์ความรู้มาจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก
ในปี 2559 สรพ. ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องความปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพให้ขยายครอบคลุมทั้งส่วน Patient และ Personnel และนำมาสู่การกำหนดเป็นนโยบาย Patient & Personnel Safety Goals ( 2P Safety) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ในปี 2561 สรพ. ได้มีการประกาศใช้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับใหม่เป็นฉบับที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานดังกล่าว ได้มีการกำหนดเพิ่มเติมให้โรงพยาบาลจัดการประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้มารับบริการ โดยสอดคล้องกับเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ของประเทศไทย พร้อมกันนี้ สรพ. ได้ออก SIMPLE ฉบับใหม่ เป็น SIMPLE 2018 โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญและสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ ในการทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาใน Patient Safety Goals ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ตลอดจนจัดทำ Personnel Safety Goals...
มาตรฐานฉบับที่ 4 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกี่ยวกับระบบบริหารความเสี่ยงอยู่หลายประการ สรุปได้ดังนี้
- มองความเสี่ยงในกรอบที่กว้างกว่าเดิม คือ ครอบคลุมทั้งด้านยุทธศาสตร์ (เช่น โรงพยาบาลเอกชนเปิดคลินิกใหม่ แต่มีลูกค้าต่ำกว่าเป้ามาก) ด้านคลินิก (เช่น วินิจฉัยผิดพลาด) ด้านปฏิบัติการ (เช่น การเลื่อนผ่าตัดบ่อย) ด้านการเงิน (เช่น โรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง) และด้านอันตรายต่างๆ (เช่น โจรกรรม)
- กำหนดให้โรงพยาบาลมีทะเบียนการจัดการความเสี่ยง (risk register) ที่บันทึกข้อมูลครอบคลุมการกำหนดความเสี่ยงขององค์กร การวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง แผนการจัดการความเสี่ยง และการติดตามประเมินผลการจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
- กำหนดรายการความเสี่ยงทางคลินิกที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนทางยา, การพลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ การบาดเจ็บ, การควบคุมการติดเชื้อ, การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาด, การสื่อสารที่ผิดพลาด, ความเสี่ยงทางโภชนาการ, ความเสี่ยงจากการใช้เครื่องมือทางการแพทย์, ความเสี่ยงจากแผลกดทับ
- ควรมีการกำหนดขั้นตอนในการให้ข้อมูลกับผู้ป่วย/ ผู้รับบริการ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
- กำหนดว่าโรงพยาบาลควรเรียนรู้ประเด็นความเสี่ยงสำคัญตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด (เช่น Medication Without Harm (2017)) ตลอดจนเรียนรู้เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ของประเทศไทย (คือ Patient & Personnel Safety Goals) ซึ่ง สรพ....