“การรับรองเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ ต้องการให้โรงพยาบาลดึง Good Practice ออกมา โดย สรพ.ทำหน้าที่เหมือนทูตคุณภาพ ในการหา Clinical Excellence ที่สามารถเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ ส่งเสริมการใช้แนวคิด Continuous Improvement ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อพัฒนาต่อเนื่อง และได้รับการเยี่ยมสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ได้มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญในเชิงลึกมากขึ้น”
อ.ผ่องพรรณ จันธนสมบัติ ผู้ทรงคุณวุฒิ สรพ.
“Key Success Factor ในการขับเคลื่อน PDSC คือ การสร้างการเรียนรู้ สร้างความอยากรู้อยากเห็น สร้าง Mindset สร้างโอกาสให้ทีมได้คิด ได้ทำ สร้างความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกันของทีม”
นพ.วรพงษ์ สุจริตพงษ์พันธ์ โรงพยาบาลน่าน
“PDSC สร้างความสามัคคีอย่างรวดเร็วอย่างยั่งยืน ทำให้ฟังกันมากขึ้น ให้เกียรติกันมากขึ้น มีความสุข โดยมีรางวัลเป็นความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้รับบริการ”
ศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา ผู้เยี่ยมสำรวจ สรพ.
“ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เราอยากเห็น PDSC ขยายไปทั่วประเทศ…”
ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช ผู้เยี่ยมสำรวจ สรพ.
“ปัจจัยความสำเร็จในการทำ PDSC คือ การใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน การสร้างทีม การใช้ Driver Diagram การใช้ Process Management จากการวิเคราะห์ Flow ตาม Value Stream Mapping และการกำกับ ติดตามให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”
ร.อ.หญิงปิ่นรัตน์ พันธุ์มณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจปฏิบัติการประเมินและรับรอง สรพ.
อ.ผ่องพรรณ จันธนสมบัติ ผู้ทรงคุณวุฒิ สรพ. การรับรองเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ (Program and Disease Specific Certification; PDSC) เป็นการส่งเสริมให้สถานพยาบาลพัฒนาความสามารถความเชี่ยวชาญ โดยใช้มาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ (Program and Disease Specific Standards; PDSS) ที่เป็นการรับรองโปรแกรมหรือระบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ระบุขอบเขตชัดเจน เช่น โรคหรือโปรแกรม โดยแสดงให้เห็นว่าการดูแลหรือโปรแกรม มีการออกแบบที่เหมาะสม รัดกุม มีผลลัพธ์ที่ดีในระดับแนวหน้าของประเทศ มีการใช้แนวคิดคุณภาพและกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลรักษาสู่ความเป็นเลิศ
ลด Gap ของการดูแลรักษา
การรับรองเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ มีเครื่องมือในการเยี่ยมสำรวจที่สำคัญคือการทบทวนและตามรอย (tracer)
โดยใช้มิติคุณภาพ หลักการในการพิจารณารับรอง มีดังนี้ 1) การจัดการกระบวนการอย่างเป็นระบบ (process management) ตามรอยกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ดูการออกแบบระบบตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ กระบวนการดูแลผู้ป่วย ต้องมี Flow Chart ที่ชัดเจน มีทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกันดูแล ครอบคลุมกระบวนการสำคัญตลอดสายธารแห่งคุณค่า 2) ผลลัพธ์ (result) แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีถึงดีมากและแนวโน้มที่ดีขึ้น มีการใช้ข้อมูลเทียบเคียงที่ท้าทาย เกิดการยกระดับสู่องค์กรสมรรถนะสูง (high performance organization) 3) การเรียนรู้ (learning) แสดงให้เห็นการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เฉพาะโรดค/ระบบที่ขอรับการรับรอง โดยระบบงานมีการบูรณาการการ การสร้างนวัตกรรม และ/หรืองานวิจัยจากงานประจำ หรือการสร้างองค์ความรู้ที่สำคัญ ดูว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้างที่นำมาปรับปรุงระบบ 4) แนวคิดการพัฒนาคุณภาพ (quality concepts) แสดงให้เห็นกระบวนการพัฒนาที่ขจัดความสูญเปล่า ป้องกันความเสี่ยง ใช้หลักฐานทางวิชาการรวมถึง การสร้างเสริมสุขภาพ
และมิติด้านจิตวิญญาณ
ขอบเขตของมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ภาพรวมของการบริหารองค์กร เฉพาะส่วนที่มีความสำคัญกับการดูแลเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ I-1 การนำ I-2กลยุทธ์ I-3 ผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน
I-4 การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ I-5 บุคลากร I-6 การปฏิบัติการ ตอนที่ 2 ระบบงานสำคัญ ที่เชื่อมโยงกับระบบขององค์กร 5 ระบบ คือ II-1 การบริหารงานคุณภาพ และบริหารความเสี่ยง II-2 Iสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย II-3 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ II-4 ระบบเวชระเบียน และII-5 ระบบการจัดการด้านยาเชิงระบบ
ตอนที่ 3 กระบวนการดูแลผู้ป่วย ตามมาตรฐานตอนที่ III-1 ถึง III-6 โดยให้ความสำคัญของกระบวนการดูแล
ผู้ป่วยแบบสหสาขาวิชาชีพ และตอนที่ 4 ผลลัพธ์ 5 ด้าน คือ IV-1 ผลด้านการดูแลสุขภาพ IV-2 ผลด้านการมุ่งเน้นผู้ป่วยและผู้รับผลงาน IV-3 ผลด้านบุคลากร IV-4 ผลด้านการดำเนินงานระบบสนับสนุน และ IV-5 ผลด้านปฏิบัติตามแผนและมาตรฐาน โดยให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ด้านการดูแลผู้ป่วย ที่กำหนดให้ต้องมีคู่เทียบที่เหมาะสม และส่งเสริมให้มีคู่เทียบระดับสากล (international) ซึ่งจะยกระดับให้คุณภาพบริการเป็นลักษณะเป็นเลิศ (excellence)
“PDSC เป็น Success Healthcare Organization โดยใช้คนไข้เป็นศูนย์กลาง เน้นการ ดูคน ดูไข้
ดูคุ้ม…ดูคน คือ ทำอย่างไรให้คนไข้ลดความวิตกกังวลต้องมีการดูแลจิตใจ ดูไข้ คือ ดูแลคนไข้อย่างไร ให้การรักษามีประสิทธิภาพ เหมาะสมและปลอดภัย ดูคุ้ม คือ ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยไม่ติดเชื้อ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และรักษาหาย”
นพ.วรพงษ์ สุจริตพงษ์พันธ์ โรงพยาบาลน่าน ในปี 2556-2561 จังหวัดน่านมีสถิติผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสูงสุด มีอุบัติการณ์กระดูกสะโพกหักและหักซ้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การเสียชีวิตสูงกว่าในประชากรทั่วไป 6.2 เท่า โรงพยาบาลน่านจึงได้พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกหักง่ายจากโรคกระดูกพรุน (fracture liaison service system) โดยพัฒนาระบบส่งต่อ Hip Fast Tract Surgery โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและภาคีเครือข่ายภาคประชาชนร่วมกันดูแล เพิ่มการเข้าถึงบริการ เพิ่มประสิทธิภาพการเยี่ยมบ้าน มีระบบการเฝ้าระวังและป้องกันความเสี่ยงพลัดตกหกล้มกระดูกหักในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและในผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกหักจังหวัดน่าน “nan model” ทำให้สถิติผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุลดลง เป็นโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทยที่ผ่านการรับรองจากมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation : IOF) และมีผลงานวิชาการเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ สร้างการเรียนรู้ สร้างการอยากรู้ อยากเห็น สร้าง Growth Mindset จาก Problem to Research สร้างโอกาสให้ทีม ได้คิด ได้ทำ และสร้างความภาคภูมิใจร่วมกัน
ศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา ผู้เยี่ยมสำรวจ สรพ. โรงพยาบาลรามาธิบดี เริ่มต้น PDSC จากการสร้างความไว้วางใจ (begin with trust) โดยใช้ระบบการนำองค์การ (leadership system) พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โดยสร้าง Rama Culture ผ่าน Core Value ร่วมกับการสื่อสารทุกช่องทาง สร้างสิ่งแวดล้อมในการพัฒนา และมี Blind Consul ใช้เครื่องมือพัฒนาที่หลากหลาย ที่สำคัญคือ Empowerment Leadership ผู้นำต้องเป็นคนดี มีตรรกะความคิดที่ดี มีความเข้าอกเข้าใจ (empathy) การเป็นโค้ช (coaching) การลงพื้นที่เยี่ยมหน้างาน ส่งเสริมเรียนรู้และพัฒนา (learning and development) แต่ละทีมต้องมี Key Process มีระบบสนับสนุน มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง พัฒนานวตกรรมและงานวิจัย อย่างน้อย 3 เรื่อง มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) เทียบเคียงผลลัพธ์กับที่อื่นๆ ทำให้มีผลผลงานเทียบเท่าระดับสากล และได้รับการประเมินรับรอง PDSC มากที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบัน
ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช ผู้เยี่ยมสำรวจ สรพ. PDSC เกิดในศิริราชเป็นที่แรก โดยในปี 2559 ได้รับการรับรองมาตรฐานเฉพาะโรคการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม (total knee replacement) และการดูแลผู้ป่วย
ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะตับ(liver transplantation) ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ PDSC เป็นการนำสิ่งที่มีมาพัฒนา
ให้เติบโตและแบ่งปัน โดยเริ่มจากค้นหาวิธีการปฏิบัติที่ดี (good practice) ทบทวนการดูแลรักษาการตามรอยโรค
และตัวชี้วัด (tracer) พัฒนาเพิ่มขีดความสามารถความเชี่ยวชาญเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ และขยายผลทีมพัฒนาเฉพาะโรค/เฉพาะระบบไปทั่วทั้งองค์การ ทำให้เกิดคุณภาพและความปลอดภัย ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์เป็นเลิศในระดับสากลและแบ่งปันความเป็นเลิศไปให้ทุกพื้นที่ในแผนดินนี้ และก้าวข้ามพรมแดนไปทั่วโลกได้
“PDSC…หัวใจสำคัญ คือ Routine to Research และการนำเอา Value จาก Research กลับมา
สู่ Routine โดย KPI ต้อง Specific ในเรื่องนั้นๆ”
บทสรุป PDSC ช่วยให้ดีเป็นหย่อม ๆ สู่ทุกหย่อมที่ดี…ดังนั้นจึงขอให้โรงพยาบาลเชื่อมั่นในตนเองว่าทำได้ และ ขอเชิญชวนทุกโรงพยาบาลมาร่วมกันทำ PDSC เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจ และแบ่งปันให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) กับองค์กรอื่น เพื่อยกระดับ
สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (high performance organization) ยกระดับคุณภาพการดูแลรักษาและความปลอดภัยสู่ความเป็นเลิศ รวมทั้งขยายผลความเป็นเลิศไปให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทยและทั่วโลก
ผู้ถอดบทเรียน นางสาวรุ่งนภา ศรีดอกไม้
หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช