Nursing Process Innovation for Improve Nursing Care
“ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จคือ Collaboration เริ่มจากการที่เรามี Inspiration ก่อน” (น.ต.หญิงอลิสรา คุ้มวงษ์)
วิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยเน้นให้สามารถประเมินปัญหาและให้การพยาบาลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เชื่อมโยงปัญหาของผู้ป่วยสู่กระบวนการพยาบาลได้ การพัฒนาเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วยให้ได้อย่างครอบคลุม เชื่อมโยงประเด็นสำคัญ ชัดเจน และสื่อสารกับสหสาขาวิชาชีพตลอดจนผู้ใช้บริการในรูปแบบการพัฒนา Innovation ในเชิงกระบวนการในหลายรูปแบบ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทันสมัยในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลมีประสิทธิภาพ และผู้ป่วยปลอดภัย
MIRACLE COMMUNICATION โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช มีวิสัยทัศน์เป็นพลังของแผ่นดิน มีคุณภาพชั้นนำ เป็นที่ไว้วางใจ บุคลากรจึงมีความมุ่งมั่นที่จะเป็น HERO (High Efficiency Reliability Organization) ในดวงใจของทุกคน ให้สมกับชื่อของโรงพยาบาลว่า “โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช” โดยมีพันธกิจด้านการเรียนการสอน การรักษาและยังมีภารกิจเพื่อชาติ
Hospital Goal ของโรงพยาบาลได้แก่ Safety, Quality, Staff Engagement, Utilization Management and Customer Experience
ในมุมมองเกี่ยวกับ Customer Experience มีความสอดคล้องกับมาตรฐานตอนที่ 1-3 เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ซึ่งให้ความสำคัญเนื่องจากจากการปฏิบัติงานนั้นพบปัญหาเกี่ยวกับการให้ข้อมูลผู้ใช้บริการ และจากการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้เห็นรูปแบบที่ทำได้ไม่ยากเรียกว่า “Patient White Board”ซึ่งใช้ประโยชน์ในกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณค่า
Magic Board ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ได้รับแรงบันดาลใจจากโรงพยาบาลสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
มีการพัฒนาให้เป็นระบบ (systematic) มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โครงสร้าง ทำแผนปฏิบัติการ ออกแบบ และ Implement ด้วยการ Training และสื่อสารให้ทราบทุกสหสาขาวิชาชีพ
การ Training ด้านการสื่อสารในทีมพยาบาลเกี่ยวกับ การใช้ภาษาบนกระดานด้วยภาษาที่สื่อสารกับบุคลากรได้ทุกระดับ รวมทั้งญาติหรือผู้ป่วยสามารถเข้าใจง่าย สำคัญต้องไม่เปิดเผยความลับผู้ป่วย
จากการปฏิบัติในระยะแรกพบปัญหา 1) พยาบาลมีการเขียนโดยใช้ภาษาที่เป็นศัพท์แพทย์และเข้าใจยาก 2) แพทย์ใช้กระดานน้อย 3) ญาติไม่กล้าเขียน ซึ่งได้มีการพัฒนาปรับปรุงจนเกิดความร่วมมือและเห็นความสำคัญในการใช้ประโยชน์ต่อการสื่อสารซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจในทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน
มีการประเมินตามตัวชี้วัดในแบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บริการ(เดิม) ได้รับคำชื่นชมจากผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย ด้านการได้รับทราบข้อมูลจากบุคลากรทางการพยาบาล
ทีมมีความภาคภูมิใจจากการใช้ประโยชน์กับญาติผู้ป่วยให้มีความเข้าใจแผนการรักษามากขึ้นและลดความวิตกกังวล
ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เป็นโรงพยาบาลขนาด 700 เตียงมีผู้ป่วย OPD 900,000 ราย/ปี มีผู้ป่วย IPD 26,000 ราย/ปี มีห้องผ่าตัด 17 ห้อง (ใช้งานจริง 15 ห้อง) แบ่งเป็นห้องผ่าตัดสูติ-นรีเวช ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ และศัลยกรรมประสาท เป็นต้น แต่ไม่มีห้องผ่าตัดและทีมสำหรับผ่าตัดผู้ป่วย Emergency โดยเฉพาะ (สถิติการผ่าตัดผู้ป่วย Emergency ประมาณ 300 ราย/เดือน)
ปัญหาที่พบบ่อย คือ มีจำนวนผู้ป่วยมาก แต่มีจำนวนห้องผ่าตัดและจำนวนบุคลากรที่จำกัด จึงมีการ complain เรื่องจำนวนห้องผ่าตัดและจำนวนคนที่ไม่เพียงพอ และพบปัญหาว่า มีจำนวนคนมากเท่าไรก็ไม่เพียงพอ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดและวิธีการแก้ปัญหาเนื่องจากพบว่า การขอคนเพิ่มเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน สิ่งที่ต้องการ คือ ผู้ป่วยปลอดภัย ได้รับการผ่าตัดในเวลาที่เหมาะสม ไม่ล่าช้าจนเกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น จึงได้มีการศึกษาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา
ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Nursing Process Innovation for Improve Nursing Care
ถอดบทเรียน วาศินี อ่อนท้วม
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์
Photo by Chang Duong on Unsplash