Nursing Perspective with Change and Collaboration for Sustainability

0
6832
Nursing Perspective with Change and Collaboration for Sustainability

โดย ดร.กฤษดา แสวงดี  (ที่ปรึกษาระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข : ด้านแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข), นส.เรวดี ศิรินคร (ผู้เยี่ยมสำรวจ)

การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับวิชาชีพพยาบาล ได้แก่ สังคมสูงอายุ/โรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุรุ่นใหม่ ไม่ต้องการใช้ชีวิตในโรงพยาบาล/ขาดผู้ดูแล, โรงพยาบาลแออัด ค่าใช้จ่ายสูงจนรัฐอาจรับภาระไม่ไหว, IT/ Medical Technology ก้าวหน้ารวดเร็ว / Extend patients’ lives, พยาบาลขาดแคลน/ขาดระบบสนับสนุนที่เพียงพอ / พยาบาลรุ่นใหม่ ออกจากงานเร็ว

จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้เกิดรูปแบบการบริการใหม่ๆ เช่น (1) ผู้ป่วยจะอยู่ใกล้บ้านมากขึ้น แต่จะยังคงมีโรงพยาบาลเพื่อรองรับผู้ป่วย acute บางส่วน, มีการจัดบริการ intermediate care, long term care และโรงพยาบาลจะส่งกลับผู้ป่วยเข้าสู่ชุมชนมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะเกิด nursing home และระบบการดูแล home health care เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดบทบาทพยาบาลแบบใหม่ขึ้น เช่น พยาบาลที่เกษียณอายุราชการ ทำหน้าที่เป็น health coach เช่น การให้คำปรึกษา รับหน้าที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เป็นต้น (2) เกิด new care model ในอนาคตจะมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการรักษาพยาบาลมากขึ้น เช่น portability and mobility หรือการนำ robot มาใช้ แต่อย่างไรก็ตามพยาบาลยังต้องเน้นการใช้ศาสตร์ “hi-touch” ให้การพยาบาล

การเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ที่สำคัญคือ (1) strong leadership – strong team, มีการใช้ evidence-based practice ทั้งระดับบริหารและการพยาบาล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสามารถทำได้ 3 ระดับ คือ micro level ซึ่งในการบริหารการพยาบาลสามารถดำเนินการได้เองทันที โดยเน้นการบริหารที่ยืดหยุ่น, meso level เป็นระดับในกลุ่ม/ประเภทโรงพยาบาล และ macro level เป็นระดับกลุ่มโรงพยาบาลตามเขตสุขภาพ (2) การสร้างทีมงาน รองรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งพยาบาลต้องการการสนับสนุนจากผู้บริหาร เช่น  opportunities for growth/mobility, access to clinical and technical information, necessary resources (tools and staff) และ support and guidance 

ในระดับนโยบาย ซึ่งเป็น macro level เริ่มดำริจะขับเคลื่อนระบบการดูแลที่เน้น People Centered Care ซึ่งจะเน้นการบริการที่เป็นหน่วยบริการหลัก (primary care) 

primary care team

Keyword สำคัญที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง คือ การเปลี่ยนแปลงในระดับ micro ที่เน้นการบริหารการพยาบาลให้มีความยืดหยุ่น ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยน mindset ของบุคลากรทางการพยาบาล โดยเฉพาะผู้บริหารทางการพยาบาล เช่น 

  1. การสร้างโอกาสท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สร้างโอกาสให้คน และสร้างโอกาสให้กับสังคม
  2. การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
  3. การปรับลด/จัดบริการใหม่ เพื่อให้เกิดการบริหารอัตรากำลังที่เพียงพอ และที่สำคัญต้องไม่หยุดพัฒนาบุคลากร ซึ่งต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงจากที่แต่ละคน fix mindset ไปสู่การแสวงหาวิธีการใหม่ๆ 

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here