วันพุธ, ตุลาคม 23, 2024
โครงการเล็กๆ แต่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย 20 ปีที่มาคลุกคลีกับ HA นะคะ คิดว่าคนแรกที่อยากขอบคุณก่อนคนอื่นก็คงเป็นอาจารย์อนุวัฒน์ จากจุดเริ่มต้นที่อาจารย์อนุวัฒน์ตั้งไว้ มันก็ออกดอกออกผล จนกระทั่งเกิดสำนักงาน เกิดทีมงานอะไรต่างๆ มันก็ทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ต่างๆขึ้นมา ส่วนใหญ่มันมาด้วยใจและก็สร้างด้วยใจ รู้จักซึ่งกันและกันก็เข้าใจกัน เพราะทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน แล้วก็มาทำร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆ อันนี้ก็ทำให้เกิดคุณค่า มันเป็น HA ที่มีคุณค่าและทำให้รู้สึกว่าเรารักและผูกพันมาก   เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าจากโครงการเล็กๆ มันเกิดพลังอันยิ่งใหญ่กับประเทศไทย สมัยก่อนก็จะมีการมาสรุปประเมินจูนกันตลอดเวลา อันนี้มันก็ทำให้  Learning ซึ่งกันและกัน แล้วก็ได้เครือข่ายเน็ตเวิร์ค คิดว่าตอนนี้ประเทศไทยเปลี่ยนไปเยอะ มันเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก แล้วอันนี้มันก็เลยเป็นแรงบันดาลใจว่าเกษียณออกไปแล้ว ทำไมทำอยู่ เพราะมันเป็นสิ่งที่มีคุณค่านะ แล้วก็มันทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในระบบ Health Care เกิดขึ้น   คิดว่าตอนนี้องค์กรมันโตขึ้นคนเยอะ  มันไม่เหมือนสมัยก่อนเพราะฉะนั้นมันก็ จะเริ่มมีโครงสร้างงานมีฝ่ายต่างๆเยอะขึ้น สมัยก่อนมันก็จะเป็นคนเดียวดูหมดทุกส่วน เพราะว่ามีทั้งส่วนส่งเสริมพัฒนา ส่วนของประเมิน ส่วนของวิทยากร อะไรแบบนี้ เพราะคนน้อยก็จะคุยกันบ่อยแล้วก็เอามาจูนกันแล้วก็มีคนดูภาพรวมอยู่คนเดียว และหลังจากนั้นก็จะมีน้องๆที่เคยเป็นน้องประสาน เค้าโตขึ้นมาเป็นคนดูแล มีอะไรคุยกันแล้วก็มีความรักความสามัคคีกัน เพราะเป็นแบบนั้นมันทำให้งานแต่ละฝ่าย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน   หรือถ้าประเมินไปทางนี้ ไปเยี่ยมแล้วเจอปัญหาอะไรเราก็มาคุย จะส่งเสริม ควรจะปรับหลักสูตรอะไร  ในส่วนของบริหารจะซัพพอร์ตอะไร  มันทำให้บรรยากาศการทำงานทำให้คนอยากทำ ถึงเหนื่อยก็ยังอยากทำ ส่วนใหญ่สมัยก่อน 90% ไม่มีใครกลับบ้านเร็วอยู่เย็นตลอด  ก็ช่วยกันทำ ทุกคนไม่ได้บ่นแต่ทุกคนเห็นคุณค่าในการทำงาน   ตัวที่เป็นแรงผลัก...
เกินความคาดหมาย แต่ยังหยุดไม่ได้ “ตอนนั้นรู้สึกจะเป็นนายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล  ก็ได้ออกไปในโรงพยาบาล ในสังกัดของรัฐ ได้เห็นอะไรมากมายแล้วก็มีความรู้สึกว่า ทำไมแต่ละเเห่ง  การทำงานมันไม่ค่อยเหมือนกัน มีอะไรหลายๆอย่างซึ่งน่าจะเป็นบทบาทของเภสัช  แต่เภสัชไม่ได้ทำ น่าจะเป็นบทบาทใน เชิงปฎิบัติเชิงการวิชาชีพ มากกว่านี้ไหม    ก็เลยช่วยกันทำมาตราฐานเภสัชกรรมโรงพยาบาลและเราก็เริ่มมาเห็นว่า เราน่าจะเอาอันนี้นำ ลงสู่การปฏบัติในโรงพยาบาล” รศ.ภญ.ธิดา นิงสานนท์  เล่าถึงจุดเริ่มต้น   บังเอิญที่มีมาตรฐานโรงพยาบาลจากอาจารย์อนุวัฒน์  มันก็สอดรับกันพอดีเราก็เลยรู้สึกว่ามีกำลังใจ เพราะว่าในการที่ จะนำ HA ลงปฏิบัติในโรงพยาบาล    ระยะแรก อาจจะยังเป็นเรื่องของสมัครใจเฉยๆ เเต่พอระยะหลังมันเป็นนโยบาย  ซึ่งโรงพยาบาลต่างๆก็มาร่วมกันให้ความร่วมมือและผลักดันเรื่องของมาตรฐานวิชาชีพ  เพราะคิดว่า วิชาชีพเราน่าจะปฏิบัติวิชาชีพกับผู้ป่วยได้มากกว่าที่เป็นอยู่  ในอดีตเภสัชกร แทบจะไม่เคยเจอคนไข้เลยนะคะ ก็เช็คยาอย่างเดียวส่งให้   ผู้ช่วยเอายาให้กับคนไข้ ไม่มีการเเนะนำ ไม่มีการซักประวัติเรื่องแพ้ยา  เราก็อยู่ในห้องสี่เหลี่ยม ไม่เคยเจอคนไข้   เภสัชกรน่าจะเจอกับคนไข้บ้างนะ นะคะเพราะเราจะได้ช่วยได้หลายๆ เรื่องเลยแม้เเต่การช่วยสกรีนนิ่งในเรื่องการสั่งยาของแพทย์   ซึ่งมันเป็นแรงบันดาลใจหลายๆอย่าง พอเราสามารถที่จะแก้และทำให้มันเป็นไปตามมาตรฐานได้ มันก็เป็นกำลังใจ ตัวเองก็อยากจะทำงานต่อ ผลักดันงานต่อไปให้มันเป็นไปตามมาตรฐานเรื่อยๆ ก็มี Process จะทำยังไงเราก็ช่วยกันคิดแล้วก็ เข้าไปดูว่าอะไรที่มันเหมาะกับสถานการณ์หรือบริบท ในโรงพยาบาล อันนี้ต้องยอมรับเลยว่า HA  มีส่วนมาก ถ้าเกิดไม่มีเรื่องนี้เข้ามาอยู่ด้านหลังและผลักดัน เราจะมาไม่ได้จนถึงทุกวันนี้ค่ะ เพราะว่าลำพังของเภสัชกรเองเราไม่มีพลัง พอที่จะไปทำให้ผู้บริหารเขายอมเปลี่ยนแปลง”   อันนึ่งคิดว่าเป็นเพราะการที่ทำกิจกรรมนักศึกษาตอนนั้นเป็นคณบดีของฝ่ายกิจการนักศึกษาอยู่เจ็ดปี คือเจอกับเด็กสารพัดรูปแบบต้องช่วยเค้าจริงๆในการแก้ปัญหาแม้แต่ ปัญหาชีวิต คือสารพัดรูปแบบเลย...
หน้าที่หลักขององค์กรแพทย์ คือ ช่วยเหลือผู้ป่วย “ ความจริงผมเกษียณแล้วจากตำแหน่งอธิบดี ” นพ.ปัญญา สอนคม เริ่มเล่าด้วยรอยยิ้ม “ แต่บังเอิญว่าในขณะที่เป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ผมคิดว่าการที่จะทำแลปหรือว่าห้องปฎิบัติการ อาหาร ยา เครื่องสำอาง สมุนไพร อะไรต่างๆ      ถึงแม้ว่าจะเป็นหน้าที่ของกรมก็จริง แต่เมื่ออุตสาหกรรมเหล่านี้มันขยายใหญ่ขึ้น กรมก็จะทำไม่ไหว เพราะฉะนั้นกรมก็ควรจะผ่องถ่ายหน้าที่ไปให้องค์กรเอกชน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็จะเป็นผู้ควบคุมมาตรฐานของห้องปฎิบัติการเหล่านั้นอีกทอดนึ่ง จากความคิดอันนี้เราก็เลยติดต่อ ต่างประเทศและพยายามสร้างมาตรฐานขึ้นมาเพื่ออบรม คนในกรมวิทย์ให้คุ้นเคยกับมาตรฐานก่อน  ผมทำอย่างนี้ประมาณปีกว่า ก็เกษียณอายุราชการ” “ตอนนั้นเรามีศิษย์เก่าของกรมซึ่งไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศและบางคนก็สำเร็จแล้วได้ทำงานอยู่ที่นั้น  ก็กระตือรือร้นอย่างมากที่จะมาช่วย ก็ติดต่อ องค์กร  FDA เพราะว่าในอเมริกานั้น FDA เค้าทำแลปเอง  ควบคุมเอง ไม่เหมือนของเราซึ่งจะเป็น อย. ตอนนั้นผมทำงานเป็นผู้ดูแลห้องปฏิบัติการของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เป็นห้องปฎิบัติสาขาโรงพยาบาลเทพธารินทร์ อาจารย์เทพ ซึ่งเป็นเจ้าของ แกเป็นคนหัวก้าวหน้า แกเชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศแคนดามาช่วย   ปรับปรุงคุณภาพของโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ซึ่งมีชื่อเสียงมากในการรักษาโรคเบาหวาน ในการประชุมครั้งนั้นผมจึงได้เจอ คุณหมออนุวัฒน์ และในที่สุดก็ได้มาทำโปรเจคนี้ร่วมกัน” และนั่น คือจุดดเริ่มต้น ของโปรเจคนี้ “ช่วงนั้น  เราต่างก็ยังไม่รู้เรื่องอะไรกันเลย เราก็แลกเปลี่ยนกัน เชื่อมั้ย ว่าตั้งแต่เราแลกเปลี่ยนกันใช้เวลา 4-5 ชั่วโมงเลย ผมซึ่งไม่มีความรู้ทางด้านเภสัชมาก่อนก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์ธิดา  ผมเองก็มีแต่ความรู้ทางด้านบริหารโรงพยาบาล ไม่ใช่ Back Office...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS