Keys to Success Advanced – HA

0
2600
Keys to Success Advanced - HA

Keys to Success Advanced – HA


A – HA ทำให้องค์กร ไม่แก่ เติบโต ด้วยการยกระดับผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง

A-HA  หรือ Advanced HA คือ การรับรองกระบวนการคุณภาพสถานพยาบาลขั้นก้าวหน้า โดยสถานพยาบาล
ที่จะขอใช้และขอรับการประเมินรับรอง Advanced HA (AHA) ได้นั้น จะต้องเป็นสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพตามมาตรฐาน HA แล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าโรงพยาบาลมีพื้นฐานของระบบคุณภาพที่แข็งแรง และมีความพร้อมในการพัฒนา มีความมุ่งมั่นที่จะนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศต่อไป ดังนั้น

A-HA เป็นการก้าวไปสู่ Empowerment Evaluation กำหนดประเด็นการประเมินร่วมกัน ส่งเสริมความสามารถในการประเมินของโรงพยาบาล

  1. ประเมิน compliance ด้วยการใช้ checklist ง่าย ๆ
  2. ประเมิน performance ด้วยข้อมูลที่เก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ

ใช้ความรู้และประสบการณ์ขององค์กรควบคู่กับ Evidence ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาขององค์กรเหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่ต้องการต่อยอดเชื่อมสู่ TQA/TQC และเหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่เคยได้รับการรับรอง HAแล้ว

มาตรฐานและการรับรอง A – HA เป็น ความเชื่อมโยงกับบริบท หรือความต้องการขององค์กร, การดำเนินการอย่างเป็นระบบ และการประเมินระบบที่แสดงให้เห็นการบรรลุเป้าหมายของข้อกำหนด (EI3O)

พญ.อัจฉรา ละอองนวลพานิช (รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์) การพัฒนาสู่  A-HA ให้ความสำคัญกับบุคลากรที่ต้องมีมุมมอง ใน 4 ด้าน คือ ด้านการบริการ, การพัฒนาความรู้, การพัฒนาคุณภาพ และการพัฒนางานวิจัย
ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุตามวิสัยทัศน์ สู่การเป็นศูนย์การแพทย์ชั้นเลิศในดวงใจ แห่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมี
แผนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ใช้แนวคิด PDSC เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพ โดยสรุปว่า ผู้นำต้องเอาจริง
ผู้ปฏิบัติต้องพร้อมใจทำ
การขับเคลื่อนการพัฒนาเคลื่อนจากการเน้นการปฏิบัติตามข้อกำหนด ไปสู่การประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ผลลัพธ์ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เกิดนวัตกรรมของระบบงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่โรงพยาบาลอื่น

รศ.นพ.ฉันชาย  สิทธิพันธ์ (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ) ผู้นำ ต้องถามตนเองอยู่เสมอว่า ทำไม่ต้องมี รพ.จุฬาลงกรณ์ ? เนื่องจาก รพ.จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์
ที่มีคุณธรรม สร้างคุณภาพ มาตรฐานระดับนานาชาติ ซึ่งยังเป็นนามธรรม โดยทีมนำจะต้องแปลงให้เป็น Out put
ที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ โดยต้องมีการติดตามตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง สำหรับมุมมอง
สู่ความสำเร็จ คือ การนำ A-HA มาพัฒนา “เป็นเสมือนยาอายุวัฒนะที่จะทำให้องค์กร ไม่แก่ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง” และมั่นใจว่าจะพัฒนาแล้วดีขึ้นเรื่อย ๆ และ A-HA จะเน้น Output และ Out come ใช้การทบทวน Process เพื่อการบรรลุสู่ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ โดยองค์กรจะต้องมีผลลัพธ์ที่ดี สู่ความเป็นเลิศ ด้วยนวัตกรรม เน้นความร่วมมือ มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง

ผศ.นพ.ก่อพงศ์ รุกขพันธ์ (รพ.บำรุงราษฎร์ฯ) การพัฒนา A-HA ด้วยการรับคำ “ท้า” ว่า ถ้า รพ.บำรุงราษฎร์ไม่ทำ แล้วใครจะช่วยสรพ.ทำจึงได้มีการประชุมกำหนดภารกิจร่วมกันเพราะ รพ.บำรุงราษฎร์มีปณิธานด้านความปลอดภัย สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากผู้บริหารในอดีตสู่ปัจจุบัน สร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้มารับบริการให้เป็น The most trusted ให้ได้ โดยพัฒนาระบบศูนย์ความเป็นเลิศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ ผู้นำให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีทีมแพทย์/พยาบาลที่มีความสามารถ สร้างทีมที่มีคุณภาพ สร้างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ

.จักษณา ปัญญาชีวิน (สรพ.) ได้สรุป A-HA  เกิดขึ้นจากทิศทางการทำงานของ สรพ. พัฒนาไปสู่ Empowerment Evaluation ให้มากขึ้น ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ความตื่นตัวของสถานพยาบาล ต้องการต่อยอดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เดิม สรพ. ใช้เป็น HA Plus พัฒนา สู่ Advanced HA โดยมุ่งหาคุณค่าที่เพิ่มขึ้นให้มากที่สุด เพิ่มความแข็งแรงของระบบคุณภาพ แล้วปรับชื่อจาก HA Plus มาเป็น Advanced HA เน้นการประเมิน Performance ของระบบ, การพัฒนาระบบ และผลลัพธ์ของระบบที่สูงขึ้น มีคะแนนตั้งแต่ 3 – 3.5 ขึ้นไป ตามแนวคิด EI3 O (E = Evaluation ประเมินอย่างเป็นระบบ, Improvement ปรับปรุง, Integration การประสานกลมกลืน, Innovation นวัตกรรม, Outcome ผลลัพธ์) โดยใช้ Extended Evaluation Guide เพื่อ empower ให้สถานพยาบาลประเมิน compliance ด้วยตนเอง ดังนั้น เมื่อโรงพยาบาลสู่  A-HA จะทำให้โรงพยาบาลมีการชี้นำจากผู้นำระดับสูง ด้วยการใช้ Core value มีระบบบริการที่ดี ปฏิบัติได้จริง มี CQI และนวัตกรรม นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ผสมผสานความลุ่มลึกกับความชัดเจน
การประเมิน Compliance ต่อข้อกำหนดซึ่งสามารมองเห็นได้ชัดเจน
การประเมินที่ลุ่มลึก สรพ.จะส่งเสริมให้เกิดสิ่งเหล่านี้ 1.ความเชื่อมโยงกับบริบทหรือความต้องการขององค์กร 2.การดำเนินการอย่างเป็นระบบ (Systematic approach) 3.การประเมินระบบที่แสดงให้เห็นการบรรลุเป้าหมายข้อกำหนด (EI3 O)

Keys to Success Advanced – HA

วิธีการประเมิน
1.ใช้รูปแบบการประเมินที่เรียบง่าย คือ ประเมิน measurable element เป็น 3 ระดับ (met, partially met, not met) เช่นเดียวกับมาตรฐาน JCI
2.การจำแนกออกมาเป็นข้อย่อยๆ ทำให้มองเห็นประเด็นพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น
3. การประเมินเป็นข้อย่อยๆ ทำให้ระบุประเด็นใหญ่ ๆ ที่ยังต้องพัฒนาได้ง่ายขึ้น

 บทส่งท้าย โรงพยาบาลทุกระดับสามารถขยับยกระดับมาตรฐานจาก HA เป็นมาตรฐาน AHA ได้ หากเริ่มจากผู้นำมุ่งมั่น กำหนดเป้าหมายชัด พัฒนาภายใต้บริบทของโรงพยาบาล มีกระบวนการประสานเชื่อมโยง ใช้ Core value เป็นเครื่องมือ นำสู่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ติดตามและวัดผลลัพธ์ พร้อมทั้งทบทวนเทียบเคียงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ผู้นำ ชี้นำชัด ต้องเอาจริง ผู้ปฏิบัติต้องพร้อมใจทำ สร้างงานคุณภาพให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ นวัตกรรม บรรลุเป้าหมายด้วยผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มี ยกระดับคะแนนเฉลี่ยโดยรวมไม่น้อยกว่า 3 คะแนน

ผู้ถอดบทเรียน ณัฐสุดา อั้งโสภา หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล      โรงพยาบาลปทุมธานี

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here