ในบทการนำของมาตรฐานฉบับที่ 4 ได้มีการกำหนดเกณฑ์ข้อใหม่ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางจริยธรรม คือ
“องค์กรจัดให้มีกลไกเพื่อการรับรู้และจัดการกับประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ ด้วยวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสม”
ตัวอย่างประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ เช่น ผู้ป่วยมีความเชื่อว่าการรับเลือดจากผู้อื่นเป็นบาป แต่แพทย์วางแผนการรักษาว่าต้องให้เลือดกับผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยเสียเลือดเป็นจำนวนมาก; ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV แต่ห้ามแพทย์บอกภรรยา เพราะเกรงภรรยาจะตีจาก แต่การที่แพทย์ไม่บอกภรรยา ก็อาจทำให้ภรรยาติดเชื้อ HIV ไปด้วย
วัตถุประสงค์ของเกณฑ์ข้อนี้ ไม่ได้คาดหวังว่าโรงพยาบาลจะมีคำตอบที่ตายตัวสำหรับทุกประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ แต่เป็นการชี้นำให้โรงพยาบาลกำหนดกลไกการทำงานที่เอื้อให้ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจมีการจัดการด้วยวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสม ขั้นตอนที่น่าจะนำมาพิจารณาใช้ในการจัดการ ได้แก่
โรงพยาบาลสร้างกลไกช่วยเหลือทีมผู้รักษาพยาบาลในกรณีที่ทีมอาจมีความลังเลในการตัดสินใจ กลไกเหล่านี้ เช่น แหล่งข้อมูลคำแนะนำของสภาวิชาชีพ รายชื่อแพทย์ที่มีประสบการณ์และพร้อมที่จะให้คำปรึกษา แหล่งข้อมูลทางกฎหมายที่ง่ายต่อการสืบค้น ชื่อผู้มีบารมีในชุมชนที่จะช่วยมองปัญหาและพูดคุยกับผู้ป่วย
สร้างให้ทีมผู้รักษาพยาบาลมีความไวต่อการรับรู้ว่าน่าจะเกิดประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจขึ้น
จำแนกประเด็นทางจริยธรรมที่ขัดแย้งกันออกมาให้ชัดเจนว่าคือประเด็นอะไรบ้าง
หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพิ่มเติมอย่างรอบด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ ถ้ายังไม่มั่นใจก็ติดต่อทีมให้คำปรึกษาที่พร้อมให้คำแนะนำ
ทีมผู้รักษาพยาบาลตัดสินใจให้การดูแลรักษาบนพื้นฐานของเหตุผลและสภาพแวดล้อมที่รับฟังได้
จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าการตัดสินใจดังกล่าวนำไปสู่ผลลัพธ์อะไร และถ้าเผชิญกับประเด็นลักษณะดังกล่าวอีกในอนาคต ควรต้องมีข้อมูลใดเพิ่มและต้องคำนึงถึงอะไรเพิ่มเติม ก่อนการตัดสินใจหรือไม่ และควรตัดสินใจในลักษณะเดิมหรือไม่
Photo by Richard Catabay on Unsplash
การกำกับดูแลทางคลินิก เป็นกรอบที่สถานพยาบาลใช้เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการธำรงคุณภาพและมาตรฐานในงานบริการ ตลอดจนยกระดับคุณภาพงานบริการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้การจัดการงานคลินิกบริการอย่างเหมาะสมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยเสริมสร้างงานบริการที่เป็นเลิศ
ถ้าพูดแบบภาษาง่ายๆก็คือ คณะกำกับดูแลโรงพยาบาล (ถ้าเป็นในโรงพยาบาลเอกชน ก็คือ บอร์ด ส่วนในโรงพยาบาลภาครัฐ โครงสร้างนี้ไม่ชัดเจนนัก อาจเป็นบอร์ด/ อธิการบดี/ อธิบดี/ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) ให้ความสำคัญไม่เพียงแค่นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการเงิน และผลประกอบการของโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญในการกำกับติดตามคุณภาพงานรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้งานรักษาพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพในระดับที่สูงขึ้น องค์ประกอบที่สำคัญของการกำกับดูแลทางคลินิก แสดงไว้ในแผนภาพด้านล่าง
ประเด็นที่มักถูกถามบ่อย คือ
