HA National Forum 24
ปลดล็อกทางออก: จาก Gen Z ถึง Baby Boomers ในโลกเทคโนโลยีสาหรับโรงพยาบาล
Quality Learning -0
ปัญหาช่องว่างระหว่างรุ่น (Generation Gap) เชื่อว่าทุกท่านคงเจอปัญหาในที่ทำงานของท่านไม่มากก็น้อย ปัญหานี้มีอยู่ตลอดเวลาและในทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นปัจจัยเร่งและกระตุ้นให้เราเห็นปัญหา Generation Gap ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในองค์กรของท่านคงเจอปัญหาจากการเข้ามาของเทคโนโลยี เช่น ระบบสารสนเทศไม่รองรับ พัฒนาเทคโนโลยีไม่ตอบโจทย์ปัญหาและอุปสรรคของโรงพยาบาล ขาดทีมผู้ปฏิบัติ ซึ่งเชื่อว่า Generation Gap น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาดังกล่าว แล้วเราจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร เราคงต้องตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรให้คนในองค์กรไปด้วยกันได้ การมองภาพในเชิงระบบก่อนจะช่วยให้เรามองเห็นภาพที่กว้าง เราต้องมีมุมมองแบบ bottom up หากเรามองจากบนลงล่างจะทำให้เรามักยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางและมองว่าทุกอย่างเป็นปัญหาไปหมด
เราสามารถใช้แนวคิด ผู้นำกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร Peter Senge : Learning Organization (อ้างอิง นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์) มาเป็นแนวทางการลดช่องว่างและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจาก Generation Gap ได้ ซึ่งประกอบด้วย
สร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
สร้างแบบแผนความคิด (Mental Model)
พัฒนาขีดความสามารถตนเอง (Personal Mastery)
คิดและจัดการเชิงระบบ (Systems Thinking)
สร้างการเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)
...
HA National Forum 24
Second Victim Syndrome and Organization Support for Personnel Safety
Quality Learning -
“Don’t abandon the second victims of medical”
Second victim คือ บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งแพทย์ พยาบาลหรือบุคคลากรอื่นที่ได้ให้การดูแลรักษา ที่เกิดปรากฏการณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ(second victim phenomenon) ซึ่งมีกระบวนการปรับตัวหลังเหตุการณ์ 6 ระยะ
ระยะสับสน มีความสับสนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้สึกเสียใจ กังวนกับผลของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ขาดสมาธิ
ระยะคิดวนซ้ำ มีการคิดวนซ้ำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้สึกผิดกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับองค์กร
ระยะเริ่มฟื้นความเข้มเเข็ง มีความกังวลเกี่ยวกับมุมมองของคนอื่นต่อตนเองทั้งเพื่อนร่วมงาน ญาติ และผู้ป่วย กลัวผู้ร่วมงานไม่ไว้ใจคุณภาพของงานที่ทำ
ระยะอดทนกับการสอบสวน กังวลกับการสืบส่วน ผลที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเอง ต้องการการประคับประคองจากผู้ร่วมงาน ไม่กล่าวโทษไม่หาคนผิด
ระยะแสวงหาความช่วยเหลือ ขอคำปรึกษาในการทำงานต่อ หรือช่องทางการแก้ไขปัญาเพิ่มเติม
ระยะตัดสินใจ มี 3 ทางเลือก คือ ออกจากวิชาชีพ ทนทำต่อแต่ไม่ลืมความผิดพลาด และสุดท้ายคือเป้าหมายของการดูแล second victim ซึ่งทำให้บุคลากรสามารถดำเนินชีวิตปกติและทำงานในวิชาชีพต่อไปได้ ด้วยความมั่นใจผลักดันและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา สร้างระบบที่ปลอดภัยสำหรับผู้รับบริการ
กระบวนช่วยเหลือที่สำคัญคือ
เพื่อนร่วมงานที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทันที ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่เป็นบวก
บุคลากรที่ได้รับการอบรมเฉพาะ มาให้ข้อมูล รับฟัง...
HA National Forum 24
Empowering Clinical Excellence Through Evidence-based Practices
Quality Learning -
การส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยด้านยา คือ การทำให้ใบสั่งยามีความปลอดภัย โดย empower ให้มีการสั่งใช้ยาตาม evidence-based practice มีการใช้หลักฐานทางวิชาการประกอบการตัดสินใจ หรือการสั่งใช้ยาตาม guideline
งานวิจัยที่กล่าวถึงการสั่งใช้ยาของแพทย์แบบ การใช้ยาแบบนอกข้อบ่งใช้ (off-label) ในผู้ป่วยเด็กที่เป็นไมเกรน พบมีการสั่งใช้ยา ร้อยละ 66.7 และ ในกลุ่มที่สั่งใช้ยา พบเป็นการสั่งใช้ยาแบบ off-label use ร้อยละ 60.34 เมื่อวิเคราะห์ถึงผู้สั่งใช้ยา แบบ off-label พบว่า แพทย์เฉพาะทางมีการสั่งใช้ยาแบบ off-label น้อยกว่า general physician ในทางตรงกันข้าม งานวิจัยที่ศึกษาความคิดเห็นในการสั่งใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ของสูตินรีแพทย์ พบว่า specialist มีการสั่งใช้ยาที่แตกต่างกัน งานวิจัยทั้ง 2 ชิ้น เป็นเพียงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นว่าการสั่งใช้ยาของแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์ทั่วไป ไม่ได้นำ evidence base มาประกอบการตัดสินใจสั่งใช้ยา หรือ ใช้ evidence base ไม่ถูกต้อง จึงควรหาวิธีการที่จะทำให้ผู้สั่งใช้ยามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ evidence-based medicine...
ความหมายของ Empathy อาจแปลได้ตรงกับคำขวัญของบุคลากรสาธารณสุขไทย “อตฺตานํ อุปมํ กเร” ซึ่งหมายถึง เอาใจเขามาใส่ใจเรา และสอดคล้องกับพระราโชวาทของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศไทย) ที่กล่าวว่า "ฉันไม่ต้องการให้เธอเป็นหมอเท่านั้น แต่ฉันต้องการให้เธอเป็นมนุษย์ด้วย" empathy เป็นคุณสมบัติที่มีในมนุษย์เท่านั้น
เรื่อง empathy สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะหมออาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีปัจจัยที่ส่งต่อการมี empathy ของแพทย์ ได้แก่
ชนชั้นภายใต้โครงสร้างสังคมไทย หมอ และทันตแพทย์ อยู่ในระดับชนชั้นมั่นคง (stability) และ ชนชั้นมั่นคงอย่างยั่งยืน (stability+)
ความเหลื่อมล้ำของระบบประกันสุขภาพ เป็นตัวกำหนดการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ป่วยและบุคลการทางการแพทย์
ลัทธิบูชาหมอ ที่มีสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สร้าง identity ให้กับวิชาชีพหมอ ที่ไม่พบในวิชาชีพอื่น และหมอมักอยู่ในวงการสำคัญของประเทศ เช่นแวดวงการเมือง การศึกษา เป็นต้น
Medical gaslighting ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ ภาวะที่แพทย์ตัดสินผู้ป่วยที่อาจนำไปสู่การประเมินสถานการณ์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริง การละเลยขั้นตอนที่พึงกระทำรวมถึงการวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ หมอจะคิดว่าผู้ป่วยกังวลไปเอง คิดมากเกินไป โดยไม่ตอบสนองกับความกังวลของผู้ป่วย และเพิกเฉยกับอาการที่ผู้ป่วยบอกเล่าให้ฟัง อาจหมายความไปถึงการขาด empathy ต่อผู้ป่วย
...
ในบริบทการบริการปฐมภูมิ (Primary Care) ในประเทศไทย ขณะนี้เรากำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กล่าวคือ การเปลี่ยนกระทรวงในการดูแลระบบบริการปฐมภูมิ จากกระทรวงสาธารณสุข เป็น กระทรวงมหาดไทย หรืออยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เราอาจต้องทำความเข้าใจความหมายของบริการปฐมภูมิกันใหม่ มุมมองใหม่ที่ได้รับการเสนอในการอภิปรายครั้งนี้ คือระบบบริการปฐมภูมิ จะต้องไม่ใช่ระบบบริการที่สามารถดูแลโรคง่าย ๆ แต่ต้องมีการสร้างเสริมสุขภาพ และซ่อมสุขภาพให้แก่ชุมชน โดยร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อนำไปสู่สุขภาวะที่ดีของชุมชน
ความหมายใหม่นี้ทำให้มุมมองเกี่ยวกับการดูแลปฐมภูมิเปลี่ยนไปมาก ภารกิจที่มากขึ้น การมี่ส่วนร่วมที่มากขึ้น สามารถนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายได้ คำถามป้อนกลับสู่ทาง สรพ. คือ ทาง สรพ. จะมีการวัดประเมินคุณภาพอย่างไรในระบบบริการที่ไม่ได้มีเพียงแต่การดูแลรักษา แต่มีการส่งเสริม และซ่อมในกระบวนการบริการด้วย และกระบวนการวัดประเมินคุณภาพดังกล่าว จะทำให้สุขภาวะของชุมชนดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
นอกเหนือจากเรื่องความหมายและเป้าหมายของระบบบริการปฐมภูมิใหม่แล้ว ภายในการอภิปรายยังมีการเน้นกระบวนการที่สำคัญสำหรับระบบบริการปฐมภูมิ 2 กระบวนการได้แก่
การมีส่วนร่วมของชุมชน
การมีภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
เนื่องจากทั้ง 2 กระบวนการเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ ตัวชุมชนเอง และหน่วยงานที่มีภารกิจในการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อชุมชน ดังในตัวอย่างจากวิทยากรจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่เป็นองค์กรเพื่อการพัฒนาชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการในชุมชน เช่น...
HA National Forum 24
Healthcare Megatrends: Transforming Healthcare Today to Tomorrow
Quality Learning -
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาแบบทวีคูณ (exponential) หากมองในส่วนของระบบสุขภาพ เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาพยาบาล เช่น การผ่าตัด การวินิจฉัย และการรักษา รวมถึงช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพของผู้ป่วยได้ที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ส่งผลให้ในอนาคตผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยลง
หากจะมองว่าเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงที่สุด ณ เวลานี้ ก็คงหนีไม่พ้น Generative AI ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ เช่น ChatGPT, Bing Copilot, Claude-3 Gemini เป็นต้น Generative AI จะไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแสชั่วคราว แต่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบบริการสุขภาพ เราจะเห็นได้ว่า Generative AI มีความก้าวหน้าและพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีประเด็นที่เราควรทราบ และตระหนัก ดังนี้
ประเด็นที่ 1: Generative AI คือ AI ที่สร้างความรู้ได้ มันช่วยให้เกิด automation บางอย่าง และทำงานซ้ำๆ ได้โดยไม่เหนื่อย แทนที่มนุษย์ได้ สิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ไม่ใช่อีก 1 ปีหรือ 10 ปี การเลือก...
"Do nO harm & Protect the patient is our job
เมื่อคุณพยาบาลเป็นปราการด่านสุดท้ายที่ป้องกันผู้ป่วยจากเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์"
Adverse event (AE) หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ คือเหตุการณที่ก่อความเสียหายต่อผู้ป่วยจากการให้บริการ เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข และนำมาเรียนรู้ ให้เข้าใจสาเหตุของความคลาดเคลื่อน ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ร่วมกันสร้างระบบที่มีประสิทธิ์ภาพ มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ให้เกิด Good fail ที่สามารถเรียนรู้จากความคลาดเคลื่อน และป้องกันด้วยหลักการ 10R แต่ถ้าไม่ไหวขอให้ได้ 6R ก่อน คือ ถูกคน ถูกยา ถูกขนาด ถูกทาง ถูกเวลา บันทึกถูกต้อง
หากเกิด AE เกิดขึ้นแล้ว เราสมารถลดความเสี่ยงที่เกิดปัญหาทางกฏหมายและจริธรรมด้วย 6 ขั้นตอนคือ
สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ (รับฟังความคิดเห็น เข้าใจความต้องการ และให้สิทธิในการร่วมตัดสินใจ ในแผนการรักษา)
ติดตามดูแลผู้เสียหายอย่างใกล้ชิด ให้การดูแลที่มีมาตรฐาน เหมาะสม ปลอดภัย และสอดคล่องกับความต้องการของทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการ
สร้างทีมจัดการความเสี่ยงที่มีส่วนร่วมของผู้บริหาร และสหสาขาวิชาชีพ รับผิดชอบการรายงานข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ
ให้เฉพาะผู้ป่วย หรือญาติที่ได้รับอนุญาต เข้าออกพื้นที่ที่เกิดความเสี่ยง...
ในปี ค.ศ. 2019 สมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 72 ได้ให้คำมั่นสัญญาเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นมาตรการระดับโลก (Global Action on Patient Safety) และได้จัดตั้งวันความปลอดภัยของผู้ป่วยโลก (World Patient Safety Day) ในวันที่ 17 กันยายนของทุกปี โดยในแต่ละปีองค์การอนามัยโลกจะมีประเด็นสำคัญในการผลักดัน เช่น ในปี 2020 คือ "Safe health workers, Safe patients"
ในมาตรการระดับโลกเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนด 7 เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (7 Strategic Objectives) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานสู่ความปลอดภัยของผู้ป่วยระดับโลก ดังนี้
นโยบายเพื่อกำจัดความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ (Policies to Eliminate Avoidable Harm in Health Care)
ระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง (High-reliability Systems)
ความปลอดภัยในกระบวนการดูแลรักษา...
ทำความรู้จักกับ Telemedicine
Telemedicine มีการทำในต่างประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว และมีการทำมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงการระบาดของ COVID-19 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดแนวทางของการทำ telemedicine และเผยแพร่ในรูปแบบหนังสือ เช่น Consolidated telemedicine implementation guide รวมถึงเล่มอื่นๆที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ทั้งในเรื่อง telehealth และ telemedicine
Telehealth หมายถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ในการส่งมอบบริการด้านสุขภาพ โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดด้วยระยะทาง ตัวอย่างของ telehealth ได้แก่ การให้ความรู้ด้านสุขภาพผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น การติดตามผลการรักษา การจัดการโรคเรื้อรัง ผ่านวีดีโอคอล รวมถึงการทำ telemedicine เช่น การปรึกษาแพทย์ทางไกล การวินิจฉัยโรค การสั่งใช้ยา จะเห็นได้ว่า telemedicine เป็นส่วนหนึ่งของ telehealth ที่มุ่งเน้นไปที่การรักษา
Telemedicine หรือ โทรเวชกรรม องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามไว้ว่า คือการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนโดยบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเน้นที่ระยะทาง (สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เดินทางลำบาก) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น วีดีโอคอล,...
HA National Forum 24
Special Talk: How to Quality and Safety Sustainability in the Healthcare System
Quality Learning -
พวกเราชาว HA มีเป้าหมายที่ตรงกัน คือ ร่วมกันสร้่างวัฒนธรรมคุณภาพให้สถานพยาบาลมีคุณภาพและประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัย กลไกของการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพให้มีความยั่งยืนต้องอาศัยกลไกธรรมาภิบาลระบบ (health system governance) และกลไกพัฒนาระบบ (HA) จากวัฒนธรรมตามยุทธศาสตร์ของสรพ.ที่ให้ทุกคน ทุกฝ่ายเป็นเจ้าของในการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบคุณภาพของสถานพยาบาลไทย กระบวนการของการขับเคลื่อน คือ ต้องทำอย่างเข้าใจธรรมชาติของเรื่องนั้นๆ ดังนั้นธรรมชาติของเรื่องคุณภาพระบบบริการสุขภาพ ได้แก่
ระบบบริการสุขภาพมีความซับซ้อน (complexity)
มีลักษณะโตไม่มีที่สิ้นสุด (Growth Mindset)
มีการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Development; L&D)
มีความเป็น dynamic system
ผู้กี่ยวข้องทุกภาคส่วน (stakeholders) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
กระบวนทัศน์ใหม่ของการประเมิน การพัฒนาหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนโดยผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ ผู้ประเมินต้องเป็นทั้งผู้ประเมิน (evaluator) และเป็นวิทยากรกระบวนการ (facilitator) พร้อมกัน แนวคิดการประเมินเพื่อพัฒนา (Developmental Evaluation; DE) เกิดพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบ ที่เรียกว่า“การขยายผล” (scale-up) ในรูปแบบใหม่ มุมมองใหม่ คือ มองระบบเป็นระบบที่ซับซ้อน และปรับตัว ไม่ใช่ระบบที่ Simple &...