การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาดเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในประเทศไทยก็มีการเกิดเหตุการณ์นี้อยู่เป็นระยะ การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาดรวมถึงการระบุสิ่งส่งตรวจจากตัวผู้ป่วยและชิ้นเนื้อที่ผิดพลาดด้วย ความผิดพลาดนี้นำมาสู่การวินิจฉัย การให้ยา และการให้การรักษาที่ผิดพลาด
การป้องกัน identification error ที่อ้างอิงจากหนังสือ patient Safety Goals : SIMPLE version 2008 และมีการปรับปรุงเพิ่มเติม มีดังนี้
- ใช้ตัวบ่งชี้อย่างน้อย 2 ตัว (เช่น ชื่อ-นามสกุล, และวันเกิด) เพื่อยืนยันตัวบุคคลในทุกจุดที่มีการส่งมอบผู้ป่วยให้จุดบริการถัดไปหรือจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
- กำหนดให้วิธีการบ่งชี้ผู้ป่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร เช่น ใช้ป้ายข้อมือสีขาวซึ่งมีรูปแบบมาตรฐานที่สามารถเขียนข้อมูลเฉพาะลงไปได้ หรือใช้ biometric technology หรือใช้ระบบ barcode
- ไม่ถามนำ เช่น ชื่อ “สมศักดิ์” ใช่ไหมคะ แต่ให้ผู้ป่วยระบุชื่อ-นามสกุลด้วยตนเอง
- จัดให้มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการบ่งชี้ผู้ป่วยซึ่งไม่มีตัวบ่งชี้และเพื่อแยกแยะผู้ป่วยที่มีชื่อซ้ำกัน รวมทั้งแนวทางการบ่งชี้ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรือสับสนที่ไม่ใช้การซักถาม
- ทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติว่าทำไมต้องถามชื่อซ้ำในทุกจุด และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในทุกขั้นของของกระบวนการบ่งชี้ผู้ป่วย
- เขียนฉลากที่ภาชนะสำหรับใส่เลือดและสิ่งส่งตรวจอื่นๆ ต่อหน้าผู้ป่วย
- จัดให้มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการรักษา identity สิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยตลอดกระบวนการตรวจวิเคราะห์ตั้งแต่ pre-analytical, analytical และ post-analytical process
- จัดให้มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการสอบถามเมื่อผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจอื่นๆ ไม่สอดคล้องกับประวัติหรือสภาวะทางคลินิกของผู้ป่วย
- ตามรอยการปฏิบัติจริงที่หน้างานเป็นระยะ
10. ในกรณีที่เป็นการผ่าตัด ควรนำ Surgical Safety Checklist ของ WHO มาใช้อย่างจริงจัง
Photo by Piron Guillaume on Unsplash