New Normal in Healthcare จากการระบาดของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้วิถีการดำรงชีวิตและรูปแบบของงงานบริการจำนวนมากต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างไม่น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วคราว แต่น่าจะกลายเป็นวิถีปฏิบัติปกติในอนาคต (New normal)บริการสุขภาพก็จะเกิด new normal ขึ้นเช่นเดียวกัน โดยกรมการแพทย์ได้ร่วมกับสภาวิชาชีพและตัวแทนจากโรงพยาบาล จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับสถานการณ์ COVID-19 ในเรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วยใน, ผู้ป่วยฉุกเฉิน, บริการฟื้นฟู, ผู้ป่วยวิกฤต, การรักษาทางทันตกรรม การทำหัตถการและการผ่าตัด ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้จาก Website : COVID19.dms.go.th
หลักคิดสำคัญที่ใช้ในการวางแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ สามารถสรุปได้ดังนี้
1.หลักทั่วไปสำหรับทุกงานบริการสุขภาพ
1.1 ลดความแออัด เพื่อสร้างระยะห่างระหว่างบุคคล (Physical distancing) โดยปรับปรุงกระบวนการนัดผู้ป่วย, มีการใช้ telemedicine, การจำกัดจำนวนญาติที่จะมาเยี่ยม
1.2 มีการไหลเวียนของอากาศที่เพียงพอ และจัดทิศทางการไหลของอากาศไปในทิศทางเดียว จากพื้นที่สะอาดไปพื้นที่ที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรค
1.3 สร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบ Universal precautions เช่น การใช้ PPE ที่เหมาะสม, การล้างมือ, การทำความสะอาดอาคารสถานที่อย่างสม่ำเสมอ, การวางระบบ Contact tracing
1.4 ลดโอกาสสร้างละอองฝอย (Aerosol) และลดโอกาสสัมผัสเชื้อในระหว่างการดูแลผู้ป่วย เช่น ไม่ใช้อุปกรณ์ Nebulizer ในพื้นที่ทั่วไปในหอผู้ป่วย, มีอุปกรณ์ป้องกันการฟุ้งกระจายของละอองฝอยในขณะทำหัตถการ, มีฉากกั้นในจุดซักประวัติผู้ป่วย
2. สร้างหรือปรับปรุงพื้นที่และอุปกรณ์ให้บริการผู้ป่วย/ ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค COVID-19 เช่น ห้อง AIIR, Isolation ward, Negative-Pressure Zone, Negative-Pressure Transfer Bed
3. วางระบบการคัดแยกที่คำนึงถึงประวัติเสี่ยงของผู้ป่วยคู่กับความเสี่ยงของหัตถการ แยกความเสี่ยงเป็นระดับสูง กลาง ต่ำ เพื่อเลือกใช้ PPE ได้อย่างเหมาะสม และเลือกแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง
อ่านบทความเพิ่มเติม…BCM เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน