แนวคิดคุณภาพ Lean Operation กับขั้นตอนการฉีดวัคซีน COVID-19

0
2889
แนวคิดคุณภาพ Lean Operation
แนวคิดคุณภาพ Lean Operation กับขั้นตอนการฉีดวัคซีน COVID-19

ช่วงนี้การจัดการวัคซีน มาแรงไม่แพ้กับการรักษาและควบคุมโรค COVID-19  แต่จะฉีดวัคซีน COVID-19 อย่างไร ? ให้มีประสิทธิภาพ  

        วันนี้..มาชวนเรียนรู้แนวคิดคุณภาพ Lean Operation กับขั้นตอนการฉีดวัคซีน COVID-19 กัน..ครับ

Lean Operation
Lean Operation

      ตามแผนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด การฉีดวัคซีน COVID-19 ประกอบด้วย 8 ขั้น ตอน ใช้เวลารับบริการตั้งแต่ขั้นที่หนึ่ง จนครบ ขั้นที่แปด ประมาณ 40 นาที โดยการจัดคิวจะ ให้จองผ่าน Line Official Account โรงพยาบาลขนาดเล็กจะรองรับได้ 360 คนต่อวันส่วนโรงพยาบาลขนาดใหญ่จะรองรับได้ 500 – 600 คนต่อวัน โดยประมาณการว่าหนึ่งนาที จะบริการเสร็จหนึ่งคน

    กรมควบคุมโรคได้ออก “แนวทางการให้วัคซีน COVID-19” ซึ่ง มีขั้นตอนสำคัญที่         โรงพยาบาลต้องเตรียมการ ดังนี้..

– กลไกการขับเคลื่อนและการเตรียมบุคลากรในการดำเนินงาน

– กลุ่มเป้าหมายและระยะการดำเนินงานให้วัคซีน

– การสำรวจกลุ่มเป้าหมาย การลงทะเบียนจองสิทธิ์ และนัดหมายรับบริการ การเบิกจ่ายและบริหาร จัดการวัคซีน

– การให้บริการวัคซีน COVID-19

– การบันทึก จัดทำรายงาน และติดตามการดำเนินงานให้บริการวัคซีน COVID-19

– การเฝ้าระวังติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน COVID-19

     การรองรับปริมาณงานฉีดวัคซีน 360 คนต่อวันในโรงพยาบาลขนาดเล็กเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องการมุมมองในเชิงการจัดการการไหลของงาน แนวคิด Lean Operation จึงน่าจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของกระบวนงาน เช่น

– เลือกสถานที่ฉีดที่รองรับปริมาณงานได้ วางจุดให้บริการทุกจุดให้ใช้เส้นทางเดินที่สั้นที่สุด ไม่วกวน (Facility Layout) และไม่ไปทับซ้อนกับระบบการให้บริการปกติ

– จัดเตรียมเรื่องที่จอดรถ ห้องน้ำ จุดพักคอยของญาติ และการจัดการขยะ

– พยายามวางระบบเป็น Pull System ไม่ใช่ Push System นั่นคือ คนจะไปรอที่ขั้นตอนถัดไปได้ ต่อเมื่อขั้นตอนถัดไปนั้นเสร็จแล้ว ไม่ใช่พอขั้นตอนแรกเสร็จ ก็ส่งคนไปนั่งออรอกันที่ขั้นตอนถัดไป ซึ่งจะทำให้ Physical Distancing ทำไม่ได้

– จับเวลาในทุกขั้นตอนการให้บริการ เพื่อหาขั้นตอนที่เป็นคอขวด ซึ่งจะช่วยให้รู้ว่าความเร็วในการให้บริการ (Take Time) ที่ตั้งไว้ที่ “หนึ่งนาทีจะบริการเสร็จหนึ่งคน” จะเป็นไปได้หรือไม่

– ถ้าผลงานไม่ได้ตามเป้าหมาย ให้ระดมทรัพยากรไปจัดการขั้นตอนที่เป็นคอขวดก่อน เช่น เพิ่มกำลังคนที่คอขวด, กระจายภาระงานออกให้สม่ำเสมอมากขึ้น (Workload Leveling), ปรับเทคนิคการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย

– ออกแบบสัญญาณเตือนเมื่อของที่ใช้อยู่ใกล้จะหมด (Kanban) และสัญญาณแจ้งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น (Andon)

– มีจุดรับฟังเสียงสะท้อนของผู้มารับบริการ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับผลงานตามค่าเป้าหมาย และมีการทำ After Action Review เพื่อประมวลข้อมูลทั้งหมดแล้วนำมาปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน นอกจากนี้ ยังมีมิติเพิ่มเติมที่ควรคำนึงถึงด้วย เช่น

– วางระบบการไหลเวียนของอากาศและระบบระบายอากาศที่ดี โดยเฉพาะจุดพักสังเกตอาการ 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ที่อาจติดมากับคนที่มาฉีดวัคซีนได้

– จัดจุดฉีดวัคซีนให้มีความเป็นส่วนตัวในระดับหนึ่ง และเรียนรู้การสื่อสารและเทคนิคการฉีดที่เพิ่มความอุ่นใจให้กับผู้มารับบริการ เพื่อลดความหวาดกลัวจากการฉีดวัคซีน อันอาจนำมาซึ่ง Immunization Stress-Related Responses และอุปาทานหมู่

ภาพโดย Ali Raza จาก Pixabay

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here