โรงพยาบาลไม่ใช่โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ จึงไม่เกี่ยวกับการศึกษา ใช่หรือไม่คำตอบ ไม่ใช่ เพราะในปัจจุบัน โรงพยาบาลทุกแห่งมีนักศึกษามาฝึกงานอยู่ และมีการเรียนการสอนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย
การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวอะไรด้วยกับการกำกับดูแลทางคลินิก
คำตอบ แนวคิดปัจจุบันเชื่อว่า การเปิดเผยข้อมูลโรงพยาบาลต่อผู้ป่วยและสาธารณะจะกระตุ้นให้โรงพยาบาลต้องทบทวนตนเองบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพงานบริการ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของผู้ป่วยและญาติ ตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูล ได้แก่ การเปิดเผยหรือแสดงข้อมูลบริการสุขภาพที่โรงพยาบาลจัดให้มี การแสดงผลลัพธ์การรักษาโรคต่างๆบน website ของโรงพยาบาล การจัดให้มีช่องทางที่จะรับฟังความคิดเห็นหรือเรื่องร้องเรียน
Photo by Marcelo Leal on Unsplash
ในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 ในบท “การนำ” ได้กำหนดว่า องค์กรมีระบบการกำกับดูแลกิจการที่มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎหมาย มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Institute of Director – IOD) ได้สรุปบทบาทและความสัมพันธ์ของ ผู้ถือหุ้น, บอร์ด และทีมบริหาร ไว้ตามแผนภาพด้านล่าง
กรอบที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์กิจกรรมของบอร์ด คือ Extended Tricker Model
ในโรงพยาบาลภาครัฐ ผู้ที่ทำหน้าที่บอร์ดจะไม่ชัดเจนเหมือนภาคเอกชน ดังนั้น จึงอนุโลมว่าผู้ที่ทำหน้าที่กำกับติดตามประเมินผลงานของโรงพยาบาล (เช่น กรรมการที่มีองค์ประกอบจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคประชาชนร่วมด้วย แต่ถ้าไม่มีเลย ก็อาจจะเริ่มจากกรรมการบริหารโรงพยาบาลไปพลางก่อน) ทำหน้าที่บอร์ด
Photo by Luis Melendez on Unsplash
ทีมงานระดับอำเภอควรกำหนดเป้าหมายง่ายๆด้วย 3P (Purpose-Process-Performance) กำหนดเป้าหมายร่วมกัน หากเป้าหมายไม่ชัดเจนจะทำให้การประสานการทำงานร่วมกันยากลำบาก และยากที่จะรับรู้ผลลัพธ์ของกระบวนการ และการนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานของระบบสุขภาพระดับอำเภอ
คุณค่าที่ได้รับจากการประเมินเครือข่ายเพื่อรับรองระบบสุขภาพระดับอำเภอ (DHSA)
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการเครือข่าย (Effective Network Management)
กระบวนการดูแลที่เป็นองค์รวม เน้นคนเป็นศูนย์กลาง (Integrated People-centered Care)
ระบบการดูแลที่ไร้รอยต่อ (Seamless Healthcare System: Essential Care)
ระบบสนับสนุนบริการสำคัญที่รัดกุมในเครือข่าย (Strengthening Supporting Systems)
เสริมพลังคนทำงาน (Empowerment)
มุ่งเน้นมิติของการส่งเสริมและป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงภัยสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาวะ
สรพ. ยึดมั่นในหลักการสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้กระบวนการประเมินรับรองเป็นกระจกสะท้อนให้เราเห็นโอกาสเรียนรู้ในการพัฒนา โดยการเยี่ยมสำรวจทำให้เกิดพลังในการทำงาน “การประเมินเสริมพลังเป็นกระบวนการเรียนรู้”
ณ 30 พฤศจิกายน 2561 มีระบบสุขภาพอำเภอที่ผ่านการรับรองแล้ว 12 แห่ง คือ อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น, กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์, คอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ, เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย, ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย, เมืองตราด จังหวัดตราด, ท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วานรนิวาส จังหวัดสกลนคร,...
District Health System Accreditation (DHSA) เป็นกระบวนการต่อยอดยกระดับการทำงานที่ทำอยู่แล้วในระบบบริการปฐมภูมิ โดยความเชื่อว่าจุดคานงัดของระบบสุขภาพที่สำคัญของการพัฒนาอยู่ที่ระดับอำเภอ
3C-PDSA กับการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ DHSA
รู้หลัก Concept: (1) การสร้างสุขภาวะ เรียนรู้แนวคิดมุมมองที่กว้างมากขึ้น ทำอย่างไรให้คนในพื้นที่มีความสุขและสุขภาพดีไม่เจ็บไข้ได้ป่วย (2) Seamless Healthcare ระบบการดูแลสุขภาพที่ไร้รอยต่อ บูรณาการเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายและชุมชน เสริมพลังการจัดการตนเองของพื้นที่ การใช้ flow chart ช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงของระบบและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศ (3) UCCARE หลักแนวคิดการบริหารจัดการร่วมของระบบสุขภาพระดับอำเภอ โดย DHSA จะเป็นกระบวนการเชื่อมโยงระหว่าง HA กับ UCCARE เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอที่มีประสิทธิภาพ
รู้โจทย์ Context: เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอเรียนรู้บริบทของพื้นที่ร่วมกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับรู้ความสำเร็จ กระบวนการสำคัญคือการใช้ข้อมูลปัญหาของพื้นที่เป็นตัวกำหนดประเด็นสำคัญที่จะขับเคลื่อนโดยภาคีเครือข่ายระดับอำเภอและชุมชนมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ การประเมิน DHSA จะทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อน เพื่อให้เครือข่ายมองเห็นบริบทของตนเองชัดเจนมากขึ้น เรียนรู้เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้เหมาะสมกับบริบทของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง มีการวัดประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ ค้นหาจุดแข็งและโอกาสพัฒนาในเชิงระบบในภาพรวมระดับอำเภอ โดยการบริหารจัดการของทีมนำเครือข่าย DHS
รู้เกณฑ์ Criteria: ใช้มาตรฐานในการสร้างคุณค่าให้กับการขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ โดยมาตรฐานเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ ประกอบด้วย 10 หมวดมาตรฐาน (ทีมนำ, ยุทธศาสตร์, การมุ่งเน้นประชาชนในพื้นที่,...
Quality Tips
การประเมินรับรองเครือข่ายบริการสุขภาพระดับจังหวัด Provincial Network Certification
administrator -
การจัดบริการสุขภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพนั้น นอกจากแต่ละสถานพยาบาลจะต้องมีคุณภาพและได้มาตรฐานแล้ว สถานพยาบาลยังต้องมีระบบการประสานงานและการส่งต่อผู้ป่วยที่ดี รวมถึงการพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ร่วมกันภายในเครือข่ายบริการสุขภาพด้วย ซึ่ง สรพ. ตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงได้พัฒนาการรับรองเครือข่ายบริการสุขภาพระดับจังหวัดขึ้น
การประเมินรับรอง Provincial Network Certification (PNC) จะดำเนินการกับจังหวัดที่มีโรงพยาบาลภายในเครือข่ายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน HA จำนวนตั้งแต่ 2 ใน 3 ขึ้นไป และมีการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยที่เป็นเป้าหมายของเครือข่ายตามแผนงาน Service Plan ของกระทรวงสาธารณสุข จนมีผลงานโดดเด่น และต้องการยกระดับการพัฒนาการดูแลโรคนั้นสู่ระดับที่สูงขึ้น
มาตรฐานสำหรับการประเมินรับรอง PNC เป็นอีกฉบับแยกออกไปจากมาตรฐาน HA ซึ่งหลักการ การจัดเรียงบท และข้อกำหนดโดยรวม จะคล้ายคลึงกับมาตรฐาน HA แต่มีการสอดแทรกแนวคิดในเรื่อง Service Plan และการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพิ่มเติมเข้าไป
การเยี่ยมสำรวจ PNC จะครอบคลุมตั้งแต่โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในชุมชน เพื่อดูความเชื่อมโยงและการประสานงานของกระบวนการดูแลผู้ป่วยทั้งหมด
ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 มีจังหวัดที่ผ่านการประเมินรับรอง PNC ดังนี้
- จังหวัดอุดรธานี เรื่องการจัดระบบบริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และการจัดระบบบริการโรคหลอดเลือดสมอง
- จังหวัดปัตตานี เรื่องการจัดระบบบริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- จังหวัดอำนาจเจริญ เรื่องการจัดระบบบริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- จังหวัดขอนแก่น เรื่องการดูแลก่อนถึงโรงพยาบาลและระบบการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร
-...
