Learn about the COVID-19 vaccine

0
1588
Learn about the COVID-19 vaccine
Learn about the COVID-19 vaccine

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก              ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้วยทั่วโลกรู้ว่าความหวังในการยุติ covid-19 คือ วัคซีนโควิด ต้องทำ Mass Vaccine Campaign เพื่อแก้ปัญหาโควิดนี้ให้หายไป แต่การจะทำให้เกิดการได้รับวัคซีนครอบคลุมในวงกว้าง จำเป็นต้องมีการสื่อสาร สร้าง Public trust ขึ้นมา ในครั้งนี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนอย่างถึงแก่น เกี่ยวกับวัคซีนทั้ง 4 รูปแบบ ได้แก่ Inactivated virus, Non-replicating viral vector, RNA-based, และ Protein subunit

หลังจากนั้นมีการตอบคำถามให้สิ้นสงสัยแก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดความรู้ สามารถให้คำแนะนำต่อประชาชน สร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน เพื่อสร้างให้เกิด Public trust ทั่วไปได้

สิ่งที่อาจารย์ฝากไว้คือ ควรรับฟังข่าวสารด้วยความรู้ และระวังข่าว Fake news อีกทั้งระวังการกระจายข่าวต่อไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก จะทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจต่อไป

ควรฉีดหรือไม่ หากเราต้องการให้ประเทศก้าวไปจากสภาวะปัจจุบัน ต้องการฟื้นเศรษฐกิจ สภาพการทำงาน เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเรากลับมา ก็มีความจำเป็นของประชากรในประเทศควรได้รับวัคซีนให้ได้มากที่สุด ให้ครอบคลุมให้ทั่วประเทศให้ได้เร็วที่สุด ก่อนไวรัสกลายพันธุ์ เมื่อฉีดมากๆ ก็จะทำให้โรคลดลง แต่ว่าอย่างไรก็ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้ไวรัสสายพันธุ์ที่มียีนกลายพันธุ์ ตำแหน่ง E484K เข้าสู่ประเทศไทยด้วย

ฉีดเมื่อไรดี การใช้วัคซีนทั่วโลกมีผลกระทบที่ดีมาก ทั่วโลกที่ฉีดไป มากกว่า 220 ล้านโดส มีบางประเทศฉีดเข็มแรกครอบคลุมประชากร 80% อย่าง อิสราเอล โรคเริ่มลดลง จำนวนผู้ป่วย ลดลงอย่างมาก และจากการการสำรวจทั่วโลกให้การยอมรับการฉีดวัคซีน เมื่อในประเทศไทยมีวัคซีนโรคโควิด -19 พร้อมให้คุณฉีดวันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทุกคนมีแนวคิดช่วยกันให้โรคนี้ให้เบาบางลงโดยการเข้าร่วมฉีดวัคซีน

ฉีดชนิดไหนดี เนื่องจากประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีวัคซีนเพียง 2 ยี่ห้อ คือ Sinovac และ Astra Zenaca ซึ่งก็ทำให้ไม่ต้องถามว่า ฉีดชนิดไหน หากมีโอกาสการเข้าถึงวัคซีนได้ ควรจะรับวัคซีน

ประสิทธิภาพของวัคซีน วัคซีนแต่ละยี่ห้อ ประสิทธิภาพ ไม่ได้ต่างกัน คือสามารถป้องกันโรคได้ดี  ป้องกันความรุนแรงของโรค ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการเกิดโรค แต่ด้วยความที่วัคซีนซิโนแวค วัคซีนแอสตราเซเนกา เป็นวัคซีนใหม่ และช่วยป้องกันความรุนแรงของโรค ไม่ให้รุนแรง ไม่ให้ตาย แต่ยังไม่มีวัคซีนโควิด-19 ชนิดไหนที่ป้องกันโรค asymotomatic infection ได้ดี ยังรอข้อมูลเพิ่มเติม ดังนั้น ประสิทธิภาพของวัคซีนในขณะนี้ คือช่วยป้องกันความรุนแรงของโรค

อาการแทรกซ้อนน่ากลัวไหม ยังไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงที่พิสูจน์แล้วว่าเกิดจากวัคซีน พบผลข้างเคียงไม่รุนแรง 8.88%

Learn about the COVID-19 vaccine
Learn about the COVID-19 vaccine

จำเป็นต้องตรวจ ภูมิต้านทาน ก่อนและหลังฉีดหรือไม่ ไม่มีความจำเป็น

อายุ 90 ฉีดวัคซีนได้ไหม อายุไม่ได้เป็นข้อห้ามว่าสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่ หากยังเป็นผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวได้ก็ควรฉีด แต่หากไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ นอนติดเตียง ควรให้ผู้ดูแลและบุคคลในบ้านฉีดวัคซีนทุกคน

ปัจจุบันซิโนแวคยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ส่วนแอสตราเซเนกา นั้นฉีดให้ได้อยู่แล้ว และในอนาคตต่อไป ซิโนแวคอาจมีข้อมูลว่าสามารถฉีดให้แก่ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือไม่

โควิดวัคซีนฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่นได้ไหม ได้สามารถฉีดร่วมกับวัคซีนอื่นได้ ไม่มีข้อห้าม แต่อยากให้ฉีดวัคซีนโควิดก่อนเป็น first priority ไม่อยากให้ฉีดพร้อมกับวัคซีนตัวอื่น เนื่องจากหากมีอาการข้างเคียงจะไม่รู้ว่าเกิดจากวัคซีนชนิดไหน จึงขอให้ฉีดห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ยกเว้นแต่ว่าเป็นกรณีจำเป็น เช่น ถูกสุนัขกัด จำเป็นต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า มีความจำเป็นต้องชีวิต อันนี้ต้องฉีดตามไปเลย

การให้วัคซีนสลับยี่ห้อได้หรือไม่ การให้วัคซีนสลับยี่ห้อ เช่น เข็มแรกฉีดซิโนแวค เข็มที่สองไปฉีดของแอสตราฯ ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูล แต่อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสไม่ทราบหรอกว่าร่างกายฉีดวัคซีนขนิดใดเข้าไป เชื่อว่าอีกไม่นานจะมีข้อมูลตรงนี้เข้ามา ซึ่งหากมีข้อมูล อนาคตอาจไม่ต้องกันวัคซีนยี่ห้อเดิมในเข็มสอง

ทำไมวัคซีน ซิโนแวค ต้องฉีดอายุ 18-59 ปี ฉีดคนเกิน 60 ปีไม่ได้ วัคซีนนี้ มีการศึกษาตั้งแต่ผู้อายุ 60ปีขึ้นไป เพียง 3% จึงไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าถ้าฉีดให้แก่ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ผลจะเป็นอย่างไร โรคแทรกซ้อนเป็นอย่างไร ทำให้อย. ของประเทศไทยขึ้นทะเบียนในกลุ่ม 18-59 ปีเท่านั้น แต่ว่าเป็นข้อห้าม แต่ว่าต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป เพื่อขยายข้ออนุญาตใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น

ตาราง ระยะห่างการให้วัคซีน ส่วนใหญ่อยู่ที่ 21-28 วัน ยกเว้น Astra zenaca ที่ออกมาในช่วงแรก ให้ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เข็มที่สองที่ 3 เดือน ประเทศไทยจึงกำหนดการฉีดเข็มที่ 2 ที่ 10-12 สัปดาห์

ส่วน Sinovac อยู่ที่ 14 วัน จึงกำหนดเป็น 14-21 วันเพื่อสะดวก

เด็กควรได้รับวัคซีนหรือไม่ ปัจจุบันวัคซีนแนะนำในผู้ที่อายุ 18 ขึ้นไป แต่ว่าในอีกไม่นาน จะมีการศึกษาเพิ่มขึ้นและส่วนตัวคิดว่าเด็กจะได้รับวัคซีนเพิ่ม โดยเฉพาะในกลุ่ม 12-18 ปี แต่กลุ่มเด็กเล็กจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะได้รับ เพราะส่วนใหญ่เด็กเป็นโรคนี้อาการจะไม่รุนแรง

ฉีดวัคซีนแล้วเป็น  covid-19 ได้หรือไม่ สามารถป่วยเป็น COVID-19 ได้อีก แต่ว่าจะไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง ดังนั้นผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิดแล้ว ควรฉีดวัคซีนอยู่ดี แต่เชื่อว่า อาจจะฉีดเข็มเดียวก็สามารถกระตุ้น antibody ได้เพียงพอ ไม่ต้องฉีดสองเข็ม

จากข้อมูล ณ ขณะนี้ เมื่อเป็นโควิดแล้ว ภูมิต้านทานสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้อยู่ตลอดไป จากการศึกษาเมื่อเป็นโควิดหลัง 3 เดือน เมื่อตรวจภูมิต้านทานจำนวน 300 คน พบว่า 90% มีภูมิต้านทานอยู่ และจะค่อยๆลดลงไปหลัง 6 เดือน ดังนั้น เมื่อเป็นโควิดแล้ว และอยากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ขอให้ไปฉีดหลังเป็นแล้วหลัง 6 เดือนขึ้นไป

ฉีดวัคซีนครบแล้ว จะต้องฉีดซ้ำอีกไหม ยังไม่มีข้อมูลสรุปชัดเจนว่าต้องฉีดซ้ำอีกเมื่อไร แต่คาดว่าจะต้องฉีดซ้ำแน่นอน

ฉีดคนท้องหรือให้นมบุตรได้ไหม วัคซีนชนิดเชื้อตาย ปกติอย่าง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตายก็ฉีดได้ แต่วัคซีนโควิดยังเป็นตัวใหม่และไม่เคยศึกษาในคนท้อง จึงยังมีข้อแนะนำไม่ให้ฉีด ยกเว้นคนท้องคนนั้นเสี่ยงมาก เช่น เป็นบุคลากรด่านหน้า ก็อาจต้องพิจารณาเป็นกรณีไป โดยต้องเปรียบเทียบระหว่างความเสี่ยงกับผลที่จะได้ ซึ่งในทางปฏิบัติการฉีดวัคซีนต้องตรวจตั้งครรภ์หรือไม่ จริงๆ ไม่ต้อง แต่ถ้ารู้ว่าตั้งครรภ์เมื่อไหร่ เข็มต่อไปก็ไม่ต้องฉีด

ฉีดคนไข้ HIV ได้หรือไม่ สามารถฉีดได้ แต่ว่าในกลุ่มที่ภูมิคุ้มกันต่ำมาก หรือป่วยหนักอยู่ ควรรอให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นก่อน

ในปัจจุบัน เป็นที่แน่นอนว่าวัคซีนโควิด-19 จะมีไม่เพียงพอสำหรับทุกคนที่มีความเสี่ยงและจำเป็นที่จะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ สำหรับการฉีดวัคซีนให้แก่คนกลุ่มต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโควิด-19 สูงกว่าคนโดยทั่วไป

ถอดบทเรียนโดย พญ.เอกจิตรา สุขกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ                                                          สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

Photo by Prasesh Shiwakoti (Lomash) on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here