รัตติกร วุฒิกร (บ.คลับ ครีเอทีฟ จำกัด), จุฑาธิป อินทรเรืองศรี (สรพ.)
เชื่อว่าทุกท่านที่ทำงานในระบบสุขภาพ เคยประสบปัญหา การพยายามจัดกิจกรรม สอน ให้ความรู้ เพื่อมุ่งหวังให้กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง แต่เมื่อจัดกิจกรรมเสร็จ การเปลี่ยนแปลงก็จบ วนซ้ำกลับสู่พฤติกรรมแบบเดิม บทความนี้อาจเป็นทางออกในการออกแบบกิจกรรม ให้เข้มแข็งขึ้น ทรงพลังมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยโน้มน้าว กลุ่มเป้าหมายและเหนี่ยวรั้งให้เกิดทัศนคติใหม่ หรือพฤติกรรมใหม่ที่แข็งแรงมากขึ้น
Nike...เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นนักวิ่งมืออาชีพ โดย Gamification
Nike ตั้งเป้าหมายหลักคือการสร้างนักวิ่งมืออาชีพ โจทย์หลักคือจะเชิญชวนให้คนธรรมดา หันมาสนใจการวิ่งได้อย่างไร Nike จึงใช้เกมเป็นเครื่องมือสำคัญ โดยอาศัยข้อมูลต่างๆของผู้เล่น ออกแบบการนำเสนอข้อมูล เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในแต่ละวัน เช่น ระยะทาง ความเร็ว ระยะเวลา พลังงานที่เผาผลาญ กระตุ้นให้ผู้เล่น “สนุก” กับการพิชิตเป้าหมายและพัฒนาตัวเองขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังออกแบบให้เกิดการสื่อสารข้อมูลในกลุ่มเพื่อน หรือใน “สังคมนักวิ่ง” สามารถแลกเปลี่ยน เปรียบเทียบข้อมูลได้ ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นนักวิ่งมืออาชีพต่อไป
Gamification คืออะไร
Gamification เป็นการนำเอาหลักการและแนวคิดของเกมมาผนวกรวมเข้ากันกับการใช้บริการอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้ผู้ใช้เกิดความสนุกในการใช้ เกิดความรู้สึกผูกพัน และสร้างชุมชนเสมือนของสาวกผู้ใช้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดการแข่งขันกันเป็นที่สุดของอะไรก็ตาม โดยเริ่มจากการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย หรือเข้าใจผู้เล่น เข้าใจลักษณะเนื้อหาหรือองค์ความรู้ที่เราต้องการจะสื่อสารหรือย่อยให้ผู้เล่นว่าเป็นลักษณะใด เพื่อนำมาออกแบบรูปแบบ หรือวิธีการเล่น เพิ่มการเรียนรู้ทั้งองค์ความรู้...
“พชอ. เป็นอีกก้าวหนึ่งของการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความเข้มแข็ง ให้มาบูรณาการความร่วมมือกัน ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ของประชาชนในพื้นที่ และการสร้างความเข้าใจให้กับทุกคนเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความร่วมมือดังกล่าว”
DHB คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นกลไกใหม่ ที่ใช้คนทำงานเดิม ใช้ต้นทุนเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ แต่มีวิธีการจัดการแบบใหม่โดยใช้ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีในการดำเนินงานที่ทำให้เกิดความยั่งยืน
พชอ. ไม่ได้เกิดจากความคิดของคนส่วนกลาง แต่คนคิด คือนักวิชาการจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ที่คิดปฏิรูปประเทศ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง “เรื่องชีวิต ไม่ใช่เรื่องหยูกยา ไข้ หมอ แต่เป็นการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่” เป็นการดูแลสุขภาพ ที่ทำให้เกิดการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ของประชาชนที่เกิดประโยชน์ และเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ทำให้มีการทำงานแบบบูรณการอย่างเป็นรูปธรรม
พชอ. เป็นวิวัฒนาการของการจัดการร่วมกัน โดยมีเป้าหมายชัดเจน คือ คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ที่ดี มีการขับเคลื่อนการทำงานโดยมีความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ทั้งส่วนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นการทำงานที่ “เข้าใจปัญหา เข้าถึงความทุกข์ รู้ข้อจำกัด และคิดวิธีการแก้ไขที่ตรงจุด” เป็นความร่วมมือของคนในพื้นที่ ที่สามารถดูแลสุขภาพของประชาขนได้ในระดับบุคคล ภายใต้แนวคิด “คนอำเภอเดียวกัน ไม่ทอดทิ้งกัน”
หัวใจในการทำงาน ของ พชอ. คือ
⬥ ถ้าถามคนในพื้นที่แล้ว ทุกคนบอกว่า “ใช่” จะทำให้การทำงานของคณะกรรมการมีคุณภาพ
⬥ จากประสบการณ์ในพื้นที่ ไม่ต้องทำหลายเรื่อง แต่ขอให้เป็นประเด็นชัดๆ แล้วนำมาขับเคลื่อนการทำงานต่อ
กลไกของ พชอ. เป็นตัวชี้ทิศ...
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
วิทยากรได้กล่าวถึง ทฤษฎี ตัวอย่าง และความคิดเห็นส่วนตัว ต่อระบบบริการสุขภาพที่ควรจะเป็นของไทย
เริ่มจากทฤษฏีใน หนังสือ Medicine’s Dilemmas: Infinite Needs Versus Finite Resources โดย William Kissick กล่าวถึง Iron Triangle of Health Care ที่แสดงองค์ประกอบ และความเชื่อมโยงของระบบบริการสุขภาพ ที่หลายประเทศใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบสุขภาพของตน โดยมีส่วนสำคัญคือ Access, Quality และ Cost
Access การเข้าถึงบริการสุขภาพ แต่ละประเทศต้องตีความ เข้าถึงแพทย์ระดับไหน (ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องมองว่าเป็น partner กันไม่ใช่คู่แข่งกัน)
Quality คุณภาพระดับไหน ที่เป็นที่ยอมรับ เป็นเพียงความสะดวกสะบาย หรือคุณภาพจริง ๆ องค์กรต่างๆ เช่น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล สภาวิชาชีพ สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการประกันคุณภาพของระบบบริการสุขภาพได้
Cost ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มาจากกองทุนต่าง ๆ ของภาครัฐ หรือภาคเอกชน
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงรายละเอียดประเด็นการเข้าถึงบริการสุขภาพที่น่าสนใจ ได้แก่ ต้องเข้าใจความต้องการ และความจำเป็น...
โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (มูลนิธิชัยพัฒนา)
ศาสตร์แห่งพระราชาคือศาสตร์แห่งชีวิต มีความหมายอย่างไร ที่ผ่านมาคนทั่วไปอาจจะ “เห็นแต่ไม่เคยมอง” “ได้ยินแต่ไม่เคยฟัง” เราเคยลองย้อนถามตัวเองหรือไม่ ว่าการได้เห็นพระองค์ท่านแต่ละครั้ง พระองค์ท่านกำลังเสด็จไปไหน ไปทำอะไร การได้ยินพระองค์ท่าน ได้ฟังสิ่งพระองค์ท่านได้สอนหรือไม่ การได้ตามถวายงานกับพระองค์ท่านเหมือนกับการได้เรียนงานกับท่านในทุกๆ วัน ผ่านการ มองทุกอย่างที่ท่านทำอย่างพินิจพิเคราะห์ จดทุกสิ่งที่ท่านทำ และสรุปทุกอย่างที่ท่านคิด คือ วางแผนการป้องกันในอนาคตจากสิ่งที่ทำในปัจจุบัน
พระราชดำรัส “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เป็นประโยคที่สวยงามและถูกต้องที่สุด การครองแผ่นดิน หมายถึงการดูแลด้วยความปรารถนาดี ไม่ใช้อำนาจปกครอง เพื่อประโยชน์สุข หมายถึงคุณค่าอยู่ที่การเกิดประโยชน์และความสุขของประชาชน พระองค์ท่านสอนให้มองธรรมชาติด้วยปัญญา จะมองเห็นคุณค่าของธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ คือ ต้นตอแห่งชีวิต ที่ควรบริหารตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง หากมองธรรมชาติ ดินน้ำป่าเขาเป็นทรัพยากรธรรมชาติ จะมองเห็นเป็นทรัพย์สิน
คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ในมุมมองตามศาสตร์พระราชา คุณค่า หมายถึง คุณค่าของประโยชน์ที่เกิดขึ้น คุณค่าอยู่ที่ว่าใช้อย่างไร ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือไม่ อย่าหลงไปกับเงิน, คุณภาพ หมายถึง เราได้เอื้อประโยชน์การบริการให้คนอื่นหรือไม่ เราบริการคนอื่นอย่างไร และ คุณธรรม หมายถึง...
นพ. พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ (รพ.หาดใหญ่)
พ.ท. ธนรัฐ ลำจวน (รพ.ค่ายขุนจืองธรรมิกราช)
อำพัน วิมลวัฒนา (วชิรพยาบาล)
ความคาดหวังของผู้บริหารต่อศูนย์พัฒนาคุณภาพในอุดมคติ
มีความคิดเชิงบวก ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก (“Can do” attitude)
มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน และทีมงาน
มีความเพียร เชื่อมั่นในความสำเร็จร่วมกันขององค์กรอย่างยั่งยืน
เข้าใจ ความต้องการของผู้บริหาร และบุคลากร
มีมุมมองร่วมกัน กับผู้บริหาร และบุคลากรในองค์กรที่ตรงกันและถูกต้อง
สื่อสาร ชักจูง กระตุ้น แผนกและทีมคร่อมสายงานต่างๆ ให้เดินไปในทิศทางที่องค์กรต้องการ
สร้างคุณค่าในตัวเอง
พัฒนาคุณภาพของตนเอง ตั้งเป้าหมาย วางแผน ทบทวน ปรับปรุงกระบวนการที่ทำอยู่ให้ดีขึ้น
บทบาทหน้าที่ของศูนย์คุณภาพในอุดมคติ
ประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพในทุกระดับ ตั้งแต่องค์กร ระบบงาน และหน่วยงาน
ประเมินวัฒนธรรมองค์กร บรรยากาศขององค์กร สร้างบรรยากาศในการพัฒนาที่ “กระชุ่มกระชวย”
วางแผนในการพัฒนาคุณภาพ ให้ข้อเสนอแนะกับทีมนำ ประเมินผลอย่างเป็นระบบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
วิเคราะห์ และพัฒนางานของศูนย์คุณภาพเอง
สมรรถนะของศูนย์คุณภาพ
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะ facilitator การสร้างทีมงาน ที่มีประสิทธิภาพ คนทำงานมีความสุข
ทักษะการสร้างความผูกพันในองค์กรที่ดี
ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา และโอกาส
Designed by...
Smart Leadership 4.0
โดย ดร.ธานินทร์ สุวงศ์วาร และ นพ.มนตรี แสงภัทราชัย
วิทยากรทั้งสองท่าน ได้แลกเปลี่ยนหลักการการเป็นผู้นำ smart leadership 4.0 โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ การ coaching และงานวิจัยต่าง ๆ
Smart leader 4.0 ไม่ใช่เพียงแค่มีความรู้ความสามารถในงานที่รับผิดชอบเท่านั้น แต่ต้องสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญที่ทั้งเจ้าขององค์กร และลูกน้องต้องการเหมือนกัน คือ คนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง หรือมีความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ซึ่งมี 5 องค์ประกอบคือ
- Self-awareness (รู้จักตนเอง ทั้งจุดแข็ง จุดที่ต้องปรับปรุง)
- Self-regulation (ควบคุมตนเองได้ ทั้งด้านอารมณ์ และการปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง)
- Social skill (มีทักษะในการปฎิสัมพันธ์ และชี้แนะผู้อื่นได้)
- Empathy (มีความเห็นอกเห็นใจ)
- Motivation (สรัางแรงบันดาลใจให้ทั้งตนเอง และผู้อื่นได้)
นอกจากนั้น smart leader 4.0 ต้องเข้าใจ megatrends คือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ใช่เพื่อการปรับตัวที่เท่าทันกระแสสังคมขององค์กร เท่านั้น แต่รวมถึงนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่ผู้อื่นด้วย (Leading change)...
ก้าวคนละก้าว....ที่เรายังก้าวต่อไป
เรียนรู้คุณภาพของทีมก้าวผ่าน "PDCA"
Plan วางแผน ตามฝัน รู้จักตนเอง ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน สื่อสาร สร้างทีม กำหนดเส้นทาง บริหารทรัพยากรและความเสี่ยง
Do พี่ตูนและทีมนักวิ่งออกวิ่งจากเบตงสู่แม่สาย ทีมแพทย์ดูแล สภาพร่างกาย ตลอดเส้นทางทีมรักษาความปลอดภัย ดูแลสวัสดิภาพระหว่างเส้นทาง ก้อย รัชวิน ดูแลและเสริมแรงใจ ฯลฯ
ระหว่างการเดินทาง มีการหมุนวงล้อ PDCA ในทุกวันเช่น
ระยะทางที่วิ่งในแต่ละวัน
P: กำหนดระยะทางในแต่วัน
D: ออกวิ่ง
C: ระยะทางที่วิ่งได้กับเป้าหมายที่ตั้งไว้
A: ลดวันพัก เพิ่มวันวิ่ง
ความพร้อมของร่างกายผู้ร่วมวิ่ง
P: เตรียมทีมแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ตลอดระยะทางในการวิ่ง
D: ตรวจสภาพร่างของผู้ร่วมวิ่ง
C: ประเมินความพร้อมด้านกายของผู้ร่วมวิ่ง
A: ให้การรักษาที่เหมาะสมแก่นักวิ่งแต่ละคน
Check ทบทวนผลลัพธ์ ระยะทางและยอดบริจาค เกิดปรากฏการณ์เกินความคาดฝัน
Act การขยายผลการพัฒนาระบบสุขภาพไทย และใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเอง
Designed by Freepik
HA National Forum 19
A value driven approach on healthcare accreditation in the future
administrator -
ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล นายแพทย์กิตตินันท์ ได้กล่าวถึงทิศทางและยุทธศาสตร์ "4 พลังสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การประเมินและการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล มีการปรับปรุงกระบวนการเยี่ยมสำรวจเพื่อรองรับการขยายตัวของโรงพยาบาล สร้างผู้เยี่ยมสำรวจใหม่ มีการปรับมาตรฐาน แบบประเมินตนเอง รวมถึงระบบการให้คะแนน นอกจากนี้กำลังพัฒนา Minimal requirement เพื่อการปฏิบัติสำหรับทุกโรงพยาบาล ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่เป็นการปฏิบัติตามมาตรฐาน และตามบริบท สำหรับ surveillance survey จะมีการเยี่ยมแบบ remote โดยใช้เทคโนโลยี รวมถึงขยายการรับรอง Advanced HA และ DHSA ให้มากขึ้น
ยุทธศาตร์ที่ 2 สร้างเครือข่าย Quality Learning Network มากขึ้นเพื่อสอนและกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในเครือข่าย และสร้างกลไกระดับพื้นที่โดยปลูกฝังงานคุณภาพให้อยู่ในงานประจำเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนางานวิชาการ สร้างคลังความรู้ ผลักดัน “SIMPLE” ขยายจาก ผู้ป่วยปลอดภัยให้ครอบคลุมเจ้าหน้าที่ปลอดภัย (2P safety goal) และสร้าง National Reporting and Learning system ให้มีการรายงานความเสี่ยงของโรงพยาบาลทั่วประเทศเข้าสู่ส่วนกลางเพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปสร้าง Minimal requirement ต่อไป...
อาจารย์อนุวัฒน์ ได้กล่าวถึง ตรีคุณแห่งการบริบาลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ คือใช้หลัก คุณภาพ คุณค่า คุณธรรม
คุณภาพ คือ การตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ อยู่บนพื้นฐานของวิชาการ และคงเส้นคงวา
คุณค่า ขึ้นอยู่กับมุมมองว่า มุมมองของผู้รับป่วย ผู้รับประโยชน์ ซึ่งประโยชน์ 3 อย่าง ได้แก่ ประโยชน์ที่ผู้ป่วย องค์กร และคนทำงานได้รับ เพื่อให้คนทำงานเป็นทั้งผู้ให้บริการและเรียนรู้จากงานที่ตนเองทำ
คุณธรรม ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นต้องมีคุณธรรม ซึ่งคุณธรรม ≠ จริยธรรม (จริยธรรมสามารถเห็นได้จากการกระทำของเรา, คุณธรรมนั้นอยู่ในจิตใจของเรา)
สมการคุณค่า
หลัก คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ใช้ภาษาง่ายๆ "ดูคน ดูไข้ ดูคุ้ม"
คุณภาพและคุณค่าในการดูแลคน (Social objective) สอดคล้องกับมิติคุณภาพ People-centeredness, Accessibility และ Continuity
คุณภาพและคุณค่าในการดูแลความเจ็บป่วย เรียกง่ายๆ ดูไข้ คือการมุ่งแก้ปัญหาผู้ป่วยให้การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทันเวลา ให้การรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย สอดคล้องกับมิติคุณภาพ Appropirateness, Effectiveness, Safety
คุณภาพและคุณค่าในการดูแลผู้ป่วยให้คุ้มค่า “ดูคุ้ม” สอดคล้องกับมิติคุณภาพ Efficiency ซึ่งต้องดู evident base treatment เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นคุ้มค่า
ดังนั้นการเพิ่มคุณค่าในการดูแลผู้ป่วยต้อง “ดูคน ดูไข้ ดูคุ้ม” นำไปสู่สมการ คุณค่า = ประโยชน์ต่อผู้อื่น x คุณภาพ...
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จมาทรงเปิดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 19 ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ในหัวข้อ "คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม"
ในครั้งนี้มีสถานพยาบาลที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพและได้รับการต่ออายุการรับรองกระบวนการคุณภาพขั้นก้าวหน้า จำนวน 1 แห่ง ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพครั้งแรก จำนวน 50 แห่ง ได้รับการต่ออายุรับรองกระบวนการคุณภาพจำนวน 93 แห่ง และมีเครือข่ายระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพจำนวนจำนวน 4 แห่ง รวมถึงศูนย์บริการสาธารณสุขผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพจำนวน 2 แห่ง
นอกจากนี้ท่านยังทรงเสด็จมาเปิดงานนิทรรศการซึ่งเป็นการเผยแพร่ผลงานการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลต่างๆ เป็นการส่งเสริมให้บุคลากรให้บริการอย่างมี คุณภาพ คุณค่า ด้วยใจที่มีคุณธรรม
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ ของโรงพยาบาลต่างๆ ที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
Designed by Freepik