เพื่อส่งเสริมการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยในมิติด้านจิตวิญญาณ และยกย่องชมเชย ให้กำลังใจ และสร้างโรงพยาบาลต้นแบบในด้านนี้ สรพ. ได้มีการพัฒนามาตรฐาน SHA ขึ้น โดยมาตรฐาน SHA มีแนวคิดและค่านิยมหลักอยู่ 4 ประการ คือ
Inspiration สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมีจินตนาการ มีพลังที่จะสร้างสรรค์และทุ่มเท เพื่อยกระดับคุณภาพบริการ
Spiritual responsiveness บุคลากรใส่ใจต่อการเยียวยาความทุกข์ของผู้คน
Reflection and refinement เกิดระบบงานที่มีการสื่อสาร ทบทวนสะท้อนความคิด รับฟังซึ่งกันและกัน
Human growth ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาพยาบาลได้เติบโตทางจิตวิญญาณ เติบโตไปถึงศักยภาพที่สูงสุดของตน งอกงามไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
มาตรฐาน SHA มีทั้งหมด 4 หมวด คือ
หมวดที่ 1 การนำและระบบสนับสนุน มีระบบการนำและระบบสนับสนุนที่ส่งเสริมการดูแลที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางและบูรณาการกับมิติด้านจิตวิญญาณ
หมวดที่ 2 แรงบันดาลใจของทีมผู้ให้บริการ บุคลากรทำงานด้วยความตระหนักในคุณค่าและความหมายของงาน มีความไวในการรับรู้และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ด้วยความรักในเพื่อนมนุษย์
หมวดที่ 3 การดูแลที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางและบูรณาการมิติด้านจิตวิญญาณ มีการประเมินและตอบสนองปัญหา/ ความต้องการสุขภาพที่เป็นองค์รวม โดยผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนในการวางแผนและการตัดสินใจร่วมกัน
หมวดที่ 4 สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา มีโครงสร้างทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัย การมีปฏิสัมพันธ์ การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพ การเยียวยา และการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
Photo by...
ระบบบริการสุขภาพของไทยมีการดูแลผู้ป่วยด้วยความเอาใจใส่และเอื้ออาทรเป็นพื้นฐานมาแต่ดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การดูแลผู้ป่วยต้องลงรายละเอียดในมิติของโรค (disease-oriented) มากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยในมิติอื่นๆที่ไม่ใช่ทางด้านร่างกาย ได้รับความสำคัญลดลงไป จนในที่สุดส่งผลให้การดูแลรักษาไม่เป็นองค์รวม และมีผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยของการให้บริการ
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) : สรพ. เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมและให้ความสำคัญกับผู้คนที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ญาติ ชุมชน หรือบุคลากรทางการแพทย์ จึงได้จัดทำโครงการ Spiritual Healthcare Appreciation & Accreditation (SHA) ขึ้นในปี 2551 และได้มีการดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแนวคิด/ เครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนามิติด้านจิตวิญญาณในบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่
การฝึกสติและใคร่ครวญเพื่อพัฒนาตนเอง ผ่านการเจริญสติขณะทำงาน ระฆังสติ การรับรู้คุณค่าของงานที่ตนเองทำอยู่ เรื่องเล่าเร้าพลัง (story telling) และการทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์
การฝึกการสร้างความสัมพันธ์ ทั้งในด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) การสำรวจประสบการณ์ของผู้ป่วย (patient experience survey) และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตไปสู่วิถีสร้างสุข
การดูแลและเยียวยาผู้ป่วย โดยการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา (healing environment) และใช้ศิลปะต่างๆ (เช่น การวาดภาพ ดนตรี การถ่ายทำหนังสั้น) เข้ามาช่วยในการดูแลผู้ป่วย
Photo by...
DSC เป็นการประเมินรับรองระบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือบริการสุขภาพเฉพาะกลุ่ม เช่น การผ่าตัด การใช้ intervention หรือกระบวนการดูแล โดยโรงพยาบาลตั้งแต่บันไดขั้นที่ 2 ขึ้นไป สามารถขอรับการประเมินรับรอง DSC ได้
มาตรฐาน DSC ที่ สรพ.มีการพัฒนาขึ้นเป็นฉบับแรก คือ เกณฑ์ประเมินรับรองศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง สรพ. กับสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย แต่ต่อมา เนื่องจากมีการขอรับการประเมินรับรอง DSC ในกลุ่มโรคที่หลากหลาย สรพ. จึงได้มีการพัฒนามาตรฐานกลางของ DSC ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการประเมินรับรอง DSC ทุกกลุ่มโรค
ในการเยี่ยมสำรวจ DSC สรพ. มักจะเชิญผู้เชี่ยวชาญโรคนั้นๆ เข้ามาเป็นผู้เยี่ยมสำรวจร่วมกับผู้เยี่ยมสำรวจปกติของสถาบัน โรงพยาบาลที่ผ่านการประเมินรับรอง DSC ควรจะมีผลการดูแลในด้านนั้นที่โดดเด่น และเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
การรับรอง DSC มักจะส่งผลให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของโรงพยาบาลแห่งนั้นเข้ามาร่วมในกระบวนการคุณภาพของโรงพยาบาลมากขึ้น และสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของโรงพยาบาลแห่งนั้น
ในปัจจุบัน การประเมินรับรอง DSC ครอบคลุมหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อเพศสัมพันธ์ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี การดูแลรักษาผู้ป่วยผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะตับ การดูแลรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แบบบูรณาการ การดูแลรักษาผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ
Photo by Natanael Melchor on...
HA National Forum 20
ควันหลง HA 20th: ผลสำรวจ 10 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
QualityCare -
การสำรวจจากผู้เข้าร่วมประชุม HA National Forum ครั้งที่ 20: “Change and Collaboration for Sustainability” มีผู้ตอบจำนวน 226 คน ส่วนใหญ่มาจากรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 65%
คำถามเป็นการประเมินตนเอง ใน 10 ประเด็น ที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้การพัฒนาคุณภาพ/การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล/องค์กร เป็นไปอย่างยั่งยืน ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจะให้คะแนนองค์กรของตนเอง จาก น้อยที่สุด = 0 คะแนน จนถึงมากที่สุด = 3 คะแนน ในคำถามแต่ละข้อดังนี้
1. ทุกคนมีส่วนในการเปลี่ยนแปลง รู้สึกเป็นเจ้าของในกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ และแสดงความเห็นได้อย่างเสรี (engagement)
2. ผู้นำสามารถใช้ทักษะการพัฒนาคุณภาพ ร่วมกับการสร้างสัมพันธ์ระดับบุคคล เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (leadership)
3. มีการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงโดยเชื่อมโยง activities, outputs และ outcomes ให้เกิดการเรียนรู้อย่างครบวงจร (evaluation)
4. ผู้นำเข้าใจวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมคนในองค์กร (culture)
5. คนในองค์กรเข้าใจถึงปัญหาที่ต้องการเปลี่ยน มีส่วนร่วมในการออกแบบ และทดสอบการเปลี่ยนแปลง (change management)
6. ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน...