วันพุธ, ตุลาคม 23, 2024
เหตุการณ์ 13 หมูป่าติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนถือเป็น Mission Impossible ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศของเรา และมีแง่มุมมากมายที่น่าศึกษา ถอดบทเรียน และนำมาสู่การเตรียมการเพื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ         ในแง่มุมของบริการสุขภาพ ทีมงานด้านการรักษาพยาบาลได้ทำงานอย่างยอดเยี่ยมในแบบมืออาชีพ สิ่งเหล่านี้โยงกับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 ในหลายจุด และน่าจะทำให้ทีมงานของโรงพยาบาลนึกภาพของการนำมาตรฐานลงสู่การปฏิบัติได้ง่ายขึ้น มาตรฐานฉบับที่ 4 เหตุการณ์ที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน การเข้าถึงและเข้ารับบริการ มีการประสานงานที่ดีระหว่างองค์กรกับหน่วยงานที่ส่งผู้ป่วยมา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อในระยะเวลาที่เหมาะสมและปลอดภัย. การดูแลปฐมพยาบาลและการลำเลียง 13 หมูป่ามายังโรงพยาบาล ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ องค์กรทำให้มั่นใจว่ามีการเตรียมพร้อมของระบบงานและสถานที่ทำงานต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน โดยคำนึงถึงการป้องกัน การบริหารจัดการ ความต่อเนื่องของการให้บริการ การเคลื่อนย้าย การทำให้ฟื้นคืนสู่สภาพเดิม รวมถึงการพึ่งพากำลังคน ผู้ส่งมอบ และพันธมิตร. องค์กรทำให้มั่นใจว่าระบบสารสนเทศมีความมั่นคงปลอดภัยและพร้อมใช้อย่างต่อเนื่อง. การเตรียมความพร้อมของทีมแพทย์และพยาบาลในการรับ 13 หมูป่ามาดูแลรักษาที่โรงพยาบาล การจัดการความรู้และสารสนเทศ องค์กรทำให้มั่นใจในความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูล/สารสนเทศที่ถ้ารั่วไหลแล้วจะเกิดผลกระทบได้มาก ระบบบริหารเวชระเบียน องค์กรกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศของผู้ป่วยในเวชระเบียน การเรียกขานชื่อผู้ป่วยโดยใช้รหัส “หมูป่า” และการกำชับมิให้มีการเปิดเผยชื่อหรือรูปถ่ายของหมูป่าแต่ละคนในระหว่างการลำเลียงและการรับเข้าสู่หอผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อาหารและโภชนบำบัด ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอกับความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วย โดยมี ระบบบริการอาหารที่ดี. มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการอาหารและโภชนาการ ตลอดจนมีการดำเนินมาตรการป้องกันที่เหมาะสม. มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงของหมูป่าที่อดอาหารมาเป็นเวลาหลายวัน และนำมาสู่การวางแผนการให้อาหารแก่หมูป่าอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อลดความเสี่ยงจากการให้อาหาร Designed by Paymphotography
  มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4 ได้รับการรับรองจาก The International Society for Quality in Health Care (ISQua) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 การรับรองครั้งนี้ เป็นการต่ออายุการรับรองมาตรฐานที่ สรพ. ใช้ในการประเมินรับรองโรงพยาบาล ซึ่งได้รับการรับรองจาก ISQua มาตั้งแต่ปี 2553 และ 2557 ตามลำดับ มาตรฐานฉบับที่ 4 ได้นำมาใช้ในการประเมินรับรองโรงพยาบาลเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป มาตรฐานฉบับที่ 4 มีเนื้อหาสาระที่เพิ่มเติมจากมาตรฐานฉบับที่ 3 อยู่หลายประเด็น ที่สำคัญ ได้แก่ การกำกับดูแลทางคลินิก (clinical governance) ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ (ethical dilemma) ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (cyber security) การจัดการการเรียนการสอนทางคลินิก (clinical education) กรอบการจัดการความเสี่ยง ทะเบียนความเสี่ยง (risk register) แนวทางการนำอุปกรณ์แบบใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ซ้ำ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use) สมรรถนะและความปลอดภัยของรถพยาบาล      การปรับปรุงมาตรฐานส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงคู่มือของมาตรฐาน แบบประเมินตนเอง และวิธีการให้คะแนนในแต่ละข้อ ซึ่ง...
คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงประทานไว้ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2525 ความว่า  “.....การจะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้น เสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้ว เป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำทางให้ยวดยานดำเนินไปถูกทางด้วยความสวัสดี คือ ปลอดภัย บรรลุจุดประสงค์..” “คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม” ได้พิสูจน์ไห้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่ทุกท่าน ในการประชุมครั้งนี้อย่างไม่ต้องสงสัย เห็นได้จากการบรรยายในแต่ละห้อง  รวมทั้งในห้องนิทรรศการ ในเวที mini-stage ที่เนืองแน่นด้วยผู้เข้าร่วมประชุม สะท้อนให้เห็นว่า คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม เป็นแนวทางในการทำงานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลให้เกิดสัมฤทธิ์ผลโดยเจ้าหน้าที่มีความสุข และ ได้เรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และ เป็นปัจจัยที่ชี้วัดความสำเร็จในระยะยาว  มีหลายเสียงสะท้อนที่ชื่นชม ให้คำข้อเสนอแนะ /คำแนะนำ ให้กำลังใจ สิ่งที่ทุกท่านได้แสดงออกมาในทุกรูปแบบ เป็นการตอบรับ ที่ส่งจากใจผู้ส่งอย่างวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ่งนั่นแหละเป็นขุมพลังที่ยิ่งใหญ่ สะท้อนกลับมาให้กับทีมวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ...
  ในยุค Thailand 4.0 ที่จะมีการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพเป็นอย่างมาก เราจึงต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรู้เท่าทัน รวมทั้งต้องกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดนวัตกรรมของการจัดการ กระบวนงาน และสิ่งประดิษฐ์ และทำงานเชื่อมโยงประสานกันเป็นเครือข่ายเพื่อรองรับงานบริการสุขภาพที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ทำให้ต้องมีการพัฒนาระบบที่จะช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในลักษณะ long term care และ home care ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ต้องอาศัยนวัตกรรม และความร่วมมือของภาคีเครือข่าย เพื่อการบรรลุเป้าหมายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ดีขึ้น การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการทำงานในลักษณะเครือข่าย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนงานคุณภาพในยุค 4.0 ....... ด้วยรักและผูกพัน พบกันอีกครั้งใน 20th HA National Forum ภายใต้ theme “Change & Collaboration for Sustainability” กิตตินันท์ อนรรฆมณี ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล   บทส่งท้าย…คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม 
การบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้าย (Hospice care) เป็น “การให้การดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care) แก่ผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่มีการจัดไว้อย่างเหมาะสมด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตทางสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัวครอบคลุมช่วงระยะท้ายของชีวิต (Terminal phase) รวมถึงในช่วงเวลาระยะแรกภายหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วย (Bereavement phase)” กรอบแนวคิดของการบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายในบริบทของระบบการดูแลสุขภาพของไทย   การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย สิ่งสำคัญคือการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยระยะท้าย ถึงแม้ว่าการพูดคุยจะเป็นวิธีการที่เป็นธรรมชาติ แต่บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่พร้อมที่จะพูด วิธีที่น่าสนใจในการนำมาใช้ค้นหาความต้องการดังกล่าว คือการ “คุยผ่านภาพ” ที่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระลึกถึงเรื่องราวในอดีตและบอกเล่าความต้องการที่แท้จริงได้ และทำให้ผู้ป่วยพร้อมเตรียมพร้อมที่จะจากไป ประเด็นสำคัญในการดูแลผู้ป่วย end of life ให้บรรลุเป้าหมาย คือ 1) ในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล ประกอบด้วย (1) เราต้องมองเห็นภาพตั้งแต่การวางแผนการรักษา (2) มีการประเมินความพร้อมของญาติหรือผู้ดูแล และ (3) ให้การสนับสนุนในเรื่องต่างๆ เช่น ยา เครื่องมือแพทย์และอุปกรณที่จำเป็น ช่องทางติดต่อ ช่องทางเร่งด่วน ค่าตอบแทนผู้ดูแล 2) ระบบการส่งต่อที่สำคัญ เช่น ระบบส่งต่อข้อมูล การส่งตัวผู้ป่วย และระบบการส่งข้อมูลกลับ เป็นต้น 3) บ้าน ครอบครัว และชุมชน มีองค์ประกอบสำคัญ คือ (1) มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (2) ระบบการติดตามผู้ป่วยและผู้ดูแล (3) การเข้าถึงและการนำยาไปใช้ที่บ้าน (4) การจัดการวัสดุ...
ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม (รามาฯ), ดร.พิริยาภรณ์ จงตระกูล (ศิริราชฯ), ภก.รศ.ดร.วิชัย สันติมาลีวรกุล (ม.ศิลปากร), พญ.เพชรดี โอฬารริกสุภัค (รพ.น่าน)   เวลาพูดถึงเชื้อดื้อยา ทุกคนก็จะนึกถึง Infectious control หรือไม่ก็ RDU แต่ในความเป็นจริงแล้วการจัดการเชื้อดื้อยาต้องอาศัยความร่วมมือในหลายๆ วิชาชีพ เพราะกระบวนการดื้อยาของเชื้อเกี่ยวข้องกับแพทย์ผู้สั่งใช้ สิ่งแวดล้อม และบุคลากรการแพทย์อื่นๆที่สัมผัสเชื้อ ดังนั้น ปัจจัยความสำเร็จในการป้องกันเชื้อดื้อยา ต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้บริหาร ความร่วมมือในหลาย ๆ วิชาชีพ และการตรวจจับ ติดตามสถานการณ์เชื้อดื้อยา   เชื้อที่พบว่าควบคุมการดื้อยามากที่สุดคือ CRE แต่ควบคุมยากไม่ได้หมายความว่าควบคุมไม่ได้ ซึ่งตัวอย่างหนึ่งที่เห็นผลคือ ป้องกันโดยทำ Stewardship, Contact precaution, Standard precaution จาก Hand hygiene พบว่าหากทำอย่างจริงจัง แค่ 60% ก็เริ่มเห็นผล รวมถึงให้ความรู้แก่บุคลากรก็มีความสำคัญ   ส่วนของห้องปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเชื้อดื้อยา ประกอบด้วย กระบวนการการเก็บสิ่งส่งตรวจ  หลักสำคัญคือ ต้อง Rapid detection ใช้เวลาน้อยกว่า 3 ชม แต่ความเป็นจริง ณ...
รัตติกร วุฒิกร (บ.คลับ ครีเอทีฟ จำกัด), จุฑาธิป อินทรเรืองศรี (สรพ.) เชื่อว่าทุกท่านที่ทำงานในระบบสุขภาพ เคยประสบปัญหา การพยายามจัดกิจกรรม สอน ให้ความรู้ เพื่อมุ่งหวังให้กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง แต่เมื่อจัดกิจกรรมเสร็จ การเปลี่ยนแปลงก็จบ วนซ้ำกลับสู่พฤติกรรมแบบเดิม  บทความนี้อาจเป็นทางออกในการออกแบบกิจกรรม ให้เข้มแข็งขึ้น ทรงพลังมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยโน้มน้าว กลุ่มเป้าหมายและเหนี่ยวรั้งให้เกิดทัศนคติใหม่ หรือพฤติกรรมใหม่ที่แข็งแรงมากขึ้น     Nike...เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นนักวิ่งมืออาชีพ โดย Gamification        Nike ตั้งเป้าหมายหลักคือการสร้างนักวิ่งมืออาชีพ โจทย์หลักคือจะเชิญชวนให้คนธรรมดา หันมาสนใจการวิ่งได้อย่างไร Nike จึงใช้เกมเป็นเครื่องมือสำคัญ โดยอาศัยข้อมูลต่างๆของผู้เล่น ออกแบบการนำเสนอข้อมูล เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในแต่ละวัน เช่น ระยะทาง ความเร็ว ระยะเวลา พลังงานที่เผาผลาญ กระตุ้นให้ผู้เล่น “สนุก” กับการพิชิตเป้าหมายและพัฒนาตัวเองขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังออกแบบให้เกิดการสื่อสารข้อมูลในกลุ่มเพื่อน หรือใน “สังคมนักวิ่ง” สามารถแลกเปลี่ยน เปรียบเทียบข้อมูลได้ ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นนักวิ่งมืออาชีพต่อไป       Gamification คืออะไร Gamification เป็นการนำเอาหลักการและแนวคิดของเกมมาผนวกรวมเข้ากันกับการใช้บริการอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้ผู้ใช้เกิดความสนุกในการใช้ เกิดความรู้สึกผูกพัน และสร้างชุมชนเสมือนของสาวกผู้ใช้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดการแข่งขันกันเป็นที่สุดของอะไรก็ตาม โดยเริ่มจากการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย หรือเข้าใจผู้เล่น เข้าใจลักษณะเนื้อหาหรือองค์ความรู้ที่เราต้องการจะสื่อสารหรือย่อยให้ผู้เล่นว่าเป็นลักษณะใด เพื่อนำมาออกแบบรูปแบบ หรือวิธีการเล่น เพิ่มการเรียนรู้ทั้งองค์ความรู้...
“พชอ. เป็นอีกก้าวหนึ่งของการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความเข้มแข็ง ให้มาบูรณาการความร่วมมือกัน ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ของประชาชนในพื้นที่ และการสร้างความเข้าใจให้กับทุกคนเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความร่วมมือดังกล่าว” DHB คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นกลไกใหม่ ที่ใช้คนทำงานเดิม ใช้ต้นทุนเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ แต่มีวิธีการจัดการแบบใหม่โดยใช้ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีในการดำเนินงานที่ทำให้เกิดความยั่งยืน พชอ. ไม่ได้เกิดจากความคิดของคนส่วนกลาง แต่คนคิด คือนักวิชาการจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ที่คิดปฏิรูปประเทศ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง “เรื่องชีวิต ไม่ใช่เรื่องหยูกยา ไข้ หมอ แต่เป็นการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่” เป็นการดูแลสุขภาพ ที่ทำให้เกิดการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ของประชาชนที่เกิดประโยชน์ และเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ทำให้มีการทำงานแบบบูรณการอย่างเป็นรูปธรรม พชอ. เป็นวิวัฒนาการของการจัดการร่วมกัน โดยมีเป้าหมายชัดเจน คือ คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ที่ดี มีการขับเคลื่อนการทำงานโดยมีความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ทั้งส่วนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นการทำงานที่ “เข้าใจปัญหา เข้าถึงความทุกข์ รู้ข้อจำกัด และคิดวิธีการแก้ไขที่ตรงจุด” เป็นความร่วมมือของคนในพื้นที่ ที่สามารถดูแลสุขภาพของประชาขนได้ในระดับบุคคล ภายใต้แนวคิด “คนอำเภอเดียวกัน ไม่ทอดทิ้งกัน” หัวใจในการทำงาน ของ พชอ. คือ ⬥ ถ้าถามคนในพื้นที่แล้ว ทุกคนบอกว่า “ใช่” จะทำให้การทำงานของคณะกรรมการมีคุณภาพ ⬥ จากประสบการณ์ในพื้นที่ ไม่ต้องทำหลายเรื่อง แต่ขอให้เป็นประเด็นชัดๆ แล้วนำมาขับเคลื่อนการทำงานต่อ กลไกของ พชอ. เป็นตัวชี้ทิศ...
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล วิทยากรได้กล่าวถึง ทฤษฎี ตัวอย่าง และความคิดเห็นส่วนตัว ต่อระบบบริการสุขภาพที่ควรจะเป็นของไทย เริ่มจากทฤษฏีใน หนังสือ Medicine’s Dilemmas: Infinite Needs Versus Finite Resources โดย William Kissick กล่าวถึง Iron Triangle of Health Care ที่แสดงองค์ประกอบ และความเชื่อมโยงของระบบบริการสุขภาพ ที่หลายประเทศใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบสุขภาพของตน โดยมีส่วนสำคัญคือ  Access, Quality และ Cost Access การเข้าถึงบริการสุขภาพ แต่ละประเทศต้องตีความ  เข้าถึงแพทย์ระดับไหน (ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องมองว่าเป็น partner กันไม่ใช่คู่แข่งกัน) Quality คุณภาพระดับไหน ที่เป็นที่ยอมรับ เป็นเพียงความสะดวกสะบาย หรือคุณภาพจริง ๆ  องค์กรต่างๆ เช่น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล สภาวิชาชีพ สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการประกันคุณภาพของระบบบริการสุขภาพได้ Cost  ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มาจากกองทุนต่าง ๆ ของภาครัฐ หรือภาคเอกชน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงรายละเอียดประเด็นการเข้าถึงบริการสุขภาพที่น่าสนใจ ได้แก่ ต้องเข้าใจความต้องการ และความจำเป็น...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS