บทบาท ICN ในสถานการณ์ COVID-19 ประสบการณ์จากสถาบันบำราศนราดูร

0
8802

เคล็ดลับงานคุณภาพวันนี้ ขอเชิญมาร่วมเรียนรู้ เรื่อง ” บทบาท ICN ในสถานการณ์ COVID-19 ประสบการณ์จากสถาบันบำราศนราดูร ”

บทบาทหน้าที่ ICN โดยทั่วไป ได้แก่ เฝ้าระวังการติดเชื้อผู้ป่วยทุกรายในโรงพยาบาล เฝ้าระวังการติดเชื้อเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ดำเนินการและกำกับดูแลระบบการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในรพ. สอบสวนและควบคุมการระบาดของการติดเชื้อ/โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ นอกจากนี้ในสถานการณ์การแพร่ระบาด ICN ปรับมาตรการในการดูแลบุคลากรและประคับประคองจิตใจ เพิ่มเติมดังนี้

มีการปรับนโยบายการเฝ้าระวังในเชิงรุก กำหนดมาตรการดูแลสุขภาพ สวัสดิภาพความปลอดภัยของบุคลากรทั้งร่างกาย และจิตใจ เอาใจใส่ให้กำลังใจบุคลากรและครอบครัว

สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personnel protective equipment) อย่างเพียงพอต่อการใช้งาน เหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม พร้อมการฝึกอบรมให้เกิดความมั่นใจอย่างสม่ำเสมอ

ติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเข้มงวด ใช้ระบบ Buddy

มี safety officer ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเชี่ยวชาญในระบบป้องกันการติดเชื้อ สามารถให้คำแนะนำ จัดการสถานการณ์ไม่ปกติ และ ช่วย Buddy ในการกำกับการปฏิบัติ

ให้ความรู้ ฝึกทักษะแก่บุคลากรอย่างครอบคลุมที่เกี่ยวกับการป้องกัน การเฝ้าระวัง การทำความสะอาด ช่องทางการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มเติม เพื่อเน้นย้ำในการปฏิบัติตามหลักการ ลดความตื่นตระหนก เกิดความเข้าใจ

รายงานความคืบหน้าของสถานการณ์อยู่เสมอ รวมถึงทำให้ครอบครัวของบุคลากรเกิดความเชื่อมั่นใน ทีมงานที่ดูแลความปลอดภัยแก่บุคลากร

ออกแบบการจัดอัตรากำลังที่เพียงพอ ลดความเหนื่อยล้า และเฝ้าระวังความเสี่ยงได้ เช่นการสลับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่การทำงานอยู่เสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่

สื่อสารเมื่อต้องดูแลคนไข้ confirm case หรือกรณีเกิดเกิดความเสี่ยง ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องกักตัวบุคลากร จะต้องมีการสื่อสาร และทำความเข้าใจ หากพบว่าผลการทดสอบเป็น Positive สามารถให้บุคลากร Home quarantine ได้ แต่ที่ผ่านมายังไม่พบบุคลากรติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน

การดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ COVID 19 ให้ได้ผลนั้นต้องอาศัยความรู้ และทักษะในเรื่องการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อตามหลักมาตรฐาน HA ตอนที่ II-4 การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ หมวดที่ II-4.1 ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ซึ่งระบุไว้ว่า องค์กรจัดให้มีระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ รวมถึงระบบเฝ้าระวังและติดตามที่เหมาะสมกับบริบทได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอและมีการประสานงานที่ดี โดยใช้หลัก Standard Precaution และTransmission-Based Precautions และ Isolation Precaution

สำหรับคำถาม ถามตอบ สามารถ scan เข้าไปศึกษารายละเอียดทาง QR code ได้ครับ

ภาพโดย enriquelopezgarre จาก Pixabay

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here