Nursing Role for Stroke Management in NAN

0
4712
Nursing Role for Stroke Management in NAN
Nursing Role for Stroke Management in NAN

Nursing Role for Stroke Management in NAN

หัวใจสำคัญของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ Nursing process ประกอบด้วย การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)      การวางแผนการพยาบาล (Planning) การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation) และการประเมินผลการพยาบาล (Evaluation) พยาบาลจึงต้องพัฒนาทักษะและศักยภาพการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนตัวเองเป็น Smart nurse 4.0 เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับงานบริการพยาบาล พัฒนาตนเองให้ก้าวทันโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วย stroke รายใหม่และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่ไม่สามารถควบคุมได้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นทุกปี มีอัตราตายสูง หรือเกิดความพิการตามมาได้เป็นภาระของครอบครัว

จังหวัดน่าน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบสูงและภูเขาสูง เส้นทางเดินทางคดเคี้ยว ระยะทางจากที่อยู่อาศัยถึง โรงพยาบาลประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เนื่องจากพื้นที่กันดารและเป็นที่ราบสูงประชาชนที่อยู่อาศัยห่างไกลเข้าถึงบริการรักษาได้ยากทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะฉุกเฉินมีอัตราตายสูงโรงพยาบาลน่านจึงได้พัฒนาทักษะความรู้ความชำนาญของทีมสหวิชาชีพเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วย stroke ให้รวดเร็วและปลอดภัยที่สุดเชื่อมโยงการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย stroke ด้วยความร่วมมือและการช่วยเหลือของกลุ่มงานเวชกรรมสังคมที่พัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบภายในชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงและลดความรุนแรงของโรคเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและประชาชน

พว.วรวรรณ ชำนาญช่าง                                                                                                    โรงพยาบาลน่านเปิดให้บริการมาเป็นเวลา 63 ปี มีค่านิยมว่า “ดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ด้วยความระมัดระวังและความปรารถนาดี” มีการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ในจังหวัดเพื่อทบทวนค้นหาปัญหาและหาแนวทางแก้ไขมาโดยตลอด                                                                  พ.ศ. 2552 พัฒนาศักยภาพของทีม ฝึกอบรมเพิ่มเติม ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย stroke                              พ.ศ. 2555 เริ่มให้ยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลน่านผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น ช่วยลดปัญหาความพิการ  พ.ศ. 2558 ตั้งเป็นStroke unit ในโรงพยาบาลน่าน มีอายุรแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยโดยปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญกว่า รับ admit ดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ประเมินอาการ ให้ยาละลายลิ่มเลือดและดูแลภายหลังการให้ยา

ในปี 2561 พบว่ามีผู้ป่วย stroke รายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 700 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วย stroke รายใหม่ มีอัตราส่วนระหว่าง Ischemic Stroke (ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ) กับ Hemorrhagic Stroke (ภาวะหลอดเลือดสมองแตก) เท่ากับ 80:20 มีอัตราเสียชีวิตสูงมากกว่าร้อยละ 7 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรค Hemorrhagic stroke เนื่องจากอุปสรรคเรื่องการเดินทางมารับบริการเกือบร้อยละ50อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และประมาณร้อยละ 7 มีภาวะโรคหัวใจ AF (Atrial Fibrillation) ทำให้เกิด stroke ขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด stroke คือการสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เมื่อทีมสหวิชาชีพทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วย stroke พบว่าการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แผลกดทับ เป็นต้นทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและบุคลากรมาก จึงเกิดแรงผลักดันให้จัดตั้ง Stroke unit และจัดระบบ Stroke fast track เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยลดลง

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Nursing Role for Stroke Management in NAN

ถอดบทเรียน กาญจนา เสนะเปรม                 

ตำแหน่ง หัวหน้างานพัฒนาระบบบริการพยาบาล (ฝ่ายการพยาบาล) โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ

Photo by jesse orrico on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here